การขอสินเชื่อจากธนาคารนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจมักจะใช้เป็นตัวเลือกแรกๆและเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมในการหาเงินทุนมาให้กับทางบริษัท โดยได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งการกู้ยืมสินเชื่อจากธนาคารนั้นยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถืออย่างหนึ่งของบริษัทอีกด้วย แม้ตัวธนาคารจะอนุมัติวงเงินการกู้ยืมในวงเงินที่จำกัดก็ตามและมีขั้นตอนของการพิจารณาที่ค่อนข้างพิถีพิถันอย่างเป็นที่สุด
ซึ่งการขอในแต่ละครั้งนั้นก็ใช้เวลาพิจารณาค่อนข้างนาน บางครั้งการที่บริษัทนั้นไม่ได้เตรียมความพร้อมของเอกสาร สิ่งต่างๆที่ธนาคารนั้นต้องการดู ก็จะทำให้เสียเวลาเปล่าได้เพราะคุณจะไม่ผ่านการพิจารณานั่นเองซึ่งเสียทั้งเวลา และอาจจะต้องทำการเดินเรื่องขออนุมัติใหม่ ดังนั้นวันนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลสำคัญในการขออนุมัติสินเชื่อของผู้ประกอบการธุรกิจมาฝากกัน
อ่านเพิ่มเติม : แนวทางการนำเสนอเงินกู้เพื่อสินเชื่อธุรกิจให้ผ่านการอนุมัติ
1.จำนวนเงินกู้คือตัวการสำคัญ
นี่คือสิ่งที่ทุกๆธนาคารนั้นจะใช้พิจารณาก่อนเป็นอันดับแรก จำนวนเงินที่ผู้ประกอบการขอยื่นคำร้องกู้กับทางธนาคารนั้นถือเป็นตัวชี้เป็นชี้ตายของการอนุมัติหรือไม่อนุมัติเลยทีเดียว ดังนั้น สิ่งที่จะทำให้คุณนั้นสามารถกู้เงินผ่านได้นั้น คือผู้ประกอบการจะต้องคำนวนวงเงินที่ขอมาเป็นอย่างดี ไม่มากไปและไม่น้อยไป อยู่ในจำนวนที่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจของตัวเองได้เป็นอย่างดี การขออนุมัติวงเงินที่มากเกินไปนั้น จะสามารถสร้างปัญหาทางการเงินในอนาคตของคุณได้ ถ้าคุณนั้นไม่สามารถจะจัดการกับเงินในอนาคตของคุณได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทางธนาคารจะพิจารณาความสามารถในการจ่ายคืนเงินจากจำนวนเงินกู้ ว่าคุณจะสามารถจ่ายได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากความสามารถในการจ่ายต่ำ คุณก็ต้งลดยอดกู้ลงหรืออาจไม่ผ่านการอนุมัติ
2.หลักประกันมีค่ามากพอหรือเปล่า ?
มูลค่าของหลักประกันสำคัญยังไง ? หลักประกันจะมีบทบาทในเรื่องของจำนวนวงเงินที่จะได้รับการอนุมัติจากธนาคาร เพราะเป็นหลักการของการวางหลักประกันก็เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น หากเกิดข้อผิดพลาดในการทำธุรกิจแล้วผู้กู้นั้น ไม่สามารถหรือไม่มีความสามารถพอที่จะสามารถชำระเงินกู้ไปตามระยะเวลาที่กำหนดได้นั่นเอง ทางธนาคารจะทำการยึดหลักประกันที่ทางผู้ประกอบการนั้นได้ยื่นไว้ เพื่อขายทอดตลาดนำมาชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้นมูลค่าของหลักประกันจึงเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากกับการได้มาซึ่งเงินกู้ ธนาคารจึงจะอนุมัติเงินกู้ตามมูลค่าของหลักประกันประมาณ 60-150 เท่าของมูลค่าหลักทรัพย์นั่นเอง การเข้าไปขอทำเรื่องกู้นั้นจึงต้องดูความเหมาะสมของหลักทรัพย์ที่เรานำไปค้ำประกันด้วยนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นบ้านหรือที่ดินเสียเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง เพราะมีมูลค่าสูง และให้ความมั่นคงกับทางธนาคารได้มากที่สุด
3. หนี้นี้ยาวนานแค่ไหน ?
ระยะเวลาในการชำระหนี้นั้น ถูกนำมาเป็นข้อพิจารณาร่วมในการที่ผู้ประกอบการขออนุมัติกู้ ซึ่งระยะเวลาที่ดีที่สุดของการชำระหนี้นั้นคือระยะเวลาที่ไม่เร็วหรือนานจนเกินไปโดยเปรียบเทียบจากวงเงินที่ขอกู้ ส่วนใหญ่แล้วที่นิยมกันจะเป็นการกู้เงินในระยะเวลา 5- 10 ปี ในการผ่อนชำระ ซึ่งทางผู้กู้นั้นสามารถตกลงกับทางธนาคารให้เป็นที่พอใจได้ถึงระยะเวลาในการชำระหนี้นั้นๆ โดยสามารถกำหนดระยะเวลาที่ต้องการทำสัญญาได้เอง แต่ต้องไม่เกินจากที่ทางธนาคารกำหนดไว้
4. ดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยก็คือกำไรในการปล่อยกู้ของธนาคารนั่นเอง ในแต่ละธนาคารนั้นจะมีการคิดดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน ไม่เหมือนกันแต่จะไม่เกินจากที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ทางผู้กู้จึงควรทำความเข้าใจของรายละเอียดเงื่อนไขสัญญาก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญาใดๆลงไป ซึ่งปัจจุบันนั้นธนาคารต่างๆต่างมีกลวิธีในการดึงดูดให้ผู้ประกอบการมากู้สินเชื่อเพิ่มที่หลากหลายขึ้น เช่นธนาคารใหญ่ๆจะมีดอกเบี้ยที่ถูก แต่มีการปล่อยกู้ยากกว่าธนาคารขนาดเล็ก ที่ดอกเบี้ยแพงแต่การปล่อยกู้นั้นง่ายกว่า
5. จำนวนเงินที่ต้องจ่ายต่อเดือน
อันนี้เป็นข้อตกลงระหว่างผู้กู้กับธนาคารนั่นเอง ส่วนใหญ่ธนาคารจะใช้ข้อมูลของจำนวนเงินที่ผู้ประกอบการนั้นจะต้องชำระคืนแต่ละงวดมาใช้พิจารณาเพื่อประกอบการอนุมัติเงินกู้ด้วย เพราะธนาคารจะต้องรวมเงินชำระเพื่อคิดเป็นเงินหมุนเวียนในธนาคาร ถ้าผู้กู้มีการตั้งจำนวนเงินในการผ่อนชำระที่ยื่นเสนอต่อทางธนาคารนั้นในจำนวนที่สูงเพียงพอจะเป็นที่น่าพอใจแล้ว ทางธนาคารก็จะสามารถพิจารณาการอนุมัติได้ง่ายขึ้น และดอกเบี้ยก็จะถูกลงด้วย แต่จำนวนเงินที่ชำระนั้นจะต้องสัมพันธ์พอดีกับการจำนวนเงินที่กู้ด้วย และสอดคล้องกับความสามารถในการผ่อนของผู้กู้เอง
6.รายได้จากธุรกิจ
มูลค่าของรายได้นั้น เป็นข้อสำคัญอย่างยิ่งที่ธนาคารให้ความสำคัญในการจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติเงินกู้ในกับผู้ประกอบการ ทางผู้ประกอบการนั้นต้องทำข้อมูลรายได้ที่ทางผู้ประกอบการเคยได้ต่อเดือนแล้วคาดว่าจะได้ในอนาคตส่งให้กับทางธนาคารนั้นได้ทำการพิจารณา ทางธนาคารก็จะคิดคำนวณว่าสิ่งที่ทางผู้ประกอบการให้มานั้น มูลค่าหรือรายได้ของผู้ประกอบการนั้นมีความเหมาะสมเพียงพอที่ผู้ประกอบการจะสามารถชำระค่างวดให้กับทางธนาคารได้หรือไม่นั่นเอง เพราะทางธนาคารก็ต้องพิจารณาในส่วนตรงนี้เพื่อป้องกันการเกิดหนี้เสียนั่นเอง
เมื่อรู้เคล็ดลับแล้วคราวนี้ ผู้ประกอบการ ก็สามารถรู้ข้อมูลที่ธนาคารต้องการจะนำมาประกอบการพิจารณาแล้ว สามารถไปยื่นขอสินเชื่อให้ได้อนุมัติอย่างรวดเร็ว
ขอบคุณข้อมูลจาก http://incquity.com/articles/money-talk/getting-your-bank-loan-approved