ถึงเวลา…ใช้เงินทำงาน : มารู้จัก วิกฤติการเงิน Hamburger crisis กัน!
บทความนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ให้เกิดความกลัว กลายเป็นว่าจะทำอะไรก็ระแวงไปหมด แต่อยากให้มองว่าอะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ แม้กับสถาบันการเงินที่ยิ่งใหญ่ ที่เรามองว่าปลอดภัยที่สุด และวิกฤติการเงินเมื่อเกิดขึ้นมันกระทบกับเราตลอด แม้ว่าจะเกิดในประเทศของเราโดยตรงหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น เราจึงต้องพึ่งพาตัวเองให้มาก วางแผนให้ดี ทั้งในเรื่องชีวิตและการเงิน มีทั้งแผนเชิงรุก และแผนสำรอง ...
ไทยได้อะไรจาก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) เป็นการรวมตัวของกลุ่มประเทศอาเซียนทางด้านเศรษฐกิจของ 10 ประเทศ มีพื้นที่รวมกัน 4 ล้านกว่าตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 6 พันล้านคน ซึ่งถือว่ามากพอที่จะรวมพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันเป็นอันดับ 8 ของโลก ก็ถือว่ามีขนาดใหญ่อยู่เหมือนกัน ที่จะทำให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เป็นเพื่อประโยชน์ทางการค้า ในส่วนของประเทศไทยก็ได้เตรียมการไว้แล้ว
คอมมิวนิสต์ กับเศรษฐกิจโลก
ในอดีตยุคสงครามเย็น ระบบเศรษฐกิจของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยเรื่องต่างๆ ที่มีอิทธิพลในการกำหนด และมีส่วนสำคัญที่จะทำให้มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลก อย่างเรื่องการเมืองระหว่างประเทศที่เป็นประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตที่เป็นประเทศมหาอำนาจ และเป็นเจ้าของระบอบการปกครองที่ควบคุมประเทศแต่ละประเทศในโลกของเราอยู่ ซึ่งได้แก่ระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ที่นำโดยสหภาพโซเวียตรัสเซีย กับระบบเสรีประชาธิปไตยที่นำโดยสหรัฐอเมริกา
ความมีวินัยคนในชาติ ส่งผลต่อเศรษฐกิจในประเทศอย่างไร
ในปัจจุบันก็เป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมที่สำคัญของโลกสามารถผลิตนวัตกรรม อย่างเช่นเครื่องกลโรงงาน อุตสาหกรรมรถยนต์ รถไฟความเร็วสูงที่ทันสมัยที่สุด เครื่องบินที่มีประสิทธิภาพ ส่งออกไปขายได้ทั่วโลกจนได้เปลี่ยนทางด้านดุลการค้าระหว่างประเทศ เพราะสินค้าส่วนใหญ่เป็นนวัตกรรมของการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆ ที่ชาติอื่นไม่สามารถประดิษฐ์ได้ เยอรมันจึงเป็นชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกไปแล้ว
ทำไมลงทุนในหุ้นต้อง วิเคราะห์เศรษฐกิจ ด้วย ?
ช่วงนี้เราจะได้ยินคนพูดกันบ่อยๆ ใช้หรือเปล่าว่า เศรษฐกิจไม่ดี ขายของไม่ได้ พ่อค้าแม่ค้าก็บ่นกัน แล้วเราเคยสงสัยกันหรือเปล่าว่าเศรษฐกิจไม่ดีนั้นจะส่งผลต่อราคาหุ้นที่เราลงทุนอยู่กันยังไงบ้าง และอย่าเพิ่งตกใจว่าเรื่องเศรษฐกิจหรือเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องยาก เป็นไกลตัว หากเราลงทุนในหุ้นไว้แล้วการเรียนรู้เรื่องวิเคราะห์เศรษฐกิจไว้บ้างก็น่าจะเป็นประโยชน์กับการลงทุนของเราไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว
“หุ้น” สินทรัพย์เสี่ยงสูง ในตลาดเสรี
การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทหุ้นได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ที่ต้องการผลตอบแทนสูงมานานและทุกประเทศต่างก็มีตลาดหุ้นซึ่งเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ออมและผู้ที่ต้องการเงินจากการกู้ยืมผ่านการออกหุ้นดังกล่าวเพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหุ้นไปลงทุนในการแสวงหาผลตอบแทนเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจ ก่อตั้งธุรกิจ หรือเพิ่มสภาพคล่องในธุรกิจให้สามารถเติบโตต่อไปได้อันนำมาซึ่งผลกำไรที่จะสะท้อนถึงศักยภาพของธุรกิจและนั่นก็จะส่งผลต่อมูลค่าหุ้นของธุรกิจดังกล่าวที่จะเพิ่มสูงขึ้นอันส่งผลดี
สงสัยกันไหม อะไรที่ทำให้ ราคาน้ำมันลดต่ำลง ?
ดังนั้นสำหรับใครที่ต้องดำเนินธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับราคาของน้ำมันดิบ ก็ควรจะต้องจับตาดูแนวโน้มต่อไปเรื่อย ๆ อย่างใกล้ชิด เพราะไม่แน่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะก่อนหน้านี้เพียงไม่นานราคาน้ำมันดิบยังราคาสูงอยู่เลย แต่ใช้ระยะเวลาแค่เพียงไม่นาน ราคาน้ำมันดิบกลับลดต่ำลงอย่างรวดเร็วจนบริษัทน้ำมันต่าง ๆ พากันกุมขมับกันเลยทีเดียว
ต่างชาติแห่ ซื้อพันธบัตร ไทยสวนกระแสประเทศยักษ์ใหญ่
ในภาพรวมสำหรับแนวโน้มในอนาคตอาจบอกได้ค่อนข้างยากว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เพราะถึงแม้จะมีการชะลอตัวในกลุ่มประเทศใหญ่ ๆ แต่ในส่วนภูมิภาคกลับค่อนข้างไปได้ดี มีการขยายตัว อาจเป็นเพราะยังถือได้ว่าเป็นตลาดเปิดใหม่สำหรับผู้ลงทุน ทำให้มีความน่าสนใจ สิ่งที่ต้องคิดคือเรื่องของความไม่แน่ไม่นอนของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่อย่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่อาจส่งผลกระทบมายังประเทศของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม
ปี พ.ศ. 2559 ปีของ หนี้ครัวเรือน พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์
สถานการณ์ด้านการเงินและการลงทุนรวมถึงการบริโภคของประชาชนไทยอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากการประมาณการของนักวิเคราะห์หลายสำนักรวมถึงหน่วยงานภาครัฐอย่างสำนักงานเศรษฐกิจการคลังที่ออกมาระบุว่า หนี้ครัวเรือน ต่อจีดีพีของไทยในไตรมาสที่ 3/2558 ที่ผ่านมาสูงสุดถึง 81.1% สถานการณ์ดังกล่าวเป็นที่กล่าวถึงและตั้งคำถามถึงความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจไทยว่าจะมีความมั่นคงมากน้อยเพียงไรจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในสัดส่วนที่สูง และรวมถึงแนวทางข้อเสนอแนะในการปรับตัวของภาคประชาชนต่อการก่อหนี้ครัวเรือนรวมถึงมาตรการตั้งรับของหน่วยงานภาครัฐ
ดัชนีราคาผู้บริโภค ติดลบยาวนาน 14 เดือน
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ได้มีการสรุปถึง ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ปี 2559 จากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยทั่วไปของประเทศจะอยู่ที่ 105.62 ลดลงจากเดือนที่แล้ว 0.50% ซึ่งเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือว่าเป็นการติดลบอย่างยาวนานถึง 14 เดือน นับมาตั้งแต่เดือนมกราคมของปี 2558 เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกภายในประเทศยังมีราคาที่ลดต่ำลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ค่าโดยสารรถบริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. และทางรถร่วมเอกชนที่มีการวิ่งระหว่างจังหวัดมีอัตราที่ลดลง จากราคาค่าแก๊สหุงต้มและค่ากระแสไฟฟ้าที่ลดลง