ได้ยินหลายบริษัทมีการประกาศเลิกจ้าง หรือเลpย์ ออฟ (Layoff) พนักงาน เนื่องจากบริษัทตกอยู่ในสภาวะขาดทุน และกิจการหรือผลประกอบการไม่ดี หรือเหตุผลบางอย่าง ที่ทำให้คนทำงานมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆท่านๆ ต้องคอยสอดส่องดูความผิดปกติของบริษัท และผลประกอบการอยู่ตลอดเวลา เพราะหากเมื่อมีการประกาศจริง และตัวคุณถูกเลิกจ้าง สิ่งที่คุณควรทำ คือมีสติ ตั้งสติ และไม่ขวัญเสียหรือ ตกใจจนเกินไป ที่สำคัญเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อไม่ให้เสียเปรียบและเสียสิทธิของการเป็นพนักงาน เรามาดูขั้นตอนการเตรียมตัวเตรียมใจเมื่อ โดน lay off กันดีกว่า
ปัญหาเมื่อโดนเลย์ ออฟ
เมื่อคุณประสบปัญหา เลเอาท์ หรือโดนให้ออกจากงานแบบไม่ทันตั้งตัว ลองหาทางคุยกับผู้ประกอบการเจ้านายคุณ อย่างมีสติ เพื่อการจากกันด้วยดีตามวิถีทางของมืออาชีพอย่างคุณ และถามถึงสาเหตุการเลิกจ้างอีกครั้งเพื่อให้คุณใช้พิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ที่ต้องเอาคุณออกจริงๆ และมันคือความเป็นธรรมแค่ไหนที่คนอื่นยังอยู่ การได้ทราบข้อบกพร่องในการทำงานเพื่อใช้ในการปรับปรุงตนเอง ซึ่งอย่าพยายามถามว่าทำไมต้องเป็นตัวคุณ ทำไมไม่เป็นคนอื่น ซึ่งจะว่าไปแล้วการเลิกจ้างมักจะถูกพิจารณาจากคณะกรรมการ ซึ่งทางบริษัทอาจจะทำการพิจารณาอย่างรอบคอบและถูกต้องแน่ แค่เราลองถามถึงเหตุผลดู เผื่อเราจะได้นำไปปรับใช้กันที่ทำงานใหม่ เพื่อไม่ให้โดน lay off อีกนั่นเอง
ค่าชดเชยในการเลย์ ออฟ
หลังทราบสาเหตุแล้ว คุณควรจะดูเอกสารในการเลิกจ้างว่า จ่ายค่าชดเชยคุณถูกต้องหรือไม่ และมีค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไหม มีค่าชดเชยในค่าแรงในวันลาพักร้อนในปีนั้นหรือไม่ และค่าใช้ชดเชยนั้นจ่ายโดยคำนวณ ที่แสดงใน payroll ซึ่ง ปกติ HR มักจะให้คุณเขียนใบลาออกเพื่อให้บริษัทดูดีและได้เปรียบในกรณีที่มีการฟ้องร้อง ซึ่งหากมีการบังคับให้คุณเซ็นใบลาออกเพื่อแลกกับค่าชดเชย กรุณาอย่าเซ็นกันสองคน หรือ คุณพยายามให้ HR พูดยืนยันว่า ถ้าไม่เขียนใบลาออกแล้วคุณจะไม่ได้รับค่าชดเชย เพราะหากคุณถูกบีบบังคับให้ออกจากงาน ตรงนี้สำคัญมาก และคุณคิดดีแล้วว่าการกระทำของเจ้านายในการเลิกจ้างไม่ถูกต้อง ทั้งในเรื่องกระบวนการหรือความเป็นธรรมตามกฎหมาย ซึ่งอาจมีการฟ้องบริษัทนั้น ซึ่งหากพยายามให้มีพยานในห้องนั้นเพื่อเป็นพยานในศาล เพราะมีฎีกามาแล้วเกี่ยวกับคนเซ็นใบลาออกเพราะโดนบังคับให้ลาออก เพื่อแลกกับเช็คค่าชดเชยชนะคดีนายจ้าง ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่านายจ้างบังคับให้ลูกจ้างเขียนใบลาออก
การแก้ปัญหาในการเลย์ ออฟ
อย่าคิดล้างแค้นโดยการทำลายเอกสารสำคัญหรือลบ file ต่างๆ เพราะคุณอาจโดนบริษัทดำเนินคดีได้ ควรเก็บข้าวของส่วนตัวที่จำเป็นกลับบ้าน และไม่พูดมากในเรื่องที่เราถูกเลิกจ้างหรือแสดงอารมณ์จนเกินเหตุ อย่างการร้องไห้ฟูมฟาย หรือป่าวประกาศเรื่องที่บริษัททำต่อคนภายในและภายนอกบริษัท ซึ่งให้ทำตัวเฉยๆ ก่อนกลับบ้านให้ไปหา HR เพื่อเคลียร์ทรัพย์สินของบริษัทให้เรียบร้อย จากนั้นก็เตรียมตัวทำใจและเดินหน้าหางานใหม่กันดีกว่า เพราะหากคุณเอาแต่เศร้าเสียใจ งานก็ไม่ได้ทำอยู่แบบนี้มีหวังเงินที่เก็บไว้ได้หมดไปก่อนจะมีงานใหม่แน่ๆ อย่าเพิ่งท้อเดี๋ยวนี้งานอิสระก็มีมากมายนะคะ อย่างงานนักเขียน ขายของออนไลน์ หรือแฮนด์เมด ซึ่งก็รายได้ดีไม่แพ้กัน แค่ขยันและมีฝีมือสักหน่อยก็เท่านั้นเอง
หลังจากที่คุณโดนเลย์ ออฟ มาพิจารณานะว่าควรฟ้องนายจ้างหรือเปล่า บางคนอาจมีค่านิยมว่ากลัวเสียประวัติการสมัครงาน แต่หากเรามองความถูกต้องเป็นที่ตั้ง การถูกเลิกจ้าง ไม่ได้หมายถึงว่าคุณทำงานแย่หรือเป็นคนมีปัญหาเสมอไป หากคุณยังข้องใจหรือสงสัย ลองปรึกษาผู้รู้ในด้านกฎหมายแรงงาน โดยสามารถไปพบนิติกรประจำศาลแรงงานได้เพื่อคุณจะได้ทราบว่าขั้นตอน ข้อดี ข้อเสีย เป็นอย่างไร คุ้มหรือเปล่าในการฟ้องบริษัท
รีบๆไปขึ้นทะเบียนคนว่างงาน
หลังจากถูกเลิกจ้างให้คุณรีบไปขึ้นทะเบียนคนว่างงานกับสำนักงานจัดหางานภายใน 30 วัน เพื่อยื่นเรื่องในการรับเงินค่าทดแทนระหว่างการว่างงาน และ เมื่อเจ้าหน้าที่ถามว่าลาออกหรือถูกเลิกจ้าง ถ้าคุณฟ้องนายจ้างเจ้าหน้าที่แรงงานเขตจะรอให้ศาลพิพากษาสิ้นสุดและจะจ่ายย้อนหลังพร้อมดอกเบี้ย ส่วนถ้าคุณถูกเลิกจ้างแล้วไม่ฟ้องคุณจะได้รับ 50 เปอร์เซ็นต์ของฐานเงินเดือนสูงสุด 15000บาท เป็นเวลา6 เดือน แต่คุณต้องไปรายงานตัวที่สำนักงานแรงงานเขตพื้นที่ทุก 30 วันจนครบ และหากคุณยังจะอยากใช้สิทธิประกันสังคมต่อ คุณสามารถไปที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน เพื่อไปยื่นขอใช้สิทธิประกันตน ซึ่งคุณจะสามารถใช้สิทธินี้ได้อีก 6 เดือน และต่อไปคุณจะต้องจ่ายเงินต่อสำนักงานประกันสังคมเองเพื่อรักษาสิทธิตามมาตรา 39
เมื่อ โดน lay off แน่นอนว่าหลายคนอาจจะถึงกับทำตัวไม่ถูก กับการถูกไล่ออกแบบกะทันหันเกินไป ทำให้ต้องมานั่งเสียใจและถามตัวเองซ้ำไปซ้ำมา ว่าทำไมต้องเป็นเราและจะหางานไหนทำ อย่ามัวแต่เสียใจอยู่เลย เดี๋ยวนี้ตลาดงานมีรองรับมากมาย เพียงแต่คุณจะเลือกงานไหน และงานไหนที่เหมาะกับคุณก็เท่านั้น บางทีการเดินออกจากที่ทำงานเก่าครั้งนี้ อาจจะทำให้คุณได้เจอที่ทำงานใหม่ที่ดีกว่าก็ได้นะ