แก้หนี้นอกระบบ อย่างยั่งยืน ทำยังไง?
หนี้ ถือเป็นปัญหาใหญ่ของประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงทรงตัว ภาวะเงินเฟ้อที่สินค้า และบริการราคาพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับรายรับ หากวางแผนการเงินไม่รอบคอบก็อาจเกิดหนี้ได้ หรือยิ่งมีเหตุฉุกเฉินที่ต้องใช้เงินด่วน ขณะเดียวกันการขอสินเชื่อ หรือกู้เงินจากทางธนาคารก็อาจได้เงินไม่ทันใจ หลายคนจึงหันไปหาตัวเลือกสุดอันตรายอย่างการกู้นอกระบบ ด้วยอัตราดอกเบี้ยสุดโหด และไม่เป็นธรรม จึงทำให้แทบทุกคนไม่สามารถผ่อนจ่ายได้ จนเกิดหนี้พอกอย่างรวดเร็ว ทำได้แค่ผ่อนดอก หนทางแก้หนี้ดูเลือนลาง ในวันนี้เราจึงจะพาไปดูกันว่า แก้หนี้นอกระบบ อย่างยั่งยืน ทำยังไง? เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว
หนี้นอกระบบ คืออะไร?
การกู้ยืมจากบุคคล หรือสถาบันที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมาย โดยจะมีจุดเด่นที่ได้เงินรวดเร็วทันใจ แทบจะไม่จำกัดวงเงิน แต่ก็แลกมาด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่ากฎหมายกำหนดหลายเท่า ซึ่งส่งผลให้ผู้กู้ติดอยู่ในวงจรหนี้ไม่สิ้นสุด นอกจากนี้มีความเสี่ยงด้านชีวิตส่วนตัว จากการถูกคุกคาม ทวงหนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถจ่ายคืนตามที่ตกลงกันไว้ได้
แก้หนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน ทำยังไง?
หนี้นอกระบบเป็นปัญหาที่หลายคนต้องเผชิญ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไม่มีความแน่นอน ยิ่งปล่อยไว้ก็มีแต่จะยิ่งเป็นภาระที่ไม่อาจปลดเปลื้องได้สักที การจัดการหนี้นอกระบบไม่เพียงแค่ช่วยลดภาระดอกเบี้ยที่สูง แต่ยังเป็นก้าวแรกในการสร้างฐานะทางการเงินที่มั่นคงยั่งยืน โดยจะแนะนำวิธีแก้ไขในเบื้องต้นดังนี้
- สำรวจ และทำความเข้าใจกับภาระหนี้ทั้งหมด
- รวมยอดหนี้ทั้งหมด: ระบุจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องชำระ
- วางแผนการชำระ: จัดลำดับความสำคัญของหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงที่สุด
- เข้าร่วมโครงการแก้หนี้นอกระบบของภาครัฐ ปัจจุบันภาครัฐมีโครงการช่วยเหลือผู้ที่มีหนี้นอกระบบ เช่น
- โครงการสินเชื่อแก้ไขหนี้นอกระบบจากธนาคารออมสิน
- การปรึกษากับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หรือธนาคารแห่งประเทศไทย
- รวมหนี้เข้าสู่ระบบ
- ขอสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำจากธนาคาร
- ใช้เงินกู้จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ หรือนาโนไฟแนนซ์
- สร้างรายได้เสริม
- มองหารายได้เสริมเพื่อนำมาแบ่งเบาภาระหนี้ที่เกิดขึ้น เช่น ขายสินค้าออนไลน์, งานฟรีแลนซ์ต่าง ๆ หรือการทำนายหน้า Affiliate ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน
- เข้าปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ รับคำแนะนำจากผู้ให้บริการปรึกษาหนี้ เช่น ศูนย์แก้หนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย
- สร้างวินัยทางการเงิน
- จัดทำงบประมาณ
- แบ่งรายได้ออกเป็นส่วน ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายประจำ หนี้สิน และเงินออม
- ควบคุมการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
- ตั้งเป้าหมายทางการเงิน
- วางแผนการออมและการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคง
- ตั้งเป้าหมายเพื่อปลดหนี้และรักษาเครดิตที่ดี
- หลีกเลี่ยงการกู้หนี้ใหม่
- หลีกเลี่ยงการกลับไปกู้หนี้นอกระบบอีกครั้ง โดยเน้นการจัดการปัญหาให้หมดไป
การแก้หนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ทุกคนสามารถทำได้ โดยเริ่มต้นจากการสำรวจหนี้ที่มีทั้งหมด พร้อมมองหาโครงการช่วยเหลือของภาครัฐ และสร้างวินัยทางการเงินเพื่อไม่ให้กลับไปสู่วังวนหนี้พอกอีกครั้ง เพื่อสร้างชีวิตการเงินที่ดีในอนาคตนั่นเอง