สำหรับเหล่านักลงทุนสายเล่นหุ้น แน่นอนว่าในแต่ละวัน หุ้นก็จะมีการเคลื่อนไหวในลักษณะที่แตกต่างออกไปในแต่ละวัน บางวันก็มีการเพิ่มขึ้นสูงบ้าง บางวันก็มีการลดต่ำลงมาบ้าง และยิ่งช่วงไหนที่เกิดความผันผวนในตลาด เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และปัญหาต่างๆอีกมากมายที่กระทบกับเหล่านักลงทุน พวกเขาเหล่านั้นก็คงจะใจหายไม่น้อยและก็เตรียมแผนอย่างดีในการรอบรับความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเอง โดยแผนที่จะรองรับความสูญเสียนี้จะเป็นอย่างไร จะรองรับได้ดีหรือรองรับได้น้อย ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของนักลงทุนเอง ยิ่งมีประสบการณ์หรือยิ่งศึกษามาก ก็ยิ่งรองรับได้มาก ลดความสูญเสียได้มากนะ แต่ถ้าหากที่ใครที่มองข้ามเรื่องเหล่านี้ออกไป แน่นอนว่าก็ไม่ใช่เรื่องดีสักเท่าไหร่ ยิ่งในช่วงนี้ที่เศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศกำลังมีปัญหา เกิดความผันผวนด้วยแล้ว การเลือกที่จะหาแผนดีๆสักแผนเพื่อที่จะรองรับความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เป็นเรื่องที่ดีอย่างมากเลยล่ะ
ซึ่งในปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตที่ช้าอย่างมากเลยล่ะเมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาอื่นๆ โดยในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเพียง 3% เท่านั้น เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคนทั่วไปมักจะให้ความสำคัญกับสินค้าที่สามารถหาได้และสั่งซื้อได้จากอินเทอร์เน็ต โลกโซเชียลทั้งหมด ยิ่งในปัจจุบันนี้ที่เราสามารถออนไลน์ได้สะดวกสบาย เช็คเฟสหรือซื้อสินค้า จ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์เป็นเรื่องที่มีความสะดวกอย่างมากด้วยแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยล่ะที่กระทบกับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ก็มีผลกระทบกับหุ้นในบางบริษัทอย่างมากเลยล่ะ ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจจากต่างประเทศ ก็อาจจะทำให้หุ้นบางตัวนั้นต้องเกิดการทิ้งดิ่งตัวเองลงมา ส่งผลเสียกับผู้ถือหุ้นอย่างมากเลยล่ะ แล้วควรทำอย่างไรล่ะ
เทคนิคที่ 1 Cut Loss
การนั่งมองดูหุ้นของตัวเองทิ้งดิ่งลงมาอย่างต่อเนื่องในขณะที่หุ้นตัวอื่นกลับทะยานเหินสูงฟ้าสวนทางกับทิศทางหุ้นของเรา แน่นอนว่ามันเป็นภาพที่บาดตาไม่น้อยเลยล่ะ แน่นอนว่าถ้าหากว่าเราอยู่ในสถานการณ์นั้น เราก็คงจะเกิดความรู้สึกอยากจะลงทุนหุ้นตัวอื่นอย่างมากเลยล่ะ และยิ่งหุ้นตัวที่เราเคยลงทุนไว้นั้นมีการทิ้งดิ่งลงมาเรื่อยๆด้วยแล้ว เราก็คงอยากจะขายทิ้งเสียให้รู้แล้วรู้รอด เพื่อที่จะเอาเงินได้ซื้อหุ้นตัวใหม่
ซึ่งเทคนิค Cut Loss ก็เป็นการขายหุ้นทั้งหมดทิ้งเพื่อที่จะซื้อหุ้นตัวใหม่ โดยมีจุดประสงค์หลักๆก็คือจำกัดการขาดทุน นักลงทุนบางรายก็วางแผนไว้ว่าเมื่อหุ้นที่ซื้อมา มีการลดราคาลงมาต่ำกว่า 20% ของราคาที่ซื้อเมื่อไหร่ จะทำการ Cut Loss ทันทีเพื่อลดการสูญเสียที่เกิดขึ้น
เทคนิคที่ 2 ซื้อหุ้นเพิ่ม เพื่อลดราคาต้นทุน
วิธีนี้เป็นวิธีที่ต้องดูแนวโน้มราคาหุ้นเพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งเราจะต้องมั่นใจว่าในอนาคต ราคาของหุ้นตัวนี้จะต้องมีการปรับเพิ่มขึ้นสูงเท่านั้น โดยมีตัวอย่างง่ายๆดังนี้
– สมมุติว่าเรามีหุ้น N ทั้งหมด 100 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท เป็นเงินทุนทั้งหมด 1,000 บาท
– อยู่มาวันหนึ่ง หุ้น N จากราคา 10 บาท ก็ตกลงมาเหลือ 5 บาท ทำให้พอร์ตหุ้นมีมูลค่า 5 x 100 = 500 บาท โดยขาดทุน 500 บาท เรียกได้ว่าขาดทุน 50% เลยทีเดียว
– แต่ด้วยวิสัยทัศน์แล้วความมั่นใจว่าหุ้น N จะไม่ลดต่ำลงกว่านี้ จึงทำการซื้อเพิ่มอีก 100 หุ้น เป็นเงินทุนเพิ่มขึ้นมาอีก 500 บาท และเมื่อรวมในพอร์ตหุ้นแล้ว เราจะมีทั้งหมด 200 หุ้น เป็นเงินทุน 1,000 + 500 = 1,500 บาท
– และเมื่อหุ้น N ได้มีการขยับราคาขึ้นมาเป็น 7 บาท จึงทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 7 x 200 = 1400 บาท และเมื่อหักออกจากต้นทุนทั้งหมดแล้ว จะเห็นได้ว่าเราขาดทุนเพียง 100 บาท โดยคิดเป็นประมาณ 6% จากราคาทุนทั้งหมดเท่านั้นที่ขาดทุน
**โดยการคิดคำนวณครั้งนี้ไม่ได้รวมค่าธรรมเนียมในการซื้อขายนะ**
จะเห็นได้ว่าเป็นการลดความสูญเสียได้อย่างมากเลยล่ะ แต่ก็ต้องอาศัยความชำนาญไม่น้อยเลย
เทคนิคที่ 3 Short Against Port
เป็นขายหุ้นบางส่วนออกแล้วนำเงินกลับไปซื้อหุ้นนั้นใหม่ในราคาที่ถูกกว่าเดิม โดยมีตัวอย่างง่ายๆดังนี้
– หุ้น A ราคาหุ้นละ 10 บาท โดยเรามีทั้งหมด 100 หุ้น เป็นเงินทุน 1,000 บาท
– หลังจากนั้นหุ้น A ก็ลดลงมาเหลือ 4 บาท ทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 4 x 100 = 400 บาท ขาดทุน 600 บาท
– เราจึงตัดสินใจขายออกไป 50 หุ้น เป็นเงิน 4 x 50 = 200 บาท ทำให้เราเหลือต้นทุนเพียง 1,000 – 200 = 800 บาท
– ต่อมาก็รอจังหวะที่หุ้น A มีราคาเหลือ 2 บาท จึงตัดสินใจนำเงิน 200 บาท ที่ขายออกไปในตอนแรก กลับเข้ามาซื้อหุ้นอีกครั้ง โดยจะได้หุ้นทั้งหมด 100 หุ้น ทีนี้เมื่อรวมกับของเก่าที่เหลือ 50 หุ้น ก็จะเป็นทั้งหมด 150 หุ้น ซึ่งในตอนนี้เมื่อรวมเงินต้นทุนทั้งหมด ก็จะเป็น 800 + 200 = 1,000 บาท
– เมื่อราคาหุ้น A เด้งกลับไปเป็น 8 บาท ทำให้พอร์ตของเรามีมูลค่าทั้งหมด 8 x 150 = 1,200 บาท และเมื่อเทียบกับการที่เราไม่ทำอะไรเลยกับหุ้นในตอนแรก แล้วนำมาขายในตอนนี้ เราจะได้เงิน 8 x 100 = 800 บาท เรียกได้ว่าได้กำไรถึง 200 บาทเลยทีเดียว
เทคนิคนี้ จำเป็นที่ต้องอาศัยการคาดการณ์ที่แม่นยำของราคาด้วยนะ
เพียงเท่านี้ เราก็สามารถรับมือกับกราฟหุ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างปลอดภัยแล้วนะ