หากกล่าวถึงหนี้สิน คงเป็นสิ่งที่หลายคนอาจคุ้นเคย เนื่องจากในปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยที่มีมากขึ้น ทำให้หลายคนมีเงินไม่พอใช้และต้องไปหยิบยืมหรือกู้หนี้ยืมสินจากแหล่งเงินทุกต่าง ๆ แน่นอนว่าสาเหตุของการเป็นหนี้อาจเหมือนหรือแตกต่างกัน เช่น เป็นหนี้เพราะต้องใช้เงินเป็นค่ารักษาพยาบาล, เป็นหนี้เพราะไปค้ำประกันให้กับผู้อื่น, เป็นหนี้เพราะเงินไม่พอใช้จึงต้องหยิบยืมผู้อื่น, เป็นหนี้เพราะต้องการนำเงินมาลงทุนต่าง ๆ เป็นต้น ไม่ว่าคุณจะมีสาเหตุการเป็นหนี้จากอะไร สิ่งที่คุณต้องทำหลังจากการเป็นหนี้คือหาเงินมาใช้หนี้นั่นเอง
ดังเช่นหนี้ประเภทหนึ่งที่หลายคนต้องเป็นลูกหนี้ตั้งแต่ที่ยังเรียนอยู่ โดยเป็นเงินที่คอยช่วยเหลือผู้ที่มีเงินไม่พอในการใช้จ่ายค่าเล่าเรียนต่าง ๆ คุณสามารถหยิบยืมเงินตรงส่วนนี้มาใช้ได้ก่อน เมื่อคุณทำงาน คุณจึงทำการชำระหนี้ได้ตามกำหนดหรือจะชำระก่อนก็สามารถทำได้ โดยการชำระหนี้จะมีกำหนดการที่แน่นอน ทั้งวันเวลาและจำนวนเงิน นั่นคือ การกู้ยืมเงิน กยศ. นั่นเอง หลังจากที่คุณทำงานหรือมีความต้องการที่จะใช้หนี้ กยศ. คุณจึงต้องมองหาแผนการใช้จ่ายหนี้เพื่อปลดหนี้ตามกำหนด สำหรับบทความนี้ จึงต้องการแนะนำการ วางแผนจ่ายหนี้ กยศ. อย่างง่ายที่คุณก็ทำได้ ดังต่อไปนี้
หนี้ กยศ. หรือกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา คือ กองทุนที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ต้องการเงินทุนสำหรับการเล่าเรียนได้กู้ยืม โดยดอกเบี้ยจะมีอัตราที่ต่ำ ผู้กู้สามารถยื่นคำขอกู้ยืมเงินได้ตามความต้องการ หากผ่านการอนุมัติก็จะสามารถกู้ยืมเงิน กยศ. ในการเล่าเรียนได้ โดยแต่ละเทอมผู้กู้ต้องแจ้งความจำนงในการกู้ยืมเงินในเทอมต่อไปอีกด้วย
ก่อนที่จะแนะนำการวางแผนการจ่ายหนี้ กยศ. คุณต้องรู้จักขั้นตอนการจ่ายหนี้เสียก่อน โดยทั่วไปจะมีข้อกำหนดในการจ่ายหนี้คือ 2 ปีหลังจากจบการศึกษา ผู้กู้สามารถเริ่มจ่ายหนี้หรือชำระหนี้ได้ในปีที่ 3 โดยมีอัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี หากคุณยังไม่มีงานทำหรือไม่มีรายได้ที่พอจะจ่ายหนี้ได้ คุณสามารถทำการขอผ่อนผันหนี้ได้ เมื่อมีรายได้มากพอคุณสามารถจ่ายหนี้ กยศ. ได้ภายในระยะเวลาประมาณ 15 ปี ซึ่งคุณต้องรายงานสถานะรายได้ต่อกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาในเดือนมีนาคมของทุกปี ทั้งนี้ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเกิดปัญหาผู้กู้ที่ไม่ยอมจ่ายหนี้ อาจเกิดจากการบริหารเงินหรือวางแผนที่ไม่เป็นระบบ หรือการขาดวินัยในการใช้เงินจึงทำให้ไม่มีเงินมากพอที่จะใช้หนี้ได้นั่นเองดังเช่นวิธีการง่าย ๆ ต่อไปนี้
1.การชำระหนี้ กยศ. แบบรายเดือน
การชำระหนี้ กยศ. ที่นิยมทำกันทั่วไปคือการชำระหนี้แบบรายเดือน เพราะคุณสามารถแบ่งเงินจากเงินเดือนหรือรายได้ในแต่ละเดือนเพื่อมาชำระหนี้ได้ ต่างจากการชำระแบบรายปีที่คุณต้องใช้เงินก้อนใหญ่ในการจ่าย แต่ข้อเสียคือคุณต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจ่ายหนี้ทุกเดือนนั่นเอง โดยการชำระหนี้ กยศ. แบบรายเดือนนี้ คุณต้องทราบก่อนว่าแต่ละเดือน คุณต้องชำระหนี้เป็นเงินเท่าไหร่ จากนั้นจึงทำการวางแผนการใช้เงิน โดยตัวอย่างการวางแผนจ่ายหนี้มีดังต่อไปนี้
- แยกเงินส่วนที่ต้องจ่ายหนี้ กยศ. แต่ละเดือน ออกมาจากรายได้ประจำ เชื่อว่าหลายคนคงทราบดีว่าในแต่ละเดือนคุณต้องจ่ายหนี้เท่าไหร่ ดังนั้นเมื่อคุณได้รับเงินเดือนมา คุณควรแยกรายจ่ายส่วนนี้มาฝากไว้กับธนาคารหรือเก็บไว้กับตัวเพื่อป้องกันการนำเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายในส่วนอื่น ๆ
- สร้างวินัยในการเก็บเงินและนำเงินเก็บมาใช้หนี้ กยศ. ในวิธีการแรกคือการแยกเงินออกมาก่อน แต่วิธีการนี้คือการเก็บเงินในแต่ละวัน เช่น กำหนดว่าจะเก็บเงินให้ได้วันละ 20 บาท เป็นต้น จากนั้นจึงเก็บเงินจำนวนดังกล่าวทุกวัน โดยผู้ที่ใช้วิธีการนี้ต้องมีวินัยและความตั้งใจจริงในการเก็บเงินเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นเมื่อถึงปลายเดือนคุณก็สามารถนำเงินดังกล่าวมาใช้ชำระหนี้ได้
2.การชำระหนี้ กยศ. แบบรายปี
การชำระหนี้ กยศ. แบบรายปี ข้อดีคือคุณจะไม่เสียค่าธรรมเนียมรายเดือนแต่ข้อเสียคือคุณต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ในแต่ละปี ซึ่งบางคนที่มีการวางแผนการจ่ายหนี้ที่ไม่ดีพออาจไม่มีเงินทุนสำหรับชำระหนี้ก้อนนี้นั่นเอง โดยการวางแผนชำระเงินสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
- เก็บเงินให้มากกว่าเงินที่ต้องจ่าย คุณอาจคำนวณว่าหนี้ที่ต้องจ่ายในแต่ละปีมีจำนวนเท่าไหร่และแบ่งว่าแต่ละเดือนคุณจะเก็บเงินเท่าไหร่ โดยคุณอาจเก็บเงินให้มากกว่าจำนวนเงินที่ต้องใช้หนี้ เช่น คุณต้องเก็บเงินให้ได้เดือนละ 200 บาท เพื่อชำระหนี้ในปีนั้นๆ ในความจริงคุณอาจเก็บเงินประมาณ 500 บาทต่อเดือน เป็นต้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่คุณอาจจะไม่มีเงินจ่ายหนี้ในอนาคต คุณก็สามารถนำเงินส่วนที่คุณเก็บเกินกว่าที่ต้องจ่ายมาชำระหนี้ได้