สำหรับผู้ที่ เริ่มทำธุรกิจส่วนตัว หรือทำธุรกิจมานานแล้วแต่ก็รู้สึกไม่ประสบผลสำเร็จสักทีในการทำงาน เพราะมีความรู้สึกว่า เงินที่ได้มานั้นเข้ามือซ้ายทะลุมือขวา ยิ่งเป็นพ่อค้าแม่ค้าด้วยแล้วปัญหานี้ยิ่งเป็นปัญหาใหญ่เพราะเหมือนว่าเราขายสินค้าได้ดี แต่ทำไมเงินเราถึงไม่พอ นั่นอาจจะเป็นเพราะเรามีการจัดสรรการบริหารเงินที่ไม่ดีเท่าที่ควร อาจจะไม่เห็นรายได้และรายจ่ายที่ชัดเจน จึงทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้
ดังนั้น วันนี้เรามี 7 หลักการบริหารเงิน สำหรับผู้ที่ เริ่มทำธุรกิจส่วนตัว มาบอกกัน ดังนี้
1. การบริหารเงินที่ไม่มีการจดบันทึก เรื่องนี้สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจส่วนตัวจะต้องตระหนักมาก ๆ เพราะว่าการจดบันทึกนั้นจะทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ใน 1 วันเรามีรายได้ที่เท่าไร ใน1 เดือนเท่าไร และ1 ปี มีรายได้ที่เท่าไร และรายจ่ายนั้นเท่าไรบ้าง ผลกำไรที่ได้เท่าไร อยู่ในรูปแบบอะไร เพราะบางครั้งผลกำไรที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ใช่ยอดเงิน แต่อาจจะเป็นการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้ก็ได้ ดังนั้น เราจึงต้องมีการจดบันทึกเพื่อให้ทราบข้อมูลอย่างชัดเจน
2. มีความหวังและเผื่อใจ ในการเริ่มต้นธุรกิจอะไรสักตัวหนึ่ง สิ่งหนึ่งที่นักธุรกิจจะต้องมี นั่นคือความหวัง เราต้องตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่า ในแต่ละวันนั้นเราควรที่จะมียอดขายที่เท่าไร และยอดขายในการเริ่มต้นธุรกิจนั้นจะอยู่ที่เท่าไรและเมื่อเวลาผ่านไปสามารถที่จะเพิ่มยอดขายให้กับตัวเองได้ที่เท่าไร มีการขาดทุนมากน้อยไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ อัตราที่รับได้อยู่ที่กี่เปอร์เซ็นต์ จากนั้นเราควรมีเงินสำรองเอาไว้ด้วย ระหว่างที่รอให้ธุรกิจเราเจริญเติบโต เพราะระหว่างนั้นเราเองก็จะต้องกินต้องใช้ การมีเงินสำรองก็จะช่วยเราได้
3. การเก็บข้อมูล การทำธุรกิจนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะมองแค่ตัวเราแต่เราจะต้องมองที่คนอื่นด้วย ดังนั้นการเก็บข้อมูลก็เป็นเรื่องหนึ่งที่พลาดไม่ได้ เก็บทุกรายละเอียด เพราะบางครั้งแค่การจำอาจจะไม่พอ มันอาจจะเกิดความผิดพลาดได้ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า รายละเอียดสินค้า การสต๊อกของ การติดต่อกับใครอย่างไร เพื่อให้การทำงานของเรานั้นไม่พลาด
4. สวัสดิการของพนักงาน เรื่องนี้เป็นการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตธุรกิจของเราหลัก ๆ เลยล่ะ เพราะการที่มีลูกน้องมาช่วยในการทำงานนั้น ก็ทำให้งานของเรานั้นก้าวหน้าไปได้ ดังนั้น การที่เรามีการเลี้ยงดูที่ดี เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานที่ดีของเขานั้น ก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้งานของเราก้าวหน้าไปได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย สวัสดิการที่ว่านั้น อาจจะเป็นพวกประกันสังคม ประกันสุขภาพ และเงินโบนัสประจำปีเป็นต้น เพื่อเป็นการให้กำลังใจแก่พนักงาน
5. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน การทำธุรกิจนั้นเราต้องมีการประเมินด้วยว่า ที่เราทำนั้นเราตั้งเป้าหมายไว้ที่ตรงไหน แล้วตอนนี้ประสบความสำเร็จไปแล้วที่เท่าไร เหลืออีกเท่าไร เพราะเมื่อเรามีเป้าหมายการทำธุรกิจของเรานั้น ก็สามารถที่จะขับเคลื่อนไปได้อย่างมีระบบ เช่น ตอนนี้ธุรกิจของเราสำเร็จไปแล้ว 20 % เหลืออีก 80% ต้องเร่งที่อะไร ต้องดูที่ตรงไหนเพิ่มเพื่อให้ถึงจุดหมายโดยไว และเมื่อถึงจุดหมายแล้วการรักษามาตรฐานนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เราต้องรักษามาตรฐานด้วยวิธีใด
6. การลดต้นทุนเพิ่มกำไรในการทำธุรกิจ แน่นอนว่าเจ้าของธุรกิจนั้น ก็อยากจะได้กำไรที่สูง ๆ กันทั้งนั้น ดังนั้น อาจจะมีการลดต้นทุนการผลิต เช่น วัสดุการผลิตบางอย่างที่มีคุณภาพเหมือนกันแต่ว่าราคาแต่ละยี่ห้อนั้นต่างกัน เราอาจจะเปลี่ยนเป็นอีกยี่ห้อหนึ่งเพื่อลดต้นทุนได้ แต่ในกรณีที่วัสดุบางอย่างไม่สามารถเปลี่ยนได้ก็ไม่ควรเปลี่ยน เพราะสินค้าของเราอาจจะมีคุณภาพที่ผิดเพี้ยนไปได้
7. ให้เงินเดือนแก่ตัวเอง ถึงแม้ว่าเราจะเป็นเจ้าของกิจการแต่การให้เงินเดือนตัวเองนั้นก็เป็นสิ่งที่ควรทำให้เห็นอย่างชัดเจน เพราะว่าหากเราไม่แบ่งให้ชัดเจน สภาพทางการเงินของกิจการเราอาจจะพลาดได้ ซึ่งเรามักจะเห็นกันบ่อย ๆ เกี่ยวกับธุรกิจขนาดเล็ก ที่เจ้าของกิจการไม่มีเงินเดือน ทำให้อยากได้อะไรก็ใช้เงินกำไรของบริษัทในการใช้จ่าย ทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องของบริษัทได้
และนี้ก็เป็น 7 หลักง่าย ๆ ที่นักธุรกิจควรจะมี เพราะส่วนใหญ่ที่เราจะเห็นอยู่บ่อย ๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจขนาดเล็กนั่นก็คือ สินค้าและกิจการของเขาไปได้ดีมาก แต่เจ้าของกลับบอกว่าตัวเองนั้นขาดทุน การเงินไม่พอ นี่เป็นเพราะเขาขาดหลักการบริหารที่ดี ตัวอย่างเช่น
การเปิดร้านเบเกอรี่ ในทุก ๆ วันเราจะมีรายได้เขามาที่ร้านอยูที่ 5,000-7,000 บาทต่อวัน แต่เมื่อเรามีรายได้นั้น เจ้าของร้านที่มีการบริหารที่ไม่ถูกต้องก็อาจจะคิดแค่รายได้ที่รับมาในวันนี้ และไม่มีการจด การหักว่า จากรายได้ที่เราได้นั้น ต้องเป็นเงินเดือนของพนักงานเท่าไร ค่าวัตถุดิบเท่าไร กำไรเท่าไร และอาจจะเกิดการสับสนได้ในที่สุด และนอกจากรายได้แล้วจะต้องมีการเช็คสต๊อกสินค้าด้วยว่า วันนี้ขายขนมอะไรไปได้แล้วบ้าง พรุ่งนี้ต้องผลิตอะไรเพิ่มและวัตถุดิบอะไรบ้างที่ขาดซื้ออะไรเพิ่ม เพื่อที่จะมีการจัดสรรที่ดี แต่หากไม่มีตรงนี้ให้สังเกตดูว่าร้านค้าร้านนั้น มีปัญหาพอสมควร
ในการทำธุรกิจนั้น เจ้าของจะต้องใส่ใจทุกรายละเอียดโดยเฉพาะเรื่องการเงิน เพื่อที่จะไม่ให้เกิดการผิดพลาด เพื่อที่เราจะได้เห็นอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่เราทำอยู่นั้นไปถึงไหนแล้ว นั่นเอง