มนุษย์เงินเดือนได้จะใช้จ่ายอย่างไรให้มีความสุข และทำงานอย่างไรให้ได้เงินเยอะขึ้น จะให้มีเงินเหลือเก็บออมได้ ซึ่งคนทำงานที่ทุ่มเททำงานหนัก และกลับบ้านดึกทุกวัน หรือแม้แต่รกทำงานวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งหากไม่มีความคาดหวังความก้าวหน้าในการทำงาน ก็อาจจะคาดหวังให้ตัวเองได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น เพื่อให้คุ้มค่ากับการทำงานหนักในแต่ละวัน คนทำงานควรมีเทคนิคในการทำงาน ไม่ใช่ว่าจะทำงานให้ผ่านพ้นไปได้แค่ในแต่ละวันเท่านั้น ซึ่งจะต้องไม่ลืมว่าการทำงาน และผลตอบแทนจะต้องมีความสอดคล้องกัน
1.ทำงานอย่างมืออาชีพ
งานที่คุณทำควรมีความรู้มากกว่าคนอื่น ๆ เมื่อคุณรู้มากกว่าคน ๆ อื่น คุณก็จะเป็นที่พึ่งพาของคนอื่นได้ แสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพที่องค์กรส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับคนที่ทำงานเป็น และทำงานอย่างมีความเป็นมืออาชีพ จึงเป็นเรื่องไม่ยากที่เราจะได้เงินเดือนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคนทำงานที่มองโลกในแง่บวก และกระตือรือร้นที่จะทำงานอยู่เสมอ มักเป็นที่สนใจของหัวหน้า เพราะเขาจะรู้สึกว่าได้เลือกคนมาทำงานไม่ผิดคน อีกทั้งการเป็นคนที่มีความกระตือรือร้น จะช่วยให้คุณมีภาพลักษณ์ในการทำงานที่ดี เมื่อการทำงานของเราเป็นไปได้ด้วยดี การเงินของคุณก็จะดีตามไปด้วย
2.ทุ่มเทให้กับการทำงานที่เหมาะกับตัวเอง
แม้ว่าคุณจะทุ่มเทให้กับการทำงานมากขนาดไหน แต่หากยังไม่ประสบความสำเร็จกับงานเท่าที่ควร นั่นเป็นเพราะคุณยังไม่ได้ทำงานที่เหมาะกับตัวเองจริง ๆ แต่เป็นเพียงงานที่พอจะทำได้เท่านั้น ลองมองหางานและเลือกทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถของคุณจริง ๆ เพื่อที่เงินของคุณจะได้งอกเงยขึ้นไปพร้อม ๆ กับการทำงาน ยิ่งทำงานที่ตรงสายมากเท่าไร เงินเดือนก็จะเติบโตขึ้นเร็วเท่านั้น การทำงานหนักไม่เคยฆ่าใคร และมันก็เป็นเรื่องจริง การทำงานหนักแม้ว่าจะเหนื่อย แต่ผลตอบแทนที่ได้รับมันค่อนข้างคุ้มค่ากับสิ่งที่ลงแรงไป ไม่เพียงแต่ความก้าวหน้า แต่ผลตอบแทนจากการทำงานของ ซึ่งจะทำให้คุณยิ้มได้กว้างเมื่อถึงวันที่เงินเดือนออก ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกว่าความเหนื่อยที่เคยเกิดขึ้น มันได้หมดไปแล้วจริง ๆ
3.ทำบัญชีแห่งความสมดุลในแต่ละเดือน
การทำบัญชีในแต่ละเดือน ก็เพื่อประยุกต์ใช้ในการบริหารเงินเดือนให้มีความสมดุล เพื่อไม่ให้ตึง หรือหย่อนเกินไป ซึ่งบัญชีแห่งความสมดุล คือการนำเอารายได้ – เงินออม = รายจ่าย ซึ่งเทคนิคจากบัญชีแห่งความสมดุลนี้ก็คือ เมื่อมีเงินเดือนและรายได้เข้ามาในแต่ละเดือนแล้ว ให้ทำการหักเป็นเงินออมไว้ก่อน โดยเงินออมที่หักไว้ อาจจะเริ่มต้นที่ 10 เปอร์เซ็นต์ของรายรับ แต่หากอยากมีเงินออมมาก ๆ จะลองหักเงินออมไว้ 50% ก็ยิ่งดี แล้วเงินที่เหลือค่อยนำไปใช้จ่าย ซึ่งเทคนิคนี้ ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าจะมีเงินออมแน่นอน นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกวินัยในการใช้จ่ายอีกด้วย
4.การบริหารจัดการทำรายจ่ายประจำเดือน
รายจ่ายประจำเดือนก็คือ สิ่งที่บ่งบอกถึงการใช้จ่ายของคุณในแต่ละเดือนว่าได้ใช้เงินไปมากน้อยแค่ไหน อย่างไรบ้าง โดยจะแบ่งออกเป็นรายจ่ายคงที่ ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเป็นประจำทุกเดือน อย่างค่าเดินทาง ค่าอาหาร หรือค่าใช้ จ่ายในการดูแลครอบครัว ค่าผ่อนชำระหนี้สินต่าง ๆ ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ ซึ่งคุณสามารถประมาณค่าใช้จ่ายกลุ่มนี้ได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ส่วนรายจ่ายผันแปร เป็นรายจ่ายที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงไม่เท่ากันในแต่ละเดือน อย่างค่างานเลี้ยง ไปแฮงค์เอาท์ งานสังสรรค์ ค่ารักษาพยาบาล งานบุญ ค่าท่องเที่ยว สันทนาการต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างยากต่อการประมาณการ และยังอาจจะมีค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ ซึ่งการสำรองเงินเผื่อไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน ก็จะสามารถช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้
เมื่อเราทำรายจ่ายประจำเดือนว่ามีรายจ่ายอะไรบ้าง จะทำให้คุณได้รับรู้การใช้จ่ายในแต่ละเดือน และช่วยให้สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปทำให้มีเงินเหลือออมมากขึ้น เช่น ค่าชอปปิ้งของฟุ่มเฟือย และทำให้เรารู้จักคิดให้รอบคอบก่อนที่จะใช้จ่าย รู้ว่าค่าใช้จ่ายไหนที่จำเป็น และค่าใช้จ่ายไหนที่ไม่จำเป็นเมื่อเห็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว ให้เลือกชำระค่าใช้จ่ายแบบอัตโนมัติ ซึ่งแบ่งออกเป็นการชำระแบบตัดบัญชีอัตโนมัติ ซึ่งจะสามารถช่วยให้การชำระค่าใช้จ่ายรายเดือนต่าง ๆ ที่สามารถทำได้สะดวกรวดเร็วกว่าการไปชำระด้วยตนเองโดยทางธนาคารจะตัดเงินเพื่อชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ใน วันที่กำหนดไว้ในแต่ละเดือน ซึ่งข้อดีคือจะทำให้ไม่ลืมจ่ายค่าต่าง ๆ จนอาจทำให้เสียเวลา เสียค่าปรับโดยใช่เหตุ
5.การแบ่งบัญชีเงินออมเป็น สั้น กลาง ยาว
การออมเงินในแต่ละเดือน หากเป็นบัญชีเงินออมระยะสั้น เป้าหมายไม่เกิน 1-3 ปี ซึ่งเงินออมที่เก็บไว้ สามารถนำไปเป็นเงินเก็บที่เอาไว้ท่องเที่ยว หรือไว้สำหรับวางแผนเงินฉุกเฉิน รวมถึงเก็บไว้ซื้อของต่าง ๆ ที่อยากได้ การเก็บเงินออมระยะสั้นนี้อยู่ในรูปแบบที่เน้นไปทางสร้างสภาพคล่องที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว อย่างการฝากออมทรัพย์ หรือกองทุนรวมตลาดเงิน ฯลฯ สำหรับบัญชีเงินออม ระยะกลาง เป้าหมายระยะ 3-5 ปี ซึ่งอาจจะ กำหนดเป้าหมายเงินออมระยะกลางไว้ด้วย อย่างการวางแผนการศึกษาให้ลูก หรือการดาวน์บ้าน ผ่อนบ้าน หรือดาวน์รถ-ผ่อนรถ และการวางแผนสร้างธุรกิจ ฯลฯ ซึ่งเงินออมระยะกลางควรเก็บในรูปแบบความเสี่ยงที่ปานกลางถึงสูง อย่างการฝากประจำ หุ้นสามัญ กองทุนรวมหุ้น ตราสารหนี้ (พันธบัตร หุ้นกู้) หรือประกันแบบออมทรัพย์ ส่วนบัญชีเงินออม ระยะยาวให้ตั้งเป้าหมายระยะยาวเกิน 5 ปีขึ้นไป ซึ่งอาจเป็นเงินออมที่ไว้ใช้ในยามที่เกษียณ เงินออมระยะยาว ควรเก็บในรูปแบบที่มีความเสี่ยงต่ำ และได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ อย่างการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ หุ้นปันผลสูง พันธบัตร RMF ฯลฯที่สำคัญการไม่ก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น จะทำให้มีเงินใช้และเหลือเก็บ และสามารถใช้ชีวิตแบบยิ้มได้ทั้งเดือนแน่นอน