กระแสแฟรนไชส์ ในบ้านเรายังคงมีอยู่เรื่อยๆ ทั้งกลุ่มลงทุนเดิมที่ขยับขยายสาชาแฟรนไชส์ๆได้อย่างต่อเนื่องและแฟรนไชส์ แฟรนไชส์น่าลงทุน ใหม่ๆ ที่มีมาเรื่อยแต่สำหรับปี 2559 แนวโน้มแฟรนไชส์เป็นอย่างไร จะน่าลงทุนอยู่ไหม ปัจจัยเสี่ยงมีเยอะแค่ไหนและหากคิดจะทำเป็นอาชีพหลักโอกาสคืนกำไรมีสูงแค่ไหนเรามาติดตามกัน
มีการวิเคราะห์แนวโน้มโดย ดร.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ในงานมหกรรมสุดยอดแฟรนไชส์ไทยสู่ตลาดโลกนั้น ได้มีการนำเสนอในเรื่องของการคาดการณ์ธุรกิจแฟรนไชส์ปี2559 ไว้ว่า สภาพของ ธุรกิจแฟรนไชส์ ไทยจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง ซึ่งจากเดิมที่หลายๆคนมีการทำธุรกิจเป็นของตัวเองก็จะหันมาเลือกลงทุนในธุรกิจที่มีแบบแผนหรือรูปแบบที่ชัดเจนขึ้น เพื่อที่จะได้ไม่ต้องพบเจอกับความเสี่ยงในด้านต่างๆ และแบ่งประเภทของ ธุรกิจแฟรนไชส์ นั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้แบ่ง ธุรกิจแฟรนไชส์ ออกเป็น 6 ประเภทหลัก ได้แก่ธุรกิจอาหาร ธุรกิจการศึกษา ธุรกิจการบริการ ธุรกิจเครื่องดื่ม ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจความงาม
“จากการสำรวจพบว่า คนที่เลือกซื้อแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ จะเป็นนักลงทุนในกลุ่มของพนักงานบริษัท ระดับผู้จัดการชั้นต้น พนักงานระดับกลาง ที่มีเงินสะสมไม่น้อยกว่า 3แสนบาท”
จากการวิเคราะห์นี้สามารถบ่งบอกแนวทางได้ว่าในปีหน้าเทรนด์แฟรนไชส์ ยังคงมีความน่าสนใจอยู่ไหมน้อยในกลุ่มต่างๆที่มีการจัดแบ่งประเภทออกมา ซึ่งขึ้นอยู่กับเงินลงทุนของแต่ละคนแต่ส่วนใหญ่จากการวิเคราะห์คนที่หันมาทำแฟรนไชส์มักจะมีเงินทุนส่วนหนึ่งและเงินกู้สินเชื่อเพื่อการลงทุนรายย่อยอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้แฟรนไชส์ยังมีความน่าสนใจคือ ความสะดวกในการทำธุรกิจเพราะอย่างที่ทราบแฟรนไชส์ แต่ละแบรนด์จะมีการจัดการทั้งด้านการบริหาร การโปรโมท การดูแลด้านวัตถุดิบ และการฝึกอบรม ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของแฟรนไชส์ แต่การเลือกแฟรนไชส์ก็ยังมีข้อจำกัดคือ เงินลงทุน ทำเล และความตั้งใจในการทำธุรกิจ เพราะส่วนหนึ่งที่ทำแฟรนไชส์แล้วไม่ประสบความสำเร็จนั้นส่วนใหญ่มาจากข้อจำกัดที่กล่าวมาและสิ่งสำคัญอีกอย่างคือการเลือกแฟรนไชส์
อ่านเพิ่มเติม >> เจาะลึกธุรกิจ แฟรนไชส์ <<
อย่างที่กล่าวมาข้างต้นคือประเภทของแฟรนไชส์ แต่ละกลุ่มจะมีการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะกลุ่มอาหารที่มีหลายแบรนด์แต่ละแบรนด์เน้นกลุ่มลูกค้าและการทำตลาดแตกต่างก็ตามแต่การแข่งขันส่วนแบ่งในตลาดถือว่าเยอะพอสมควร ส่วนกลุ่มที่มีคู่แข่งน้อยที่สุดคือกลุ่มธุรกิจบริการ ซึ่งแฟรนไชส์นี้ยังมีคนทำน้อยส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยแต่สามารถทำกำไรได้เรื่อยๆ แต่เงินลงทุนก็ถือว่าสูงพอสมควร แม้ว่ากลุ่มธุรกิจบริกาจะมีแฟรนไชส์ไม่มากแต่การแข่งขันที่มีอยู่ก็จะเป็นผู้ประกอบการที่ไม่ใช่แฟรนไชส์ แต่ไม่ว่าจะเลือกลงทุนแฟรนไชส์ประเภทไหนในปีหน้าสำหรับคนที่คิดอยากทำธุรกิจ สิ่งสำคัญคือการออกสำรวจพื้นที่ สำรวจตลาด และความนิยมของแฟรนไชส์ที่สนใจเพื่อเปรียบเทียบดูคู่แข่ง ดูแนวโน้มจากของจริง
นอกจากนี้ต้องวิเคราะห์ความสามารถของตัวเองว่าอยู่ในระดับไหน ทั้งเรื่องของเงินทุน เวลา และการบริหารจัดการ เพราะการทำธุรกิจต้องให้ความใส่ใจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เพราะถ้าหากขาดความใส่ใจและการบริหารที่ดี การทำธุรกิจก็จะไม่ประสบความสำเร็จและอาจสูญเงินได้
นอกจากนี้สำหรับคนที่คิดจะลงทุนแฟรนไชส์เป็นอาชีพเสริมต้องมีเวลาและเลือกแฟรนไชส์ที่สามารถดูแลเองได้ หรือ บริหารเองได้ ไม่แนะนำให้ลงทุนแฟรนไชส์แล้วจ้างพนักงานคอยดูแลหากทำเป็นอาชีพเสริมเพราะหากไม่มีเวลาดูแลรายได้อาจไม่ได้ตามที่ต้งอการรวมถึงคุณภาพของแฟรนไชส์ที่ลงทุนไปด้วย หากคิดจะทำแฟรนไชส์เป็นอาชีพเสริม ไม่ควรเลือกลงทนแฟรนไชส์ที่ใช้เงินสูงควรเริ่มจากเล็กๆลงทุนไม่มากน่าจะเหมาะที่สุด