ปี 2023 กับปัญหาเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่
ผ่านเข้าสู่ช่วงกลางปี 2023 กันแล้ว ประเทศไทยยังคงประสบกับปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่มีวี่แววว่าจะกลับมาดีขึ้นได้ เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ ประชากรชาวไทยยังคงต้องแบกรับปัญหาทำให้รายจ่ายมีมากกว่ารายรับ ค่าครองชีพพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประชาชนมีรายได้เท่าเดิม หรือน้อยกว่าเดิม จึงขาดรายได้ในการดำรงชีวิต ซึ่งในปี 2023 กับปัญหาเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ เราจะอธิบาย พร้อมสรุปประเด็นที่ควรรู้ด้วยกันดังนี้
เงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร?
ปี 2023 กับปัญหาเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ ซึ่งเป็นภาวะที่ระดับราคาของสินค้า และบริการโดยทั่วไปในประเทศสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ในเชิงของมูลค่าของเงินกลับต่ำลงไปนั้นเอง คิดง่าย ๆ เงิน 100 บาทในวันนี้ มูลค่าน้อยลงกว่าในปีที่แล้วนั่นเอง เงินเฟ้อก็ไม่ได้แย่เสมอไป เพราะว่าตามทฤษฎีแล้ว เงินเฟ้อจะทำให้ผู้คนรู้สึกว่ามีเงินเพิ่มขึ้น คนซื้อก็จะใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งคนขายก็อยากจะเพิ่มการผลิตเพื่อนำไปขายมากขึ้น เศรษฐกิจก็เติบโตด้วยนั่นเอง ซึ่งโดยปกติแล้ว อัตราเงินเฟ้อจะถูกควบคุมโดยธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทยผ่านนโยบายการเงินเพื่อไม่ให้เพิ่มขึ้น และเพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนมากจนเกินไป ไม่งั้นจะเกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง
สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อ
– ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (Cost – Push Inflation)
ผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จึงส่งผลให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้า และบริการให้สูงขึ้นนั้นเอง ยกตัวอย่าง ร้านอาหารเมื่อก่อนเรากินที่ราคา 30 – 40 บาท แต่ผลของเงินเฟ้อทำให้วัตถุดิบ เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องปรุง เพิ่มราคา อาหารในแต่ละเมนูต้องขยับราคาเพิ่มขึ้นเพื่อให้พอดีกับราคาต้นทุนนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันอาจอยู่ที่ 60 บาทขึ้นไป
– ประชาชนต้องการซื้อสินค้า และบริการเพิ่มขึ้น
โดยที่ประกอบกับสินค้า และบริการนั้น ๆ ในตลาดมีไม่เพียงพอ จึงทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้า และบริการให้สูงขึ้นไปตาม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น รถไฟฟ้า EV ตอนนี้มีคนต้องการมากขึ้น แต่ของกลับมีขายน้อย ทำให้โชว์รูมรถต้องขยับราคาขายขึ้นไปแพงขึ้น ใครที่อยากได้ก็ต้องจ่ายแพงขึ้นเพื่อให้ได้สินค้ามานั่นเอง
ผลกระทบจากเงินเฟ้อ
– ปี 2023 กับปัญหาเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ ทำให้รายจ่าย หรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อที่ลดน้อยลง มีความสามารถในการจับจ่ายซื้อสินค้า และบริการได้น้อยลง ซึ่งนั่นอาจจะนำไปสู่การที่รายได้ที่มี หรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพนั้นเอง และเมื่ออัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะมีผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า “อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง” จะมีค่าลดลงไปด้วย เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง
– เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุน และการจ้างงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้น ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่น ๆ
– ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้เท่าที่ควร การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทำให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนาน ๆ ประชาชนก็จะหันไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่าง ๆ (asset price bubble) และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้ เช่น หนี้ครัวเรือน
– ปี 2023 กับปัญหาเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้นทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า “อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง” จะมีค่าลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง