ในยุคสมัยที่อะไรๆก็ต้องใช้เงินแบบนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการมีเงินมากเท่าไหร่ก็ยิ่งอำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตมากขึ้นเท่านั้น และปัจจัยสำคัญที่คอยกำหนดปริมาณเงินในกระเป๋าหรือบัญชีของเราก็คือ ตัวเราเอง โดยเฉพาะทัศนคติเกี่ยวกับการเงิน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวเราเองไม่ว่าจะเป็น รายได้ รายจ่าย หรือทัศนคติที่เรามีต่อเรื่องเงินๆทองๆนั้นก็ส่งผลต่อเงินสะสมของเราทั้งนั้น แม้ว่าหลายๆคนจะแย้งว่าปัจจัยที่สำคัญที่สำคัญที่สุด คือ เวลาในการหาเงิน ภาระต่างๆที่เรามีอยู่ ต้นทุนเดิมจากทางบ้าน หรืออะไรก็ตามที่เรามองว่าเป็นเรื่องใหญ่ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ทัศนคติที่เรามีต่อการเงินต่างหาก นั่นก็เพราะทัศนคติจะเปลี่ยนมุมมองต่างๆและวิธีการใช้เงินของเราได้ การที่เราไปยึดติดกับสิ่งเรานั้นทำให้เราจำกัดวิธีการใช้เงินของเราเอง ทั้งๆที่เราสามารถนำเงินไปใช้ได้หลากหลายวิธีแต่ทัศนคติบางเรื่องทำให้เรายึดติดกับวิธีการใช้เงินที่ทำให้เงินที่เรามีนั้นไม่มีการงอกเงยขึ้นมา หรือที่เราเรียกกันว่า ขาด อิสรภาพทางการเงิน นั่นเอง
อิสรภาพทางการเงิน คืออะไร
อิสรภาพทางการเงิน คำคำนี้แม้ว่าจะมีการใช้งานมาเยอะมากในหนังสือแนะนำวิธีการบริหารเงินต่างๆ แต่หลายๆคนอาจจะไม่ค่อยเข้าใจมากนัก ใจความสำคัญของคำนี้คือ อิสรภาพ และการเงิน คำว่าการเงินอธิบายง่ายๆก็คือ เงินหรือของที่เปลี่ยนเป็นเงินได้นั่นเอง ส่วนอิสรภาพนั้นจะหมายถึง บางสิ่งบางอย่างที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอะไรเลย
แต่รวมๆแล้วคำว่าอิสรภาพทางการเงิน จะหมายถึง เงินซึ่งเราได้มาโดยที่อาจจะไม่ใช่รายได้หลัก ซึ่งเราได้รับเป็นประจำและสามารถใช้ประโยชน์ต่างๆที่เราต้องการได้ โดยที่เงินส่วนนั้นไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในรายได้และรายจ่ายประจำในตอนแรกของเราเลย
แค่คำอธิบายสั้นๆแบบนี้อาจจะไม่ได้ช่วยให้หลายคนเข้าใจความหมายของคำว่าอิสรภาพทางการเงินมากขึ้น และยังไม่เข้าใจว่าอิสรภาพทางการเงินนั้นจะได้มาได้อย่างไร ที่นี้เราลองมายกตัวอย่างประกอบไปกับการอธิบายกัน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถสร้างภาพในหัวประกอบไปพร้อมๆกันด้วย
อิสรภาพทางการเงิน จะได้มาอย่างไร
ก่อนอื่นเราลองมาดูวิธีการใช้เงินของคนทั่วๆไปกันก่อน ซึ่งจะเป็นรูปแบบการใช้เงินที่เราพบเห็นได้บ่อยในชีวิตของหลายๆคน
จากแผนภาพเราจะเห็นได้ว่าส่วนที่มีผลต่อเงินของเราว่าจะเหลือหรือไม่เหลือนั่นก็คือ ส่วนของรายจ่ายนั่นเอง ซึ่งในส่วนนี้บางคนก็มีรายจ่ายที่พอดิบพอดีกับรายได้เสียจนไม่เหลือเงินให้ขยับไปทำอย่างอื่นเลย ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เรามีรายได้เพียงทางเดียวมาตลอด ซึ่งอาจจะเป็นรายได้ที่มาจากการทำงานของเราที่เราได้ลงแรงและลงเวลาไปกับมันเพื่อให้ได้เงินมา ซึ่งเงินที่ได้มานั้นก็พอดีกับค่าใช้จ่าย วนเวียนอยู่แบบนี้ทุกเดือนทำให้เราไม่มีเงินเก็บเสียทีหรืออาจจะมีเงินเก็บที่เพิ่มขึ้นทีละน้อยจนแทบไม่ขยับเลย สถานการณ์แบบนี้เองที่เราเรียกว่า การขาดอิสรภาพทางการเงิน
ดังนั้นการที่เราจะมีอิสรภาพทางการเงินได้นั้นต้องเริ่มจากส่วนเงินเหลือใช้นั่นเอง แบะวิธีการได้มาซึ่งเงินเหลือใช้ที่ดูเหมือนจะง่ายแต่ไม่ง่ายนั่นก็คือ การจำกัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น สาเหตุหลักของการไม่เหลือเงินเก็บนั่นก็เพราะเรายังคงมีความต้องการที่จะใช้เงินเพื่อตอบสนองความต้องการต่างๆของตนเองที่ไม่ใช่สิ่งจำเป็น หรือมีความสิ้นเปลืองบ่อยครั้งเกินไป
การใช้เงินที่เหลือหลังจากการหักค่าใช้จ่ายแล้วเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพียงแต่บางคนก็นำมาใช้เสียจนเงินหมดเกลี้ยงไม่ได้เหลือเงินเก็บไว้ใช้ในตอนที่จำเป็นหรือนำไปลงทุนต่อยอดเลย ดังนั้นสิ่งที่เราต้องก็คือ การตัดส่วนของรายจ่ายอื่นๆที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นออกไป
ทีนี้เราก็จะได้เงินที่เหลือใช้มากขึ้น ซึ่งเงินส่วนนี้เองที่จะทำให้เรามีอิสรภาพทางการเงินได้ แต่เราต้องจัดการกับเงินส่วนที่เหลือใช้ของเราให้เงินส่วนนั้นสามารถสร้างอิสรภาพทางการเงินได้เร็วขึ้น
การนำเงินเหลือใช้มาสร้าง อิสรภาพทางการเงิน
ถ้ายังจำได้ความหมายของ‘อิสรภาพทางการเงิน’ที่เรากล่าวถึงไว้ในตอนแรกคือ เงินซึ่งเราได้มาโดยที่อาจจะไม่ใช่รายได้หลัก ซึ่งเราได้รับเป็นประจำและสามารถใช้ประโยชน์ต่างๆที่เราต้องการได้ โดยที่เงินส่วนนั้นไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในรายได้และรายจ่ายประจำในตอนแรกของเรา
ดังนั้นหลักสำคัญของการสร้างอิสรภาพทางการเงินคือ การนำเงินเหลือใช้เหล่านั้นมาใช้เป็นทุนในการสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการหาเงิน ซึ่งเป็นส่วนที่เราจะนำไปลงทุนและได้รับผลกำไรตอบกลับมาโดยที่วิถีชีวิตของเราอาจจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ก็ได้ เช่น หุ้น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ หรือแม้กระทั่งอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งสิ่งเรานี้เราสามารถเปลี่ยนเป็นเงินกลับมาได้ และทำให้เราได้ผลกำไรกลับมาเรื่อยๆตราบใดที่เรายังเป็นเจ้าของสิ่งเหล่านี้อยู่ นอกจากนี้ยังเป็นการออมทรัพย์ในทางหนึ่งอีกด้วย เมื่อสะสมกันขึ้นเรื่อยๆ เราก็มีเงินส่วนหนึ่งที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยที่เรายังคงมีรายรับจากงานประจำเหมือนตอนแรก รายจ่ายที่อาจจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ก็ตาม และเงินที่เราได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากการลงทุนเพียงครั้งเดียว และนั่นคือตอนที่เรามี อิสรภาพทางการเงิน นั่นเอง