รู้หรือไม่ คดีติดหนี้บัตรเครดิต อายุความ ขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
คดีความหนี้บัตรเครดิตเป็นหนึ่งในปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่หลายคนต้องพบเจอ ส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดจากปัญหาจัดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไม่ได้ กลายเป็นหนี้ท่วม จนถึงขั้นเกิดการดำเนินคดีทางกฎหมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเครดิตบูโร และการได้รับการอนุมัติสินเชื่อต่าง ๆ ตามมาในภายหลัง
ดังนั้นการจัดการกับหนี้บัตรเครดิตเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้บัตรเครดิตควรให้ความสำคัญกับเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดหนี้บัตรเครดิตในอนาคต แต่ถ้าใครกำลังเผชิญปัญหานี้ วันนี้เราก็จะสรุปทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องให้ทราบกันว่า ติดหนี้บัตรเครดิต อายุความ ขั้นตอน เป็นอย่างไร เราทำอะไรได้บ้าง ไปดูกันเลย
4 สาเหตุที่ทำให้เกิดหนี้บัตรเครดิต
- จ่ายคืนไม่ตรงเวลา เมื่อเกินกำหนดจึงมีค่าปรับกับดอกเบี้ยเข้ามาเรื่อยจึงเกิดเป็นหนี้ตามมานั่นเอง
- จ่ายคืนแต่จ่ายแค่เรทขั้นต่ำ การกระทำเช่นนี้จะยิ่งทำให้เวลาการชำระหนี้ยืดยาวออกไปอีก ทำให้เกิดดอกเบี้ยที่พอกพูนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
- ติดนิสัยรูดก่อนค่อยผ่อนตาม การผ่อนสินค้าที่รูดด้วยบัตรเครดิตหากนำไปรูดสินค้าหลายตัวพร้อมกัน แน่นอนว่าหายนะทางการเงินที่เรียกว่าหนี้ก็จะเกิดขึ้นกับคุณไม่ยาก เพราะฉะนั้นก่อนจะรูดซื้ออะไรควรคิดถึงความสามารถที่จะใช้คืน และดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตให้ดี ๆ
- ใช้บัตรโดยไม่มีวินัยทางการเงิน หรือไม่กำหนดขอบเขต จนทำให้วงเงินขยายเพิ่มมากขึ้น และอาจนำไปสู่ภาวะที่เรียกได้ว่าจ่ายคืนไม่ไหว ดังนั้นจึงควรที่จะวางแผนก่อนใช้บัตรเครดิตเสมอ
ติดหนี้บัตรเครดิต นานแค่ไหนถึงโดนฟ้อง
อันดับแรกต้องทราบก่อนว่าความหมายของอายุความ คือระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้มาฟ้องศาล ถ้าหนี้ขาดอายุความแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/10 ลูกหนี้มีสิทธิ์ในการปฏิเสธไม่จ่ายหนี้ได้โดยแม้เป็นสิทธิ์ตามกฎหมายแต่จะมีเงื่อนไขสำคัญในมาตรา 193/29 ถ้าลูกหนี้ไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ห้ามศาลยกอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้อง
หมายความว่าแม้หนี้จะขาดอายุความแล้วเจ้าหนี้ยังคงมีอำนาจฟ้องลูกหนี้อยู่เช่นเดิม ดังนั้นหากคุณ หรือคนที่รู้จักเป็นหนี้บัตรเครดิตมาเป็นระยะเวลานานก็อย่าพึ่งคิดว่าจะไม่โดนฟ้อง และเมื่อถูกฟ้องจุดสำคัญลูกหนี้จะต้องยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจึงจะนำเหตุเรื่องอายุความมาพิพากษายกฟ้องให้ได้
สำหรับคำถามเกี่ยวกับอายุความของหนี้บัตรเครดิต มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34 กำหนดว่าหนี้บัตรเครดิตมีอายุความเพียง 2 ปีเท่านั้น แต่การนับวันเริ่มต้นของอายุความสามารถแบ่งย่อยได้หลายกรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 ชำระหนี้บางส่วนก่อนจะขาดอายุความ ในกรณีนี้ เรียกว่าการรับสภาพหนี้ ซึ่งจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณไม่ได้ชำระหนี้มาเป็นเวลา 1 ปี แต่ชำระบางส่วนก่อนที่จะขาดอายุความ ระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมาจะไม่ถูกนับ แต่ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ หากต้องการทราบว่าเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่กี่ปีแล้ว สามารถนับอายุความบัตรเครดิตได้โดยดูวันที่ชำระครั้งสุดท้าย แล้วเริ่มนับวันครบกำหนดอายุความ
กรณีที่ 2 เมื่อมีการผิดนัดการชำระหนี้ และไม่มีการกลับมาชำระเงินเป็นเวลานาน ศาลฎีกาจะพิจารณาดูวันที่ผิดนัดตามหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ เริ่มนับอายุความเป็นเวลา 2 ปี จากวันผิดนัดชำระ หากเจ้าหนี้ยังไม่รับชำระหนี้ และฟ้องคดีภายในวันที่ครบกำหนดนี้ หากเกินวันที่ครบกำหนด คดีจะถือว่าขาดอายุความ แต่การฟ้องคดียังคงเป็นไปได้ตามกฎหมาย
กรณีที่ 3 ลูกหนี้มีการชำระหนี้บางส่วนหลังขาดอายุความไปแล้ว ไม่ว่าเราจะทราบ หรือไม่ทราบว่าขาดอายุความ แต่เมื่อใช้หนี้ไปแล้วลูกหนี้จะไม่มีสิทธิ์ขอเงินนั้นคืน เพราะตามคดีความแล้วนี่ไม่ได้ระงับ ดังนั้น ถ้าจ่ายไปแล้ว กฎหมายบัญญัติชัดเจนว่าไม่ให้ขอคืน ซึ่งถ้าจะมีการสู้คดีความก็จะมีทั้งในกรณีที่มีการเริ่มนับอายุความใหม่ และให้นับอายุความตั้งแต่ชำระครั้งสุดท้าย เสมือนไม่เคยขาดอายุความ
ติดหนี้บัตรเครดิต อายุความ ขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ
หลังจากทราบกันแล้วว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต มีอายุควาเท่าไร ก็มาดูกันว่าระหว่างนี้เราสามารถดำเนินการอะไรได้บ้าง เมื่อถูกฟ้องหนี้บัตรเครดิต และมีหมายศาลส่งมายังที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ลูกหนี้จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
- อ่านรายละเอียดในหมายศาล รวมถึงหมายเลขคดี ศาลที่ฟ้อง และตรวจสอบว่าได้ก่อหนี้ตามที่ระบุไว้หรือไม่ พร้อมตรวจสอบว่ามีหนี้สินรายการใดที่ไม่ตรงกับสัญญาหรือไม่
- ตรวจสอบว่าเจ้าหนี้ได้ฟ้องภายในระยะเวลา หรืออายุความที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
- พิจารณาว่าจำเป็นต้องมีทนายหรือไม่
- หากมีข้อขัดแย้งเพื่อปฏิเสธไม่ชำระหนี้บางส่วนหรือทั้งหมด ลูกหนี้จะต้องเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อยื่นให้ศาลพิจารณา
เป็นหนี้บัตรเครดิตเท่าไหร่ถึงโดนฟ้อง
ไม่ว่าหนี้บัตรเครดิตจะมีอายุความกี่ปีก็ตาม ตามบัญญัติกฎหมายระบุเอาไว้ชัดเจนว่าไม่ว่ามูลหนี้จะมีมูลค่าจำนวนเท่าใดก็ตาม หากมีการผิดนัดชำระหนี้เจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ฟ้องร้องได้ แต่ถ้ามูลค่าหนี้เกินจำนวน 2,000 บาท การฟ้องร้องจะทำได้ก็เมื่อมีหลักฐานคือสัญญาหนังสือเงินกู้ เพราะหากไม่มีก็จะไม่สามารถฟ้องได้
การถูกฟ้องหนี้บัตรเครดิตถือว่าเป็นคดีแพ่ง ไม่ได้เป็นคดีอาญาทำให้ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกจับหรือคุมขัง แต่ถ้าเกิดการทุจริตหรือปลอมแปลงเอกสารทางการเงินก็อาจถูกดำเนินคดีอาญาได้
แม้ว่าลูกหนี้จะถูกฟ้องหนี้บัตรเครดิตแล้วก็ยังมีโอกาสเจรจา หรือประนีประนอมกันได้ในศาล แต่หากไม่มาตามนัด หรือไม่สามารถตกลงกันได้ หรือลูกหนี้ผิดสัญญา ศาลก็สามารถสั่งบังคับคดีได้ และเข้าสู่กระบวนการสืบทรัพย์ เพื่อยึดทรัพย์ และอายัดทรัพย์ของลูกหนี้ต่อไป
หากมีการถูกฟ้องหนี้บัตรเครดิต ทางที่ดีควรเตรียมตัวก่อนไปเจรจาในศาล และควรพยายามเจรจากับเจ้าหนี้ให้ได้เพื่อขอประนีประนอม และหาทางออกเพื่อชดใช้หนี้จะดีที่สุด