เพราะปัญหาหนี้นอกระบบที่ประชาชนคนรายได้น้อยต้องพึ่งพา เพื่อนำเงินที่กู้มาใช้จ่ายภายในครอบครัว กำลังลุกลามและรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยแสนหนัก หรือวิธีการทวงหนี้ที่แสนโหด ทำเอาผู้กู้ร้องโอดครวญอย่างไม่มีความสุข วันนี้รัฐบาลได้มีมติอนุมัติโครงการ “สินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน” วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถกู้ได้คนละไม่เกิน 5 หมื่นบาทแล้ว
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ ได้ออกมาเปิดเผยว่า เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเกษตรกรที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนภายในครอบครัว ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน วงเงินรวม 1 หมื่นล้านบาทแล้ว โดยแบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อของธนาคารออมสิน 5 พันล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อีก 5 พันล้านบาท โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
รัฐบาลหวังว่า โครงการนี้จะช่วยให้ประชาชนผุ้มีรายได้น้อยและเกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 200,000 ราย สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้มากขึ้น มีระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องไปใช้บริการสินเชื่อนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง และในบางกรณีก็มีการติดตามทวงหนี้ที่รุนแรง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมตามมา
แม้ว่าโครงการนี้จะมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้สูง แต่รัฐบาลก็เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้กู้ โดยพร้อมชดเฉยค่าเสียหายหากเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPLs โดยที่ 25% แรก จะชดเชย 100% ตั้งแต่ 25-37.5% จะชดเชย 70% และมากกว่า 37.5 แต่ไม่เกิน 50% รัฐจะชดเชยให้ครึ่งหนึ่ง โดยจะรับความเสียหายไม่เกินวงเงิน 4,000 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินชดเชยให้กับธนาคารออมสินไม่เกิน 2,000 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. ไม่เกิน 2,000 ล้านบาท
โครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน นี้ หวังเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้การดำเนินชีวิตของผู้มีรายได้น้อยดีขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมแบบนอกระบบ สุดท้ายก็หวังให้ผู้กู้ใช้เงินจากสินเชื่อนี้อย่างคุ้มค่า และมีความรับผิดชอบ เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมีความมั่งคง และขับเคลื่อนไปได้อย่างคล่องตัว
ที่มา