เคยคิดกันไหมว่า วัยเรียน VS วัยทำงาน มันมีความเหมือนและความต่างกันอย่างไรในเรื่องของการเงิน สงสัยใช่ไหมว่าเหมือนตรงไหน เหมือนตรงที่วัยเรียนนายจ้างคือพ่อแม่จ้างให้เราไปเรียนเพื่ออนาคตตัวเราเองรายได้ก็คือค่าขนมไปโรงเรียน ส่วนวัยทำงานนายจ้างคือเจ้าของกิจการเราต้องทำงานแลกเงินเพื่อมาเลี้ยงครอบครัวและตัวเองในอนาคต ซึ่งมุมมองตรงนี้จะคล้ายกันคือ เราทุกคนได้เงินจากนายจ้างทั้งสองแบบแต่ขึ้นอยู่กับว่าจะได้มากได้น้อยและใครจะเก็บได้มากกว่ากัน นี่คือจุดที่เหมือนกัน ส่วนความต่างคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า
วัยเรียนรับผิดชอบแค่เรื่องเรียนนอกนั้นพ่อแม่ดูแลให้ ส่วนวัยทำงานต้องดูแลเองทุกอย่าง ที่อยากจะพูดเรื่องนี้คือทำไมเราไม่ออมเงินกันตั้งแต่วัยเรียน
หลายคนบอกไม่ทันแล้วแต่หากคุณมีครอบครัวอยากให้แนะนำให้ลูกหลายออมเงินตั้งแต่วัยเรียน หรือหากกลัวว่าเด็กๆจะทำไม่ได้เราก็ออมไว้ให้เขาเองเก็บฝากไปเรื่อยๆพอเขาเข้าวัยทำงานก็ให้เขามาเก็บออมต่อ หรือหากมีวัยเรียนมาอ่านบทความนี้ก็อยากจะบอกว่าออมกันตั้งแต่ตอนนี้เถอะเก็บก่อนรวยก่อนนะจะบอกให้ เคล็ดลับง่ายๆที่จะทำให้มีเงินออมที่ทั้งวัยเรียนและวัยทำงานสามารถใช้ได้คือ ไม่ต้องตั้งเป้าว่าจะต้องเท่านั้นเท่านี้ เพราะบางคนทำไม่ได้และกลายเป็นไม่อยากออมเงิน เคล็ดลับที่ว่านี่คือ แบ่งเงินที่เหลือในแต่ละวันมาออมหรือเรียกง่ายๆหยอดกระปุกแต่ห้ามแคะห้ามทุบเก็บไปเรื่อยๆเต็มก็หากระปุกใหม่ ทำแบบนี้จนกว่าต้องการจะใช้เงินหรือครบปีแล้วนำไปฝากธนาคาร
เงินในแต่ละวันที่เอามาหยอดคือเหรียญหรือแบงค์ก็ได้ เพราะทุกคนจะมีลิมิตการใช้เงินกันอยู่แล้วว่าวันนี้ได้เงินไปเรียนเท่าไหร่ เหลือกลับมาเท่าไหร่ก็เอามาหยอดไว้ แบ่งหยอดกระปุกตามความพอใจ หลายคนบอกว่าเก็บอย่างนี้ไม่รวยหรอก ซึ่งเราอยากบอกว่าเราไม่ได้สอนให้คุณรวย แต่เราสอนให้คุณหัดออมเงินจนเป็นนิสัยและการออมแบบนี้มีประโยชน์ แม้มันจะไม่มากแต่มันก็ทำให้คุณมีเงินใช้ในยามที่คุณลำบากได้แม้จะไม่มากแต่ก็มีให้ซื้อข้าวกินได้แน่นอน อย่ามองข้ามเศษเหรียญหรือเงินในกระปุกเพราะมีคนทำแบบนี้ปีหนึ่งแคะมานำไปฝากธนาคารก็ได้หลายพันก็มี การออมวิธีนี้ทำได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่หากคุณสอนให้เขาออมและทำให้ดูเป็นตัวอย่างมันจะปลูกฝังนิสัยนี้ไปเรื่อยๆจนโตและเขาจะรู้จักไขว่ขว้าหาวิธีออมเงินในแบบอื่นๆเพื่อให้มีเงินเยอะขึ้นได้
อ่านเพิ่มเติม : วัยเรียน ออมเงิน รวยได้ด้วยตัวเอง
นอกจากนี้ควรหัดให้รู้จักการวางแผนและการบริหารเงินตั้งแต่วัยเรียนเพื่อให้เขารู้จักการใช้เงินและเมื่อถึงวัยทำงานจะได้รู้จักใช้เงินอย่างถูกต้อง เช่น จ่ายค่าขนมเป็นรายสัปดาห์ หมดแล้วหมดเลยไม่มีการให้เบิกเพิ่มหากมาขอเพิ่มก็ให้หักจากเงินสัปดาห์ถัดไป เขาจะได้รู้จักบริหารเงิน ซึ่งค่าขนมรายสัปดาห์นั้นควรให้เพียงพอกับการใช้จ่ายจริงเช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร และค่ากิจกรรมอื่นๆบ้าง สมมุติว่าใช้จ่ายแต่ละวันตกวันละ 70 บาท ก็เพิ่มให้เป็น 100 บาทแล้วบอกเขาว่า ให้อาทิตย์ละ 500 นี่รวมค่าอื่นแล้วนะสมุดดินสอปากกาหรือทำรายงานอยู่ในนี้หมดเอาไปบริหารเอง หากไม่พอมาเบิกจะหักเงินอาทิตย์หน้า แต่หากมีใบเรียกค่ากิจกรรมจากทางโรงเรียนสามารถเบิกพิเศษได้ไม่หัก ค่อยๆปรับความรับผิดชอบเรื่องการเงินให้เขาตั้งแต่วัยเด็ก เขาจะรู้เองว่าควรใช้อะไรมากน้อยแค่ไหน วิธีนี้ได้ผลจริงๆ เพราะผู้เขียนทำแบบนี้มาแล้วกับลูกสาวคนโตซึ่งได้เงินไปเรียนวันละ 100 บาทค่าใช้จ่ายหลักประจำวันมีแค่ค่าอาหารเพราะเดินไปโรงเรียนที่ให้เยอะขนาดนี้เพราะกิจกรรมเยอะทำรายงานเยอะให้สัปดาห์ละ 500 บาทไปบริหารเองซึ่งเขาทำได้มีเงินเหลือเก็บไว้ไปดูหนังบ้าง ซื้อเสื้อผ้าเองบ้าง โดยไม่มาขอเพิ่มนอกจากจะมีใบเรียกเก็บเงินค่ากิจกรรมจากทางโรงเรียน หรือมีกิจกรรมพิเศษที่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะก็จะเพิ่มให้ ซึ่งเมื่อถึงช่วงปิดเทอมที่เขาไปทำงานพิเศษหารายได้เอง เขาได้เงินก้อนแรกมาไม่ยอมใช้อะไรเลยเพราะเขาบอกว่าเสียดายและเหนื่อยมากกว่าจะได้เงินเลยอยากเก็บไว้ให้อยู่นานๆ