ติดเครดิตบูโร แก้ยังไง ใช้เวลานานไหม แก้แล้วยังมีประวัติหรือเปล่า
เมื่อเราอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ปัญหาเงินเฟ้อก็ยังไม่หยุดนิ่ง อีกทั้งดอกเบี้ยก็ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ใครหลายคนขาดสภาพคล่องจนอาจต้องหยิบยืมสินเชื่อ หรือหาแหล่งเงินกู้จากหลายที่ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือคนทำงานจนนำไปสู่การติดเครดิตบูโรซึ่งถ้าหากยังไม่รู้ว่าเครดิตบูโร คืออะไร วันนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจ พร้อมขั้นตอนต่าง ๆ ว่าหาก ติดเครดิตบูโร แก้ยังไง ใช้เวลานานไหม และแก้แล้วยังมีประวัติหรือเปล่า ผ่านการวางแผนที่มีประสิทธิภาพนำไปใช้ได้จริง
เครดิตบูโร คืออะไร กับความเชื่อผิด ๆ
เครดิตบูโร (Credit Bureau) ในความเข้าใจของคนทั่วไปมักจะเข้าว่าเป็นการถูกปฎิเสธจากธนาคาร หรือไม่ได้รับการอนุมัติเนื่องจากคุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์ มีภาระหนี้ที่เกินตัว หรือมีประวัติการผิดนัดชำระบ่อยครั้งเนื่องจากไม่มีวินัยทางการเงิน และมีแนวโน้มการเบี้ยวหนี้นั่นเอง
แต่ที่จริงแล้ว เครดิตบูโรเป็นบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau) ที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมประวัติการชำระหนี้จากสมาชิก และมีการจัดทำรายงานของข้อมูลที่ได้มาเท่านั้น แต่ทั้งนี้การพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อต่าง ๆ เป็นเรื่องของธนาคาร และสถาบันทางการเงินซึ่งมีหลักเกณฑ์พิจารณาเป็นไปตามเงื่อนไข และข้อกำหนดต่าง ๆ โดยศูนย์ข้อมูลเครดิตนั้นไม่ได้มีหน้าที่จัดทำรายงานเฉพาะบุคคลที่มีประวัติการชำระหนี้แต่อย่างใด
ตัวอย่างการผิดนัดชำระของสินเชื่อส่วนบุคคล
- จะมีค่าทางถามหนี้สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลที่มียอดค้างชำระ หรือค้างชำระสะสมตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป
- ธนาคารจะมีการเรียกเก็บเงินครั้งละ 50 บาท ครั้งต่อไป 100 บาท
- ดอกเบี้ยปรับกรณีชำระล่าช้าจะคำนวณเรียกเก็บตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระ
- คิดบวกเพิ่ม 1 – 3% ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ค้างชำระ
รู้ได้อย่างไรว่าเราติดเครดิตบูโร
สำหรับใครที่สงสัยอยากตรวจสอบสถานะว่าติดเครดิตบูโรหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ ผ่านแอพลิเคชั่นของธนาคารซึ่งจะมีอยู่ไม่กี่ขั้นตอน คือ เปิดแอพลิเคชั่นธนาคารที่ใช้บริการ เลือกเมนูตรวจเครดิตบูโรซึ่งส่วนใหญ่จะเปิดให้รับเอกสารผ่านช่องทางอิเลกทรอนิกส์ เช่น อีเมล์ หรือรับผ่านการจัดส่งไปรษณีย์อันนี้ขึ้นอยู่ความต้องการของผู้รับบริการจากนั้นให้กดยอมรับ หรือตกลงแค่นี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น หรือสำหรับใครที่ไม่อยากทำผ่านออนไลน์ก็สามารถไปติดต่อที่ธนาคารสาขาใกล้บ้านได้เลย
ติดเครดิตบูโร แก้ยังไง
โดยทั่ว ๆ ไปเครดิตบูโรจะมีการแสดงประวัติสินเชื่อย้อนหลังประมาณ 3 ปี หรือหากในกรณีที่เราปิดหนี้หมดเลย หรือไม่ได้ใช้เครดิตแล้ว รายงานประวัติสินเชื่อในเครดิตบูโรจะค่อย ๆ ถอยไปทีละเดือนจนครบ 36 เดือน หรือประมาณ 3 ปีก็จะไม่เห็นรายการแล้ว
ทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าผิดนัดชำระหนี้ หรือค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน ปัจจุบันจะกำหนดให้สถาบันทางการเงินส่งข้อมูลสินเชื่อคงค้างให้บริษัทข้อมูลบัตรเครดิตต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยนับตั้งแต่วันที่ค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน แต่เมื่อครบ 5 ปีไม่ใช่ว่าประวัติจะหายไปเลย แต่จะกลับไปข้างต้นคือรายงานต่าง ๆ จะค่อย ๆ ถูกถอนออกหมดภายใน 3 ปี
วางแผนชำระหนี้สำหรับคนที่ยังมีสภาพคล่อง
สำหรับใครที่ยังมีสภาพทางการเงินคล่องตัวอยู่และยังสามารถที่จะชำระหนี้ได้โดยยังมีเงินเหลือใช้อยู่ แนะนำให้ทำตามรายการลิสต์ด้านล่างเพื่อจะช่วยให้คุณเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินไม่นำไปสู่การติดเครบูโร
- สรุปยอดหนี้ที่ค้างชำระอยู่ ซึ่งให้ทำการค้นหาว่ามีหนี้กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินไหนไว้มีจำนวนเงินเท่าไรซึ่งจะต้องบันทึกรายละเอียดว่ามีดอกเบี้ย หรือยอดที่จะต้องชำระต่องวดเท่าไรเพื่อที่จะได้ตั้งงบประมาณในการคำนวณรายรับรายจ่ายได้อย่างเหมาะสม
- วางแผนในการชำระเงิน โดยลองคำนวณว่าหนี้ก้อนไหนมียอดค้างจ่ายสูง รวมถึงดอกเบี้ยเพื่อมาประเมินดูว่าจะจัดการหนี้ก้อนไหนหมดลงได้ไวสุด (หากก้อนไหนมีดอกเบี้ยทบต้นทบดอกสูงให้โปะให้หมดก่อน)
- พยายามใช้หนี้ที่มีให้ตรงทุกงวด ไม่ผิดนัดชำระเพราะจะมีผลต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อใหม่ในอนาคต
- นำเงินก้อนที่ได้มาปิดชำระหนี้ เช่น ได้เงินโบนัส เงินค่าคอมมิชชั่น หรือเงินพิเศษต่าง ๆ แนะนำให้จัดสรรปันส่วนที่เก็บออมและนำส่วนที่เหือมาโป๊ะเพื่อชำระหนี้ให้ลดหมดไวมากขึ้น
- รีไฟแนนซ์ หรือบริการโอนยอดหนี้จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ประหยัดดอกเบี้ยและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน
- อย่าก่อหนี้เพิ่ม สิ่งสำคัญมากคือการไม่สร้างหนี้เพิ่มให้ตัวเองอีกซึ่งจำเป็นมากที่จะต้องโฟกัสการชำระหนี้ที่มีให้หมดก่อน
อ่านมาถึงตรงหนี้คงจะพอเข้าใจแล้วว่า ติดเครดิตบูโร แก้ยังไง โดยคนที่ติดเครดิตบูโรไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติในการอนุมัติ แต่ขึ้นอยู่กับธนาคาร และสถาบันการเงินซึ่งหากผู้ใช้บริการผิดนัดชำระหนี้ก็จะมีค่าต่าง ๆ ที่บวกเพิ่มกับหนี้เข้ามาอีกมากมาย การติดเครดิตบูโรไม่ผิด แต่ถ้าไม่จ่ายก็อาจจะนำไปสู่การฟ้องร้องจนเป็นคดี แต่เครดิตบูโรหากมีการชำระ และปลดหนี้หมดภายใน 3 ปีก็กลับมาทำธุรกรรมทางการเงินได้อีกครั้งนั่นเอง