แว่วๆกันมาปากต่อปาก เกี่ยวกับรัฐจะเดินหน้าสาง หนี้นอกระบบ และดันแบงก์เฉพาะกิจมาช่วยในการแก้ปัญหา ซึ่งจะมีดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า เพื่อที่จะทำให้คนไทยได้ปลอดหนี้กันทั่วประเทศ เชื่อว่ามีนโยบายนี้ แม้อาจจะยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง หรือมีการจัดการในบางจังหวัดเพื่อช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยให้ปลอดหนี้กันแล้ว หลายๆ คนที่ได้รับการยื่นมาช่วยเหลือเช่นนี้ก็อาจจะเบาใจกันในระดับหนึ่ง เพราะเป็นที่รู้กันว่าหนี้นอกระบบ หรือที่เรียกกันว่า หนี้หมวกกันน็อค ที่มีค่าดอกแพงมหาโหด หลายคนคงจะนึกถึงในช่วงแรกๆ ของการทำสัญญากับการเป็นหนี้นอกระบบ ที่จ่ายเงินอย่างง่าย พร้อมกับข้อมูลที่ดูเหมือนจะง่ายๆ เพราะคำพูดที่ยกแม่น้ำทั้งห้ามา จนทำให้คนหลงเชื่อและยอมเป็นหนี้ เพราะคำพูดที่ว่า จ่ายในแต่ละวันเพียงไม่พี่บาท
ซึ่งพอเอาเข้าจริงๆ แล้ว รวมต้นรวมดอก กลายเป็นการจ่ายหนี้ที่มีมูลค่ามากกว่าค่าใช้จ่ายในบ้านเสียอีก แถมยังมีแต่ข่าวเรื่องคนเก็บเงิน หนี้นอกระบบ ซัดลูกหนี้ปางตายอีกด้วย
หนี้นอกระบบ ปัญหาที่แก้ไม่ตก
หนี้นอกระบบ ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญของไทย ที่ไม่ว่าใครที่ได้มีโอกาสเข้ามาบริหารประเทศก็ต้องหยิบยกขึ้นมาเป็นนโยบายลำดับแรก ๆ ที่จะต้องมีการแก้ไข เพื่อให้คนไทยโดยเฉพาะบรรดาเหล่ารากหญ้าหรือ รากแก้ว รวมไปถึงมนุษย์เงินเดือน ที่หาเช้ากินค่ำ หาเงินไปวันๆ ให้พอกินพอจ่าย เพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นหนี้ที่ได้ก่อไว้ ซึ่งวิธีการที่หลายรัฐบาลต่างเลือกใช้ ก็คือการใช้สถาบันการเงินของรัฐ หรือบรรดาแบงก์ของรัฐบางทั้งหลาย มาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา เพราะหวังว่าจะช่วยลบล้างปัญหาให้ดีขึ้นกว่าเดิม แต่ผลลัพธ์กลับไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เพราอย่างไรเสียคนไทยก็ยังเป็นหนี้กันอยู่ นั่นอาจเป็นเพราะมาตรการที่โยกจากซ้ายไปขวา เพราะเท่ากับว่าเป็นการดึงคนไทยจากการเป็นลูกหนี้นอกระบบมาอยู่ในระบบให้ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งแม้จะมาพร้อมกับนโยบายดอกเบี้ยต่ำ แต่สุดท้ายก็ถือว่าไม่ได้ลบล้างหนี้ของประชาชนที่เกิดขึ้นได้หมดสิ้น ซึ่งยังคงเป็นปัญหาและยังคงเป็นหนี้อยู่เช่นเดิม
การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
ปัญหาหนี้นอกระบบได้ถูกกัดกร่อนและทำให้กลายเป็นแผลเรื้อรังอยู่คู่สังคมไทยมานานหลายต่อหลายปีอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุที่ว่า ประชาชน ซึ่งเป็นผู้มีรายได้น้อยมีอยู่เป็นจำนวนมาก และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะมีหลายรัฐบาลที่ได้ทำการหยิบยกนโยบายแก้ไขปัญหาเหล่านี้ มาเป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียงเพื่อปั่นกระแสนโยบายสร้างประชานิยม แต่ก็ไม่สามารถทำได้อย่างจริงจัง นั่นเพราะการใช้ธนาคารของรัฐเข้ามาเป็นเครื่องมือก็จริง แต่ไม่ได้ตอบโจทย์ อะไรมากมาย เพราะการปล่อยกู้ให้กับรายย่อยนั้น ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นความเสี่ยงสักแค่ไหน และทำให้การพิจารณาปล่อยกู้ในแต่ละครั้งต้องรอบคอบมากกว่าเดิม เพราะไม่เพียงแต่ตัวองค์กรที่จะมีปัญหา แต่หากเกิดอะไรผิดพลาดขึ้นมา แม้แต่ตัวผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง ก็อาจจะหนีไม่พ้นต้องรับกรรมไปด้วยเช่นกัน
ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี คนปัจจุบัน และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. จะให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้นอกระบบ และการทำให้ประชาชนปลอดหนี้ เพราะเห็นแล้วว่าความพยายามในการแก้ไขของหน่วยงานรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่มีผลสำเร็จที่เห็นเท่าที่ควร เพราะยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการขาดความชัดเจนในหลักเกณฑ์ของการแก้ปัญหา ที่เจ้าหนี้เดิมไม่ค่อยให้ความร่วมมือ หรือไม่มีคนกลางในการช่วยเจรจาในเรื่องประนอมหนี้ หรือแม้แต่ลูกหนี้ที่ขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งเป็นสถานการณ์หนี้นอกระบบ
ซึ่งสถานภาพหนี้ภาคครัวเรือนทั่วประเทศที่ผ่านมา มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น หากนำมาเฉลี่ยแล้วกลับพบว่าแต่ละครัวเรือนเป็นหนี้ทั้งในและนอกระบบมากขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักที่หลายคนทราบกันดีก็คงหนีไม่พ้นเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้น และหนี้จากการผ่อนสินค้า รวมถึงการใช้จ่ายเพื่อแลกความสบายต่างๆ จากการูดเงินหรือชำระสินค้าผ่านบัตรเครดิต จึงส่งผลให้ต้องมีการกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้นอกระบบกันมากขึ้น กลุ่มที่ค่อนข้างเสี่ยงในการก่อหนี้นอกระบบส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท ทำงานคนเดียวในบ้าน และมีสมาชิกหลายคนที่ต้องเลี้ยงดู ฯลฯ ซึ่งปัญหาทั้งหมด มีต้นตอมาจากปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศนั่นเอง
การปล่อยสินเชื่อเงินกู้เพื่อใช้ หนี้นอกระบบ
อาจมีส่วนน้อยที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับวินัยทางการเงิน และยังเป็นผลมาจากที่ประชาชนรากหญ้า และผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงินได้อย่างเต็มที่ เพราะการเข้มงวดสำหรับการปล่อยสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ จึงทำให้เงินกู้นอกระบบมีการเฟื่องฟูมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันได้มีการแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้นอกระบบ เพราะแม้จะมีกฎหมายคุ้มครองหนี้นอกระบบก็คือมี พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทย โดยกำหนดให้สามารถเรียกดอกเบี้ยอัตรา 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แต่ในความเป็นจริงแล้ว เหล่าเจ้าหนี้นอกระบบทั่วไป อาจจะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ , 120 เปอร์เซ็นต์ หรือ 240 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี แต่ในการโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อที่จะทำให้ลูกหนี้หลงเชื่อ ส่วนใหญ่ใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยต่อเดือน เช่น 5 เปอร์เซ็นต์, 10เปอร์เซ็นต์ หรือ 20 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี ซึ่งเข้าข่ายการหลอกลวง แต่ส่วนใหญ่คนไม่ได้คิดตาม เพราะคิดแต่ว่าต้องการเงินด่วน และคิดว่าดอกคงถูก และสามารถจ่ายต่อวันได้ในจำนวนที่ไม่มากนัก
ใครจะไปคิดว่าการเป็นหนี้นอกระบบจะมีอัตราดอกเบี้ยมหาโหดทำให้ลูกหนี้หลายคนไม่สามารถหลุดพ้นจากวงจรหนี้ได้เสียที
ทางคสช.ได้มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่สาเหตุทั้งด้านสินเชื่อ รวมถึงศักยภาพในการหารายได้ ซึ่งได้จัดการให้ชุมชนเข้ามามีบทบาท โดยผ่านองค์กรทางการเงิน และชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งได้ทำการควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้นอกระบบ และจัดการสร้างกลไกการเจรจาประนอมหนี้เพื่อพัฒนาและฟื้นฟู หาทางให้ลูกหนี้มีศักยภาพในการหารายได้ และช่วยป้องกันไม่ให้กลับไปเป็นหนี้นอกระบบอีก