กู้บ้านผ่าน ≠ ผ่อนบ้านไหว รู้ไว้! ช่วยให้ไม่วางแผนการเงินพลาด
การมีบ้านถือเป็นความฝันของใครหลายคน แต่รู้หรือไม่ว่าการกู้เงินซื้อบ้านโดยไม่ได้วางแผนทางการเงินมาก่อน อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางการเงิน และทำให้เราผ่อนบ้านไม่ไหวได้ สำหรับใครที่อยากทำความเข้าใจว่า กู้บ้านผ่าน ≠ ผ่อนบ้านไหว ก่อนที่คิดจะกู้เงินซื้อบ้านสำหรับครอบครัว หรือใช้เป็นเรือนหอ ลองวางแผนทางการเงินก่อนสักนิด จะช่วยให้เราสามารถผ่อนบ้านได้ไม่ยาก
ทำไมการ กู้บ้านผ่าน ≠ ผ่อนบ้านไหว
วลีที่ว่า “อายุ 30 แล้ว ควรมีบ้าน มีรถยนต์ มีเงินเก็บ” ถือเป็นประโยคยอดฮิตที่ทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ มุ่งเน้นหาเงิน เพื่อนำมาซื้อบ้านเป็นของตัวเอง ยิ่งใครวางแผนอยากแต่งงานกับคนรักในอนาคต และอยากมีเรือนหอเป็นบ้านสักหลังหนึ่ง การกู้เงินเพื่อซื้อบ้านเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับคนที่ทำงานประจำ แต่ไม่มีเงินก้อนเพียงพอมาจ่ายบ้านทั้งหลังด้วยเงินสด แต่รู้ไหมว่า กู้บ้านผ่าน ≠ ผ่อนบ้านไหว เพราะบ้าน และที่ดินมีโอกาสที่ราคาจะสูงขึ้น ยังไม่รวมกับค่าใช้จ่าย บวกกับดอกเบี้ยแฝงที่มากับรายจ่ายในแต่ละเดือนอีก ถึงแม้ว่าจะเราสามารถกู้เงินซื้อบ้านกับธนาคารผ่าน แต่ก็ไม่มีอะไรจะรับประกันได้ว่าเราจะสามารถผ่อนบ้านโดยไม่ต้องปล่อยขายบ้านอนาคต
กู้เงินซื้อบ้านโดยไม่ได้วางแผนก่อน จะเกิดอะไรขึ้น?
เนื่องจากในปัจจุบัน มีโฆษณา และแคมเปญทางการตลาด ดึงดูดให้คนที่ยังไม่มีบ้านอย่างเรา ๆ สนใจมากมาย โดยหลายธนาคาร และสินเชื่อต่างปล่อยเงื่อนไขการกู้เงินซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ย 0% ในช่วงแรก กู้ได้โดยไม่มีการตรวจสอบประวัติทางการเงิน ได้คะแนนเครดิตเพิ่มเพื่อแลกของสมนาคุณ หรือการผ่อนบ้านได้ในระยะยาว 30 ปี
แต่หากใครที่เป็นพนักงานประจำ และตัดสินใจกู้เงินซื้อบ้านโดยไม่ได้มีการวางแผน ไม่ได้มีเงินเก็บสำรองในยามฉุกเฉิน อาจทำให้เกิดปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว จนปล่อยให้ธนาคารยึดบ้านได้ ซึ่งเราสามารถเห็นตัวอย่างลักษณะนี้ได้ ตามบ้านติดจำนองของธนาคารต่าง ๆ หรือถ้าไม่อยากถูกธนาคารยึด เลยไปกู้เงินจากบัตรเครดิตอื่น นอกจากนี้จะไม่ลดลงแล้ว ยังทำให้ดอกเบี้ย และหนี้สินเพิ่มขึ้นจนจ่ายไม่ไหวได้
ข้อเสียของการผ่อนบ้านไม่ไหว ปล่อยให้ธนาคารยึด
- เสี่ยงต่อการถูกธนาคารฟ้อง: ใครที่คิดว่าถ้าผ่อนบ้านไม่ไหว ปล่อยให้ธนาคารยึดบ้านขายทอดตลาดได้ ขอให้หยุดความคิดก่อน วิธีนี้อาจทำให้เราเสี่ยงต่อการถูกธนาคารฟ้อง และต้องขึ้นศาลเพื่อขอเจรจาหนี้กับธนาคารเพื่อผ่อนผันการจ่ายหนี้ได้
- ประวัติทางการเงินไม่ดี: แน่นอนว่าการมีภาระการเงินเป็นหนี้ก้อนใหญ่ ไม่ส่งผลดีต่อใครทั้งสิ้น ยิ่งถ้าเรามีประวัติการเงินว่าค้างหนี้บ้านกับธนาคาร การทำธุรกรรมทางการเงินในอนาคตก็ถือว่ายาก ไม่สามารถกู้หรือขอสินเชื่อในอนาคตได้
- เกิดปัญหาครอบครัว: สำหรับใครมีครอบครัว และต้องนำเงินเก็บมาใช้ในการผ่อนบ้าน หากเงินเก็บหมด ไม่สามารถผ่อนบ้านได้จนบ้านถูกยึด นอกจากจะเสียทรัพย์สินแล้ว อาจยังต่อเสียใจเพราะมีปัญหากับครอบครัวได้ ดังนั้น วางแผนการเงินก่อนมีบ้านเป็นสิ่งสำคัญ
- ถูกยึดทรัพย์สิน: หากเกิดกรณีที่มีการปล่อยบ้าน เพื่อให้ธนาคารยึด จนเกิดการฟ้องร้องขึ้น ธนาคารจะถือว่ามีสิทธิ์ในการทำบ้านขายทอดตลาด รวมถึงมีสิทธิยึดทรัพย์ผู้กู้ เพื่อนำเงินไปหักจากหนี้บ้านได้ ถ้าไม่อยากหมดตัว อย่าเลือกวิธีนี้จะดีกว่า
- โดนฟ้องล้มละลาย: เมื่อเกิดการฟ้องร้องจนต้องขึ้นศาล หากผู้กู้ไม่มีเงินหรือไม่ได้ชำระเงินตามที่สัญญากำหนด อาจถูกศาลตัดสินว่าเป็นบุคคลล้มละลาย ส่งผลให้การทำธุรกรรมทางการเงินถูกระงับเป็นปี ๆ เสียหายต่อตนเอง และคนรอบข้างแน่นอน
เงินเดือนเท่าไหร่ถึงกู้บ้านได้แบบไม่ต้องกังวล
สำหรับใครที่อยากรู้ว่าต้องมีเงินเท่าไหร่ จึงจะสามารถกู้บ้าน และผ่อนบ้านได้โดยไม่กลัวว่าจะเกิดปัญหาการเงินในอนาคต เรามีหลักการคิดง่าย ๆ มาฝากคนที่อยากมีบ้านกัน เพื่อให้เราสามารถประเมินความจำเป็นในการมีบ้าน และจำนวนความสามารถในการผ่อนบ้านได้ในอนาคต
- ประเมินความจำเป็นในการมีบ้านก่อน
อันดับแรก ให้เราคิดถึงความจำเป็นในการมีบ้านก่อน ถ้าหากเราเป็นฟรีแลนซ์ ยังไม่ได้แต่งงาน มีรายได้น้อย สภาพคล่องทางการเงินยังไม่มั่นคง หรือรักความอิสระ การซื้อบ้านอาจจะยังไม่ตอบโจทย์ เพราะถึงแม้ว่าหนี้บ้านจะเป็นหนี้ที่ดี แต่ก็ต้องแลกกับระยะเวลาในการผ่อนนานหลายสิบปี หากยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้อบ้าน แนะนำให้เก็บเงินซื้อบ้านและเช่าบ้านไปก่อน เมื่อพร้อมแล้ว ค่อยซื้อบ้านเพื่อสร้างความมั่นคงก็ยังไม่ถือว่าสาย
- ดูความเสี่ยงและสภาพคล่องทางการเงิน
นอกจากจะประเมินความจำเป็นแล้ว เราควรดูว่าสภาพคล่องการเงินเป็นอย่างไร? หากงานของเรามีสภาพแบบสัญญา 1 ปี เป็นฟรีแลนซ์ เปิดทำธุรกิจแต่กำไรน้อย มีรายได้เยอะแต่มีรายจ่ายเยอะกว่า เหล่านี้ถือว่าการเงินยังไม่มั่นคง ไม่เหมาะที่จะกู้เงินผ่อนบ้านสำหรับระยะยาว อาจลองหาวิธีเพิ่มรายได้จากงานเสริม หรือหาคนในครอบครัวมาช่วยผ่อนบ้านอีกแรง
- มองหาบ้านมือสองหรือแถบชานเมือง
ถ้าบ้านมือหนึ่งหรือบ้านจัดสรรราคาสูงเกินไป ลองเปลี่ยนเปล่าหมายมาดูบ้านมือสอง หรือสถานที่แถบชานเมืองที่มีราคาถูกกว่า ซึ่งบ้านหลายหลังยังอยู่ในสภาพดี ดีไซน์สวยงามไม่แพ้บ้านมือหนึ่ง ที่สำคัญราคาต่ำกว่า และมีสิทธิที่ราคาที่ดินจะสูงขึ้นในอนาคตได้ ทั้งนี้ ก่อนซื้อบ้านมือสอง ควรเช็กประวัติของบ้านและเลือกสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เพื่อให้เราตัดสินใจเลือกบ้านได้ถูกใจ
- คำนวณการกู้เงินซื้อบ้านด้วยสูตร TCS
อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เราวางแผนการเงินได้อย่างถูกต้อง หากเรากำลังมองหาเคล็ดลับที่จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่า เราจะผ่อนบ้านไหวไหม? ลองใช้สูตร TCS 444 หรือ “กู้ 4 เท่า ผ่อน 40% ลอง 4 เดือน” ซึ่งเป็นสูตรคำนวณการกู้เงินซื้อบ้านและผ่อนบ้าน โดยมีตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างการใช้สูตร TCS 444
ตัวอย่างพนักงานเงินเดือน 20,000 บาท / เดือน
คำนวณการกู้เงินซื้อบ้าน 4 เท่า ของรายได้ทั้งปี
- เงินได้ทั้งปี 20,000 x 12 = 240,000 บาทต่อปี
- กู้ 4 เท่าคือ 240,000 x 4 = 960,000 บาท
ดังนั้น เราจึงไม่ควรกู้เงินซื้อบ้าน เกิน 1 ล้านบาท
คำนวณค่าผ่อนบ้าน 40% ของเงินเดือน
- คำนวณการผ่อนบ้าน 40% ของเงินเดือน
- ถ้าหากมีเงินเดือน 20,000 ไม่ควรผ่อนบ้านเกิน 40% ของรายได้
- ผ่อนบ้าน 40% ของเงินเดือน 20,000 บาท เท่ากับ 8,000 บาท
ดังนั้น เราจึงควรผ่อนบ้านอย่างน้อย 8,000 บาท ต่อเดือนนั่นเอง
- ก่อนกู้บ้านจริง ลองหักเงินที่จะผ่อนบ้านก่อน 4-6 เดือน
หักเงินเดือน 8,000 บาท ก่อนกู้เงินซื้อบ้าน 4-6 เดือน เพื่อดูว่าผ่อนบ้านไหวไหม? ถ้าหากสามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ติดขัด ก็สามารถกู้เงินได้เลย แต่ถ้ามีปัญหาทางการเงินอยู่ อาจจะลองวางแผนหรือเก็บไปก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทางการเงินในอนาคต
จะเห็นได้ว่าการ กู้บ้านผ่าน ≠ ผ่อนบ้านไหว สำหรับใครที่อยากมีบ้าน ไม่ต้องกลัวว่าจะกู้เงินซื้อบ้านไม่ได้ เพียงแค่เราวางแผนทางการเงินให้ดี ก็จะช่วยให้เราสามารถรักษาสภาพคล่องและมีบ้านในฝันในอนาคตได้ ก่อนกู้เงินซื้อบ้านอย่าลืมสูตร TCS กันนะ