ในวันนี้คุณมั่นใจในสภาวะการเงินของคุณได้แค่ไหน หรือว่าคุณจะมั่นใจในการที่คุณจะมีเงินเพียงพอต่อการใช้ชีวิตในอนาคตได้หรือไม่ วันนี้เรามีเคล็ดลับด้านการวางแผน เพื่อความมั่นคงทางการเงินมาบอก
เคล็ดลับเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน
คือ ควรวางแผนการใช้จ่ายให้ให้ดีและเหมาะสมกับรายรับ โดยพิจารณาว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นมีอะไรบ้าง แล้วกันรายรับส่วนหนึ่งไว้สำหรับเงินออมและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นก่อน หากพบว่ารายรับไม่เพียงพอก็ควรหาทางลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้ ควรเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอน หากใช้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ควรใช้อย่างมีวินัย จัดเก็บใบเสร็จเพื่อตรวจสอบและจ่ายเงินให้ตรงตามกำหนด เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็น การก่อหนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวหากมีการบริหารจัดการที่ดี และเลือกก่อหนี้ที่มีประโยชน์ เช่น การกู้ซื้อบ้าน หรือกู้เพื่อการศึกษา
อย่างไรก็ตามควรประเมินความสามารถในการชำระคืนก่อน โดยภาระการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของหนี้ทุกประเภทในแต่ละเดือนรวมกัน ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน หากมีหนี้สินเกินตัว ควรพยายามปลดหนี้ด้วยการประหยัด ทยอยผ่อนชำระ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ และหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง และที่สำคัญไม่ควรก่อหนี้เพิ่ม
หลายคนกังวลว่าจะทำยังไงดี อยากมีเงินเก็บแต่จะมีวิธีไหนที่ทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก ซึ่งตอนนี้เชื่อว่าหลายคนเครียดกับปัญหานี้ มีเงินเท่าไหร่ก็ใช้เดือนชนเดือนไม่เหลือเก็บเลย เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่หลายคนคิด เราต้องรีบจัดการกับบัญชีรายรับ รายจ่ายของตัวเองให้ดี ก่อนที่มันสายเกินไป บางคนอายุมากขึ้น แก่ตัวไปไม่มีเงินเก็บซ้ำยังมีหนี้สิน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ จะดีแค่ไหนหากเรามีเงินเก็บสักก้อนไว้ใช้ตอนเราแก่ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ หากเรารู้จักการสร้างฐานะทางการเงินให้มั่นคง มีขั้นตอนง่ายๆดังนี้
อันดับแรก เราต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า ฐานะทางการเงินของตัวเองเป็นอย่างไร มีทรัพย์สินเท่าไร มีหนี้สินเท่าไหร่ สามารถใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้เท่าไหร่ และสินทรัพย์ที่มีอยู่นั้น ช่วยให้มีมูลค่าเพิ่มไหมหากเวลาล่วงเลยไป หรือยิ่งนานวัน มูลค่าของทรัพย์สินยิ่งหดหาย ส่วนหนี้สินที่มีอยู่มากกว่าทรัพย์สินไหม เมื่อเราสังเกตุตัวเองแล้ว ผลที่ตามมาคือ เงินเก็บในแต่ละเดือน
เมื่อเราสำรวจตัวเองตามข้อแรกแล้ว ขั้นต่อไปที่เราต้องทำคือ การนำรายได้มาหักลบกับรายจ่ายทุกอย่างในแต่ละเดือนซึ่งจะได้เป็นตัวเลขที่เป็นกระแสเงินสดเหลือเก็บของแต่ละเดือน สมมติว่าเรามีเงินเก็บเดือนละ 3,000 บาท เท่ากับว่าใน 1 ปี เราจะมีเงินเก็บถึง 36,000 บาทเลยทีเดียว
หลังจากนั้นให้ลองคิดคำนวณเป็นตัวเลข แล้วจดบันทึกค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ไม่ว่าจะเป็น ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าประกันชีวิต ค่าใช้จ่ายของลูก ค่าเทอม ค่ากินในแต่ละวัน ค่าเที่ยว ซึง่จะช่วยให้เราวางแผนการเก็บเงินล่วงหน้าได้ และเป็นการป้องกันภาวะเงินไม่พอใช้
เมื่อได้เงินเก็บในแต่ละเดือนแล้ว ให้วางแผนนำเงินเก็บที่เรามีอยู่ ให้วางแผนนำไปต่อยอดให้งอกเงยขึ้น หรือนำไปลงทุนเพื่อผลกำไร เช่น ฝากประจำ ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ลงทุนในกองทุนรวม หรือนำเงินไปลงทุนในหุ้น เป็นต้น
สิ่งที่สำคัญนอกเหนือจากการสร้างความมั่นคงทางการเงินนั้น คือการมีวินัย ในการออม และการใช้เงินอย่างรู้คุณค่า ใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็น และนำเงินส่วนที่เหลือเก็บมาลงทุนต่อยอด เพียงเท่านี้ ความมั่นคงทางการเงิน ก็อยู่ไม่ไกล
เชื่อได้เลยว่าหากคุณปฏิบัติตามนี้ ระบบการเงินของคุณนั้นจะไม่เกิดการฝืดเคือง ทั้งยังสร้างความมั่นใจให้คุณว่าจะมีเงินใช้จ่ายในอนาคต เพียงรู้จักเก็บ ใช้ และออมถือ แค่เพียงคุณมีความคิดที่จะทำ ก็มีโอกาสสร้าง ความมั่นคงทางการเงิน แล้ว