สำหรับคนที่อยู่ในแวดวงการเงินและเศรษฐกิจคงจะรู้ดีว่า ให้เงินทำงาน คืออะไร แต่สำหรับประชาชนคนทั่วไปอาจจะสงสัยว่าคืออะไร ให้เงินทำงาน คือการลงทุนประเภทหนึ่ง เช่น การลงทุนหุ้น การลงทุนกองทุน ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องทำงาน ไม่จำเป็นต้องบริหารเอง เพียงแค่เอาเงินไปร่วมลงทุนกับเขาเหมือนกับการฝากเงินให้คนอื่นไปบริหารและเราเก็บผลประโยชน์จากตรงนั้น อธิบายแบบนี้พอจะเข้าใจและเห็นภาพแล้วใช่ไหม
แต่การ ให้เงินทำงาน มันก็มีขีดจำกัดมีกฎเกณฑ์และวิธีการเลือกที่จำให้มันเกิดผลกำไร ซึ่งทั้งหมดก็ต้องผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ และการติดตามผลหรือการเฝ้าดูการเลือกแหล่งที่จะให้เงินทำงาน ซึ่งมันไม่ใช่ให้เงินทำงานเองทั้งหมด100% เจ้าของเงินต้องเป็นคนกำหนดและเลือกทิศทางติดตามผลลัพธ์ซึ่งต้องอาศัยความรู้ การศึกษาข้อมูล ดังนั้นอาจบอกได้ว่าเงินทำงานเพียงแค่ 50% อีก 50% คือการควบคุมจากเจ้าของเงินและปัจจัยอื่นๆ
อ่านเพิ่มเติม : >> ถึงเวลา…ใช้เงินทำงาน : วางแผนการเงิน (1) <<
หากอยาก ให้เงินทำงาน ต้องทำอย่างไร
เชื่อว่ามีหลายคนสงสัยและอยากให้เงินทำงานเพื่อจะได้มีผลประโยชน์โดยที่ไม่ต้องลงแรงหรือทำงานหนัก หลายคนศึกษาเรื่องหุ้น หลายคนเลือกศึกษากองทุน และ มีอีกจำนวนไม่น้อยที่เลือกการซื้อพันธบัตรต่างๆและฝากธนาคาร ซึ่งทุกวิธีที่กล่าวมาคือการให้เงินทำงานจากแหล่งที่เลือกซึ่งจะมีผลกำไรที่แตกต่างกันรวมถึงความเสี่ยงต่างๆด้วย อย่างการเล่นหุ้นจะเป็นการให้เงินทำงานที่เห็นผลกำไรได้ชัดเจนที่สุด แต่มีความเสี่ยงสูงที่สุดในบรรดาการลงทุนที่กล่าวมา ซึ่งการเล่นหุ้นมีปัจจัยหลายๆอย่างที่จะส่งผลให้เงินที่ลงทุนไปนั้นได้ผลตอบแทนมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างเช่น การเลือกหุ้นที่จะลงทุน สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศรวมถึงสภาพเศรษฐกิจโลก การเมือง และเหตุการณ์ต่างๆซึ่งจะมีผลกระทบกับหุ้น และยังรวมถึงการปั่นหุ้นหรือการแทรกแซงของคนที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มพ่อมดทางการเงินที่จะคอยโจมตีหุ้นและค่าเงินต่างๆ ดังนั้นการเลือกให้เงินทำงานกับหุ้นจึงมีความเสี่ยง หากไม่รู้แนวทาง ไม่รู้วิธีการ การเอาเงินไปลงทุนหุ้นเพื่อหวังผลกำไรจากการขายหุ้น การปันผล อาจจะทำให้หมดเนื้อหมดตัวกันได้ง่ายๆ
ส่วนการลงทุนในกองทุนต่างๆนั้น จะมีรูปแบบทั้งระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับแต่ละกองทุน ระยะเวลา ซึ่งการลงทุนในกองทุนนั้นก็ยังมีความเสี่ยงแต่น้อยกว่าการลงทุนหุ้น ซึ่งการลงทุนในกองทุนต่างๆนั้นจะเน้นที่กองทุนรวมตราสารหนี้ ซึ่งเป็นการลงทุนที่ได้รับความนิยมโดยจะมีสองแบบหลักๆคือ
- กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน (กองทุนปิด) เป็นกองทุนรวมที่ บลจ. จะเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวตอนเริ่มต้นโครงการ และจะไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจนกว่าจะครบกำหนดอายุกองทุนรวม
- กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (กองทุนเปิด) เป็นกองทุนรวมที่ บลจ. ขายหน่วยลงทุนและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในโครงการฯ
นอกจากนี้ยังมีกองทุนเฉพาะกิจต่างๆที่เปิดตามนโยบายต่างๆเช่น กองทุนรวมเลี้ยงชีพ กองทุนรวมอสังหาฯ และอื่นๆ ซึ่งการลงทุนกับกองทุนเหล่านี้หลายคนคิดว่าง่าย ซึ่งจริงๆก็ไม่ได้ง่ายขนาดปอกกล้วยเข้าปากเพราะต้องมีการศึกษาข้อมูลของแต่ละกองทุนเช่น อัตราดอกเบี้ย ผังกองทุน วัตถุประสงค์กองทุน ระยะเวลา ผลตอบแทน เงินขั้นต้นในการลงทุน ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็ต้องอาศัยความรู้การศึกษาข้อมูลด้วยเช่นกัน
การลงทุนในพันธบัตรต่างๆ จริงแล้วพันธบัตรนั้นมีหลายชนิด เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือที่คุ้นเคยกันคือ พันธบัตรออมสิน พันธบัตรธนาคารเพื่อการเกษตร และยังมี พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้ ตั๋วเงินคลัง แต่ที่นิยมกันมากคือ พันธบัตรออมสิน พันธบัตรธนาคารเพื่อการเกษตร ซึ่งมีผลตอบแทนและความเสี่ยงต่ำ อีกทั้งระยะเวลาไม่นานเพียงแค่ 3 ปี หรือ ตามที่ธนาคารกำหนดในบางพันธบัตร ทำให้หลายๆคนนิยมที่จะนำเงินไปลงทุนกับพันธบัตรทั้งสองแห่งนี้และไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากๆในการลงทุนด้วย ทำให้ได้รับความนิยมจากคนทุกกลุ่มทั้งรายได้น้อยหรือรายได้มากต่างจากการลงทุนประเภทอื่นๆที่อาจต้องมีเงินจำนวนมากในการลงทุน
จากที่กล่าวมาทั้งหมดคงจะสามารถทำให้ภาพของคำว่า ให้เงินลงทุน และคงหายสงสัยกันได้บ้างไม่มากก็น้อย และการให้เงินทำงานไม่ว่าแบบไหนก็ต้องมีการเลือกการกำหนดจากเจ้าของเงิน หากคุณสนใจอยากให้เงินทำงานก็ลองศึกษาข้อมูลและเลือกให้เหมาะกับคุณรับรองว่าผลตอบแทนที่ได้จะทำให้คุณมีเงินออมโดยที่ไม่ต้องเหนื่อย