การวางแผนการเงินเพื่อนำเงินไปลงทุน เหมาะสมกับผู้ที่กำลังเริ่มการลงทุนในรูปแบบที่เป็นต้องการ “สิ่งสำคัญ” คุณควรเริ่มจากการวางแผนทางด้านการเงินให้มีความสอดคล้องกับการลงทุนในปีนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนหุ้น หรือ นักลงทุนกองทุนรวมแบบมนุษย์เงินเดือน ที่กำลังมองหาแหล่งการลงทุนที่คุ้มค่า และเหมาะสมกับฐานเงินเดือนของตนเอง การวางแผนการเงินก่อนการลงทุนจะทำให้คุณได้รู้ถึงปัญหา ความเสี่ยง และรู้จักการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
ดังนั้น ไม่ว่าคุณต้องการลงทุนในรูปแบบใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่คุณต้องทำอันดับแรกก็คือการวางแผนทางการเงิน คุณควรวางแผนตั้งแต่ต้นปี ทำตลอดทั้งปี และทำเป็นประจำทุกปี ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ อีกไม่น้อยเราเชื่อว่าคุณจะสามารถทำกำไรและได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าอย่างแน่นอน
อ่านเพิ่มเติม : แนะนำแนวทางการแบ่งเงินลงทุนตามวัย
แนวทางการลงทุน
- ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (เอกชน) หรือ กบข. (ราชการ) อย่างน้อย 5% ของรายได้ การลงทุนในแบบนี้ คุณต้องมีการศึกษาและไม่ความพลาด เพราะรูปแบบของการลงทุนคุณจะต้องลงทุนในทุกเดือน และนายจ้างก็จะจ่ายสมทบให้ในจำนวนที่เท่ากัน เมื่อถึงวัยเกษียณ คุณก็จะรับเงินทั้งหมด นอกจากนี้ การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคุณยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
- การลงทุนในกองทุน LTF 15% ของรายได้ เป็นการลงทุนระยะยาว ลงทุนได้สูงสุด 15% ของรายได้ หรือไม่เกิน 500,000 บาท และถือครองได้ 7 ปีปฏิทิน (ตั้งแต่ปี 59) การซื้อกองทุนนี้ก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน การลงทุน LTF ส่งผลดีต่อนักลงทุน และตลาดหุ้นไทยในระยะยาว เพราะเงินลงทุนอยู่นานขึ้น มีระยะเวลานานขึ้น และผลตอบแทนก็ยิ่งได้รับมากขึ้นเช่นกัน
- การลงทุนในกองทุน RMF 15% ของรายได้ เป็นการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเกษียณอายุ ซื้อลงทุนแล้วสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ลงทุนได้สูงสุด 15% ของรายได้ หรือไม่เกิน 500,000 บาท (เมื่อคำนวณรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) ถือครองได้ถึงอายุ 55 ปี และไม่ต่ำกว่า 5 ปี การลงทุนแบบนี้จึงเป็นกองทุนแบบกึ่งบังคับตัวเองของผู้ลงทุน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเกษียณอายุอย่างแท้จริง นอกจากนี้คุณยังสามารถเลือกลงทุนได้อย่างหลากหลายอีกด้วย มีทั้ง พันธบัตร, ตราสารหนี้, หุ้นไทย, หุ้นต่างประเทศ, อสังหาริมทรัพย์ และทองคำ ซึ่งคุณสามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้ เพื่อประโยชน์ที่จะได้รับสูงสุด
- การลงทุนในพอร์ทออมหุ้น 5 – 15 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ เป็นการแปลงเงินสด ให้คุณสามารถทยอยสะสมออกหุ้นพื้นฐานดีในทุก ๆ เดือน โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับตลาด ทำให้คุณมีต้นทุนที่หลากหลาย พอร์ทจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลา พร้อมกับเงินปันผลที่ได้เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาเช่นกัน หากคุณลงทุนข้อ 1 – 4 ครบทุกข้อ นั่นแปลว่าคุณเป็นผู้ออมและลงทุนได้ในระดับ 40 – 50 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทุกเดือน เงินออมจะอยู่ในรูปของกองทุนและหุ้น ซึ่งเป็นระดับการออมที่สูง คนไทยส่วนใหญ่ทำไม่ได้ แถมยังประมาทไม่ทำอีกด้วย จึงทำให้ไม่สามารถประสบความสำเร็จทางด้านการเงินได้นั่นเอง
- การลงทุนในหุ้น ด้วยตัวเอง โดยการนำเงินเก็บมาฝึกการลงทุนในหุ้นด้วยตัวเอง เลือกหุ้นพื้นฐานดี ที่อยู่ในอุตสาหกรรมขาขึ้น และมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Undervalue) เท่านั้น โดยเฉพาะราคาหุ้นพื้นฐานดีจำนวนมาก มีราคาต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในรอบหลายปี และหากประเทศไทยกลับมาเติบโตได้ดี หุ้นพื้นฐานดีเหล่านี้ จะกลับมาที่ระดับความสามารถเดิม การลงทุนหุ้นด้วยตนเอง มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน เนื่องจากคุณอาจจะยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการลงทุน เกี่ยวกับการเลือกหุ้น และการคำนวณผลตอบแทนที่อาจจะได้รับในรูปของกำไร หรืออาจทำให้คุณขาดทุนก็ได้ ดังนั้น การที่คุณจะลงทุนหุ้น จะต้องทำอย่างใจเย็น และรอบคอบ บริหารพอร์ทหุ้นให้ดี เพื่อสร้างทักษะการลงทุน หากคุณสามารถทำได้ดีในปีนี้ ในปีถัดไปคุณก็จะสามารถสร้างผลกำไรจากการลงทุนในหุ้นด้วยตัวของคุณเองก็ได้
ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง สำหรับผลตอบแทนที่คุณจะได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับการลงทุนในแบบต่าง ๆ ตามหลักของการวางแผนการลงทุน คุณจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการวางแผนการลงทุน ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีการวางแผนที่ดี ส่งผลให้ล้มเหลวได้
การวางแผนการลงทุนส่วนบุคคลประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
- การกำหนดเป้าหมายการลงทุน อย่างเช่น การแบ่งตามระยะเวลาการลงทุนเป็นเป้าหมายระยะสั้น เพื่อบริหารสภาพคล่อง เป้าหมายระยะกลางเพื่อเตรียมเงินซื้อบ้าน เป้าหมายระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุ คุณก็สามารถเลือกผลตอบแทนตามความต้องการได้เช่นกัน อย่างเช่น เพื่อเพิ่มมูลค่าของเงินทุน (อย่างการลงทุนในหุ้นสามัญ เพื่อเพิ่มมูคค่าสินทรัพย์) เพื่อสร้างรายได้ประจำ (อย่างเช่นการลงทุนในหุ้นสามัญเพื่อรับเงินปันผล การลงทุนในพันธบัตรเพื่อรับดอกเบี้ย) และเพื่อผลประโยชน์ทางภาษี (อย่างเช่น การลงทุนใน RMF และ LTF ประกันชีวิต กรมธรรม์บำนาญ)
- การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ลงทุน อย่างเช่น เป้าหมายในการลงทุน ช่วงอายุของผู้ลงทุน ข้อจำกัดหรือระดับการยอมรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน สถานะการเงินในปัจจุบัน สถานะพอร์ทการลงทุนในปัจจุบัน อัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากการลงทุน และจำนวนเงินที่ต้องการลงทุน เป็นต้น
- วิเคราะห์ ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน โดยการนำข้อมูลข้างต้นมาประมวลผล และนำมาจัดสรรให้มีความเหมาะสมกับฐานการเงินของคุณ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับเป้าหมายที่คุณวางไว้
- การจัดทำแผนธุรกิจ โดยการนำข้อมูลข้างต้นมาเขียนเรียบเรียง เป็นนโยบายการลงทุนในแบบของคุณ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการลงทุน และเพื่อให้แผนงานธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- การนำแผนการลงทุนไปปฏิบัติ การวางแผนการลงทุนเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น หากคุณต้องการเป็นไปอย่างที่คุณต้องการ คุณควรปฏิบัติตามแผนที่วางเอาไว้อย่างเคร่งครัด มีวินัย และทำด้วยความตั้งใจ เพื่อประสบผลสำเร็จตามแผน หากผู้ที่วางแผนการลงทุนไว้อย่างดีแต่กลับไม่ลงมือทำ ผู้นั้นจะประสบความสำเร็จดั่งเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างไร ดังนั้นการลงมือปฏิบัติไม่ว่าจะดีหรือไม่ ก็ถือว่าคุณได้ลองลงมือทำแล้ว
- ทบทวนและปรับปรุงแผนการลงทุนอยู่เสมอ ไม่ว่าคุณจะลงทุนในรูปแบบใด คุณจำเป็นต้องทบทวน และปรับปรุงเพื่อพัฒนาให้การลงทุนของคุณดีขึ้น และให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น