ในสำนักสปป ลาว พบว่าคนไทยจำนวนมาก แห่ท่องเที่ยวและนำเงินไปฝากที่ประเทศลาวเพราะมองว่า ได้ดอกเบี้ยที่คุ้มกว่าการฝากเงินในไทย แต่เป็นที่น่าสงสัยที่ประเทศไทยที่มีฐานเศรษฐกิจใหญ่กว่าลาว ถึงได้ดอกผลจากการฝากเงินน้อยกว่าลาว แท้จริงแล้วผลตอบแทนแท้จริงของดอกผลหรือดอกเบี้ยที่ ฝากเงินลาว นั้นเขาคิดอย่างไรกัน
ในเรื่องผลตอบแทนที่แท้จริง = อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก – อัตราเงินเฟ้อ
จากข้อมูลที่มีการแชร์กันบอกว่า ฝาก 6 เดือนได้ดอกเบี้ย 8 % แล้ว อัตราเงินเฟ้อของลาวอยู่ที่เท่าไร?
จากข้อมูลของการประเมินเศรษฐกิจประเทศในกลุ่มอาเซียนหรือเออีซี ซึ่งสำนักพัฒนาตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเอเชีย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศระบุว่า ในปี 2015 หรือปี 2558 นี้ อัตราเงินเฟ้อของประเทศลาวจะอยู่ที่ 7.4 %
นั้นหมายความว่าแท้จริงแล้วผลตอบแทนสุทธิเมื่อหักเงินเฟ้อจากกรณีที่ยกตัวอย่าง ที่ได้ดอกเบี้ย 8 % จะเหลือเพียง 0.6 % นั้น (8% – 7.4%) นั่นแสดงว่าได้ดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นเพียงแค่ 1.4%
ความเสี่ยงที่อาจเกิดความยุ่งยาก มีความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอีกด้วยนะ การไปฝากเงินต้องนำเงินไปแลกเป็นเงินกีบ ก่อน และเมื่อจะนำกลับต้องแลกกลับคืนมาเป็นบาท ยกตัวอย่างเช่น
ขณะที่นำเงินไปฝากค่าเงินระหว่างเงินบาท กับ เงินกีบ อยู่ที 1 บาท ต่อ 250 กีบ เมื่อฝากเงินครบตามอายุเงินฝาก ได้ดอกเบี้ยมาแล้ว เมื่อนำกลับมาแลกกลับเป็นเงินบาท หากโชคดี ค่าเงินบาทอ่อน ลงมาในอัตรา 1 บาท ต่อ 240 กีบ ผู้ฝากก็ได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
แต่หากค่าเงินบาทแข็งกว่าเงินกีบ เป็น 1 บาท ต่อ 260 กีบ ผู้ฝากจะต้องนำเงินกีบมากขึ้นมาแลกคืนเป็นเงินบาททำให้ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนไปทันที
และความเสี่ยงด้านความผันผวนของค่าเงินนั้น เนื่องจากเงินกีบไม่ใช่เงินตราสกุลหลักของโลก และภาครัฐเป็นสังคมนิยม ยังควบคุมธนาคารและค่าเงินด้วยตนเอง อาจเกิดเหตุการณ์รัฐสั่งลดค่าเงินกีบ ปีหนึ่งมากกว่า 1 ครั้งก็เป็นไปได้
เมื่อยอมรับในความเสี่ยงเบื้องต้นของการแลกเปลี่ยนเงินตราแล้ว อีกเรื่องที่ต้องรู้ก่อนฝากเงินใน สปป.ลาว ดังนี้
1. ผู้ลงทุน หรือผู้ฝากเงินต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศลาวเท่านั้น หากเป็นชาวต่างชาติ ต้องมีใบอนุญาตให้พำนักหรือใบอนุญาตทำงานในประเทศลาว(Work Permit) หรือใบรับรองการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์กรระหว่างประเทศในการขอเปิดบัญชี จึงจะฝากเงินหรือซื้อ-ขายใบยืนยันฝากได้ มีธนาคารบางแห่งอนุญาตให้ใช้พาสปอร์ตเปิดบัญชีได้ แต่ต้องมีถิ่นพำนักเป็นที่อยู่ในลาวที่ชัดเจน
2.เมื่อธนาคารใดถูกประกาศให้ล้มละลาย ผู้รับเงินมีสิทธิ์ได้รับเงินคืนจากกองทุนปกป้องผู้ฝากเงิน ตามจำนวนเงินที่ยังไม่ได้ถอนแต่ไม่เกิน 15 ล้านกีบ หรือราว 60,000 บาท/คน
3.ระเบียบการนำเงินเข้า-ออกราชอาณาจักรไทย
- เงินบาทไทย สามารถนำติดตัวไปยังประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ได้ไม่เกินคนละ 500,000 บาท/คน หากต้องติดตัวเกินกว่านี้ ต้องมีได้รับอนุญาตจากธนาคารและนำหลักฐานแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนเดินทาง ส่วนการนำเงินเข้าสามารถทำได้โดยไม่จำกัดมูลค่า
- เงินต่างประเทศ ออกนอกอาณาจักรไทยเกิน 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต้องแสดงรายการเงินต่างประเทศนั้น ต่อเจ้าหน้าที่กงสุลก่อนออกนอกประเทศ หากไม่แสดงหรือรายการไม่ถูกต้อง จะมีความผิดทางอาญา
ความเสี่ยงด้านกฎหมายและภาษีในการถ่ายโอนดอกผลคืนออกนอกประเทศ แม้ว่าดอกเบี้ยเงินฝากหลายประเภทจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่การนำเงินตราแลกเปลี่ยนกลับเป็นเงินบาทหรือดอลลาร์แล้วนำออกนอกประเทศจำนวนมาก ต้องแจ้งต่อธนาคารแห่งชาติลาวก่อน ก่อนจะลงทุนฝากเงินในประเทศลาว ก็ต้องศึกษาความเสี่ยง เตรียมพร้อมดูความคุ้มค่าของการลงทุนในแต่ละครั้งด้วย