รีไฟแนนซ์บ้าน แต่ยังไม่ถึง 3 ปี ทำได้ไหม ยังไง?
สำหรับคนมีบ้าน และต้องผ่อนบ้านมาได้สักระยะหนึ่ง วันนี้เรามีทางออกสำหรับคนอยากลดภาระการผ่อนบ้าน ไม่ว่าจะดอกเบี้ยบ้านลดลง หรือผ่อนบ้านต่อเดือนลดลง ที่เรากำลังจะพูดถึงนั่นก็คือการรีไฟแนนซ์ สำหรับใครที่กำลังอยากรีไฟแนนซ์บ้าน แต่ผ่อนบ้านยังไม่ถึง 3 ปี จะทำได้ไหม และจะเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร?
รีไฟแนนซ์ คือ การขอสินเชื่อกับธนาคารใหม่ หรือธนาคารเดิม เพื่อได้รับอัตราดอกเบี้ยบ้านต่ำลง ต้องการ ลด หรือเพิ่มระยะเวลาผ่อนชำระ หรือต้องการวงเงินเพิ่มเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ เป็นต้น สำหรับการ รีไฟแนนซ์ จะมีขั้นตอน และค่าธรรมเนียมในการดำเนิการเหมือนการยื่นขอสินเชื่อใหม่กับทางธนาคารใหม่ ดังนั้น การรีไฟแนนซ์บ้าน ควรหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม เช่น ค่าประเมิน มูลค่าหลักประกัน, ค่าประกันอัคคีภัยให้ถูกลงกว่าที่เดิมของแต่ละธนาคารก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน
สำหรับการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมได้หรือเปล่านั้น คำตอบคือ การ Retention เป็นการขอ ลดดอกเบี้ยจากธนาคารเดิม ซึ่งจะสามารถทำได้ต้องหลังจากผ่อนบ้านในอัตราดอกเบี้ยคงที่ครบ 3 ปีแล้ว
ผ่อนบ้านยังไม่ถึง 3 ปี อยากรีไฟแนนซ์ต้องทำอย่างไร
หากคิดจะรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องผ่อนบ้านตามสัญญามาอย่างน้อย 3 ปีแล้วจึงจะรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ได้ ดังนั้น การรีไฟแนนซ์จึงตอบโจทย์ของคนที่ต้องการผ่อนบ้านต่องวดลดลง เพื่อช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้
ดังนั้น การรีไฟแนนซ์ที่ดี คือควรเลือกแต่ละธนาคารมาเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยให้ถูกลงกว่าเดิม ประเมิน ความคุ้มค่าจากอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกว่าเท่าไหร่? และคุ้มค่าหรือไม่?
หากอยากรีไฟแนนซ์บ้านก่อน 3 ปีนั้น จะทำได้ไหม? เรามีคำตอบให้ค่ะ โดยทัวไป หรือตามสัญญาสินเชื่อ บ้านนั้น ส่วนใหญ่จะสามารถรีไฟแนนซ์บ้านได้หลัง 3 ปี แต่ถ้าอยากรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนดนั้น ก็สามารถ ทำได้เช่นกัน แต่ต้องเสียค่าปรับ 2-3% ของยอดหนี้คงเหลือ
เหตุผลที่ไม่ควรรีไฟแนนซ์ คือถ้ายังอยู่ในช่วงที่มีค่าปรับจากธนาคารเดิม และเหลือยอดหนี้น้อย มาก หรือเหลือระยะเวลาอีกไม่เกิน 1-2 ปีก็จะหมดหนี้ ถ้ายังอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ขอแนะนำว่า ไม่ควรรีไฟแนนซ์ เพราะไม่คุ้มค่าอย่างแน่นอน
รีไฟแนนซ์บ้านก่อน 3 ปี มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
การขอรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องดำเนินการเหมือนการขอสินเชื่อใหม่อีกครั้ง ทั้งการยื่นเอกสารต่าง ๆ รวมถึง ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเหมือนกับการยื่นขอสินเชื่อในรอบแรก และมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ค่าปรับกรณียื่นโถ่ถอน หรือขอรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนดประมาณ 2-3% ของวงเงินกู้ทั้งจำนวน
- ค่าจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ ประมาณ 0-1% ของวงเงิน
- ค่าธรรมเนียมในการจำนอง ประมาณ 1% ของราคาประเมิน
- ค่าประเมินราคาหลักประกัน ประมาณ 2,500 บาท-0.25% ของราคาประเมิน
- ค่าทำประกันอัคคีภัย ประมาณ 2,000 บาท
- ค่าอากรแสตมป์ ประมาณ 0.05% ของวงเงิน
- ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคาร
ข้อคิดก่อนคิดอยากรีไฟแนนซ์บ้านก่อน 3 ปี ควรพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการรีไฟแนนซ์ก่อนครบกำหนด สัญญาบ้าน เพราะจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และค่าธรรมเนียมได้มากขึ้น ดังนั้นควรประเมินถึงผลลัพธ์อย่างรอบคอบว่าคุ้มค่าเพียงใด แต่อย่างไรก็ตามหากมีความจำเป็นที่จะต้องรีไฟแนนซ์บ้านจริง ๆ ก็สามารถทำได้ แต่ควรเลือกเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย ๆ ให้ต่ำที่สุด ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน