หลายคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน มักจะเกิดปัญหาคือ เงินเดือนเริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นของงานราชการ งานรัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่พนักงานบางบริษัทของเอกชนที่อาจจะได้เงินเดือนน้อย หรือไม่พอในการใช้จ่ายสำหรับชีวิตประจำวัน ที่เริ่มจะมีค่าครองชีพสูง ในการดำรงชีวิตประจำวัน บอกได้เลยว่าสมัยนี้อะไรก็แพง แถมโอกาสในการเติบโตของการทำงานก็ยากกว่าเพราะมีระบบอาวุโสที่เคร่งครัด ซึ่งโอกาสในการแสดงความสามารถเพื่อขออาสารับทำงานสำคัญก็แสนยาก เพราะมีระบบชั้นการบังคับบัญชาที่ลึก ฯลฯ ซึ่งเป็นสาเหตุบางส่วนที่ทำให้คนรุ่นใหม่ ต้องการความสำเร็จเร็ว และมักจะปฏิเสธงานราชการ เพราะคิดว่าได้เงินเดือนน้อย และไม่พอสำหรับค่าใช้จ่าย
อ่านเพิ่มเติม : 2015-2016 นักศึกษาจบใหม่ ป.ตรี ได้เงินเดือนเท่าไหร่ ?
1.’งานที่ดี’ ในอดีตของสายตาคนรุ่นเจนเนอเรชั่น X
บางบริษัท ที่มีคนวัยทำงาน อายุช่วง 36-51 ปี ที่ทำงานในองค์กรเอกชน จะยิ่งมีเงินเดือนสูง หากมีความมั่นคงด้วยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานธนาคาร งานบริษัทน้ำมัน งานบริษัทสื่อสาร หรือองค์กรใหญ่ ๆ ยิ่งเป็นงานในฝันของใครหลายๆ คน ซึ่งบริษัทเหล่านี้มักจะมีโอกาสในการไต่เต้า และเปิดกว้าง ทำงานประมาณ 20 ปีก็ได้เป็นผู้จัดการ หรือผู้อำนวยการ หลังอายุ 40 ปี ก็จะทำให้มีทั้งเงินเดือนสูง มีทั้งตำแหน่งที่สูง แต่ในปัจจุบัน ปัญหาของงานเอกชน คือ เงินเดือนเริ่มต้นที่เคยสูง กลับไม่สูงอย่างสมัยก่อน เงินเดือนวิศวกรสตาร์ท 15,000 บาท ซึ่งถือเป็นเงินเดือนเริ่มต้นตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีหลายบริษัทให้สตาร์ทที่ 15,000 บาทเหมือนเดิม ทั้งโอกาสในการไต่เต้าและความก้าวหน้าก็ตีบตันลงเพราะคนยุคเจน X ยึดกุมตำแหน่งสำคัญในองค์กรเอกชนใหญ่ ๆ ไว้ได้เกือบหมด ที่สำคัญที่สุด คืออัตราการขึ้นเงินเดือนอย่างน้อย 10% ตอนนี้เฉลี่ยขึ้นเงินเดือนเพียง 3-5% เท่านั้น
2.คนรุ่นเจนเนอเรชั่นY เริ่มเบนออกจากคำว่า ‘งานประจำ’
เพราะการต้องตรากตรำทำงานกว่า 20 ปีกว่าจะได้ลืมตาอ้าปากได้ ทำให้คนเจน Y ที่เติบโตมากับเทคโนโลยี อาจจะทำให้รู้สึกว่า รอไม่ไหว อีกทั้งงานประจำเอกชนสมัยนี้มีการขึ้นเงินเดือนช้า โบนัสน้อยลง แถมยังมีความมั่นคงในอาชีพน้อยกว่าในอดีตอย่างมากมี การเลย์ออฟไล่ออกให้ได้ยินเป็นระยะ ๆ ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ในขณะที่คนเจน Y กลับต้องการทุ่มเททำงานหนักเพื่อเป็นการแสดงความสามารถเต็มที่ จะต้องการทำงานหนัก 5-10 ปี แล้วให้คุ้มค่ากับการทุ่มเท ต้องการการยอมรับ และต้องการจับงานใหญ่ จึงกลายเป็นที่มาของงานฟรีแลนซ์ ที่คนทำงานประจำต้องออกมาหารับงานอิสระ ทำมากได้มาก และทำน้อยได้น้อย และหากเมื่อไหร่ได้เป็นมือวางอันดับต้น ๆ ในความเชี่ยวชาญงานสายฟรีแลนซ์ งานจะไหลมาเทมา จนบางครั้งทำรายได้มากกว่าเงินเดือนประจำก็มี ทำให้กระแสการทำงานฟรีแลนซ์เริ่มมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฟรีแลนซ์เขียนโปรแกรม ,ฟรีแลนซ์ถ่ายภาพ ,วิทยากร ,ที่ปรึกษาธุรกิจ ฯลฯ ซึ่งก็คือผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพนั้น เป็นคนที่ผันตัวเองจากลูกจ้างบริษัท มาเป็นผู้รับจ้างอิสระ
3.คนเจน Y ได้เข้าสู่ตลาดแรงงานกันแล้ว
กำลังมีคนเจนเนอเรชั่นใหม่คือ เจน Z อายุช่วง 21 ปีลงมา ที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งคนเจน Z เกิดและเติบโตมากับเทคโนโลยี ที่มีความรวดเร็วฉับไว และมีโทรศัพท์มือถือทุกครอบครัว แถมยังเป็นกลุ่มผู้ใช้โซเชียล มีเดียร์ ที่เป็นกลุ่มใหญ่มาก ซึ่งคนเจน Z ต้องการความสำเร็จเร็วมากกว่าคนเจน Y และหากคนเจน Y คือคนรุ่นใหม่ ที่นิยมลาออกจากงานประ จำเพื่อมาเป็นฟรีแลนซ์ ส่วนคนเจน Z ที่เป็นคนรุ่นใหม่กว่าก็ไม่นิยมการเข้ามาเริ่มทำงานประจำเลยด้วย แต่จะมุ่งตรงไปที่การเป็นฟรีแลนซ์ และรับจ้างทำงานเป็นชิ้นไปเลย แต่ก็เกิดคำถามว่า จำนวนงานจะเพียงพอเลี้ยงตัวเองได้หรือ ?
ในเมื่อประสบการณ์และอายุงานยังน้อยมาก แต่กระนั้นคอนเน็คชั่นในวงการก็ยังเพิ่งเริ่มต้นอาชีพฟรีแลนซ์ และจะพอเลี้ยงตัวเองได้อย่างไร ??? ทำให้กลายเป็นที่มาของการรับทำงานไม่ประจำแบบจ๊อบ คือทำเสร็จแล้วจบ แต่มีหลาย ๆ ชิ้นงานคือรับงานเป็นจ๊อบหลาย ๆ จ๊อบ ที่มีความแตกต่างจากฟรีแลนซ์ที่ทำงานอย่างเดียวเป็นแนวเชี่ยวชาญ
4.งานในประเภท Gig Economy
รับงานเป็นจ๊อบหลาย ๆ จ๊อบ ก็คืองานที่เรียกว่า Gig Economy เป็นการรับงานหลาย Gig โดยมีทั้ง ขายของในไอจี นัดพบลูกค้ามาเช่าบ้าน ,รับติวฟิสิกส์กลุ่มนักเรียนทางออนไลน์ ,รับนักท่องเที่ยวต่างชาตินำเที่ยว ชิมอาหารย่านเยาวราช จึงเป็นที่มาของรายได้หลายทาง โดยงานทุกชิ้นมี ‘อินเทอร์เน็ต’ เป็นเครื่องมือสำคัญ ซึ่งเรียกว่าเทรนด์นี้กำลังมาและจะทวีความสำคัญต่อคนรุ่นใหม่อย่างมาก
5.ปัจจัยอะไรที่ทำให้คนรุ่นเจน Y และ Z ทำแบบนี้ได้ ?
การเกิด Gig Economy มีปัจจัยสำคัญอย่างมากคือ อินเทอร์เน็ต ด้วยโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 3G 4G รวมทั้งเนตบ้าน ทำให้คนทำงานอยู่ที่ไหนก็ได้ เชื่อมต่อกับโลกได้ทุกที่ ทุกเวลา และยังมีแอพพลิเคชั่น ซึ่งพัฒนาการของโลกแอพ ไปไกลมาก โดยเฉพาะโลกโซเชียลมีเดียที่ใช้กันทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter , Instagram ,LINE และ WhatsApp ซึ่งกำลังมีแอพยุคใหม่ ที่เอื้อให้คนทำงานได้มากขึ้นอย่างไม่ว่าจะเป็น Grab TAXI, Airbnb, และ UBER
คนรุ่นใหม่ ได้กลายเป็นผู้นำในโลกยุค 10 ปีข้างหน้าที่กำลังจะถูกขับเคลื่อนโดยคนเจน Y และ Z ซึ่งเป็นคนที่เติบโตมากับเทคโนโลยี และความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร เป็นคนที่พร้อมรับอะไรใหม่ ๆ อย่างเต็มที่
สิ่งที่ผลักดันคนเจน Y และ Z ให้หันมาทำ งานฟรีแลนซ์แบบไม่ประจำ ที่ทำหลายจ๊อบ มากขึ้น คือมุมมองต่อความมั่นคงในงานที่ไม่เหมือนเดิม พวกเขาสงสัย ว่าเงินเดือน 15,000-18,000 บาท จะสร้างความมั่นคงในชีวิตได้อย่างไร และการไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งบริหาร ใช้เวลาเป็น 10 ปีขึ้นไป มองว่านั่นเป็นความเสี่ยงมหาศาล และอัตราการขึ้นเงินเดือน 3-5% จะสร้างความมั่นคงในชีวิตได้อย่างไร ? ทำให้ Gig Economy เป็นโอกาสและความท้าทาย เป็นทางเลือกที่คนรุ่นใหม่ต้องการ ,ตอบโจทย์ความเป็นผู้ประกอบการ ,บริหารจัดการเวลาของตัวเองได้,ตอบโจทย์ความท้าทายในชีวิตทำงาน
ขอบคุณข้อมูลจาก http://pantip.com/topic/35066082