หลายคนงงกันอยู่ใช่มั้ยล่ะคะ สำหรับผู้ที่ประกอบการรายใหม่ ที่ต้องเจอกับระบบภาษีที่คุณต้องทำการจ่ายหรือต้องเสียนั้น เนื่องจากเป็นที่ใหม่และเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก แต่ทั้งนี้ด้วยไม่เคยมีประสบการณ์ที่ต้องทำธุรกรรมเกี่ยวกับ ภาษี ด้วยตัวเองเสียด้วย
แต่คุณทราบหรือไม่คะว่า เรื่องเกี่ยวกับ ภาษี บริษัทนิติบุคคลนี้เป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ที่เปิดบริษัทใหม่ หรืออยู่ในช่วงเปิดบริษัท และเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจอย่างดี และไม่ควรที่ขาดตกบกพร่อง หรือการละเลยแต่อย่างไรเลยนั่นเองค่ะ วันนี้เรามีขั้นตอนในการเสียภาษีเกี่ยวกับภาษีของบริษัทนิติบุคคลมาฝากกันนะคะ ผู้ประกอบธุรกิจส่วนบุคลหรือที่มีเพียงตัวท่านเป็นเจ้าของกิจการร้านค้าธุรกิจแต่เพียงผู้เดียวนั้น มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อประเทศชาติในเรื่องของการเสียภาษี ซึ่งการเสียภาษีในลักษณะนี้จะแตกต่างออกไปจากธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการหลายคนค่อนข้างมากเหมือนกัน โดยการเสียภาษีของผู้ประกอบการรายเดียวนั้นจะอยู่ในรูปแบบของการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและมีลักษณะในแบบอัตราก้าวหน้าหมายความว่าถ้ามีรายได้มากภาระที่จะต้องรับผิดชอบในเรื่องของภาษีก็จะเพิ่มมากขึ้นเช่นกันโดยอาจจะมากถึง 37% เลยทีเดียว ซึ่งขั้นตอนการเสียภาษีธุรกิจส่วนบุคคลมีดังต่อไปนี้
- การขอจดทะเบียนจะมีในส่วนที่ต้องดำเนินการอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน คือ
- ส่วนที่ 1 การขอจดทะเบียนการค้า สามารถไปขอจดได้ที่กระทรวงพาณิชย์ หรือในต่างจังหวัดก็ให้ไปจดทะเบียนที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่อยู่ และที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- ส่วนที่ 2 การจดทะเบียนขอเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี สามารถขอยื่นจดได้ที่กรมสรรพากร ที่สำคัญควรดำเนินการให้เสร็จภายใน 60 วัน นอกจากนี้แล้วยังอาจจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยซึ่งเป็นข้อบังคับตามกฎหมายสำหรับธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1,800,000 บาทต่อปีนะคะ
- การคำนวณภาษีเงินได้ธุรกิจส่วนบุคคลจะมีวิธีการที่เหมือนกันกับการคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาโดยมีวิธีการคำนวณดังนี้ คือ นำรายได้ที่พึงประเมินทั้งหมดมาหักลบด้วยค่าใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนด เหลือเท่าไหร่ให้นำเงินที่เหลือนั้นมาหักลบด้วยค่าลดหย่อนอีกหนึ่งครั้ง เมื่อได้จำนวนเงินที่เหลือทั้งหมดแล้วให้นำตัวเลขจำนวนเงินดังกล่าวไปคิดตามอัตราภาษีที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งวิธีการคิดคำนวณสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร โดยการหักค่าใช้จ่ายนั้นมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 วิธีคือ อัตราเหมาและอัตราตามจริง ถ้าหากคิดเป็นอัตราเหมาสามารถนำไปใช้ได้กับประเภทเงินได้ทุกประเภท จะมีพิเศษตรงที่ว่าเงินได้ของประเภทที่ 5-8 สามารถเลือกหักได้สองแบบ คือ แบบเหมาและคิดตามจริง ประโยชน์ของวิธีคิดแบบอัตราเหมาคือสามารถเลือกอัตราที่มีเป็นจำนวนมากมายที่กรมสรรพากรเป็นผู้กำหนดให้ได้ ส่วนวิธีคิดการหักค่าใช้จ่ายตามจริงผู้ประกอบการต้องทำการเก็บเอกสารตัวจริงที่ได้จ่ายไปทั้งหมดตลอดทั้งปีเอาไว้นำไปแสดงเป็นหลักฐานด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นผู้ประกอบการสามารถเลือกหักเอาได้ตามสะดวก โดยเคล็ดลับที่อยากจะขอแนะนำคือ ควรจะเลือกค่าใช้จ่ายที่มีเป็นจำนวนมากที่สุดมาหักก่อนเป็นอย่างแรกจึงจะเหมาะสมและดีที่สุด
- การยื่นภาษีของธุรกิจส่วนบุคคลจะมีลักษณะบางส่วนที่คล้ายคลึงกันกับในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั่นล่ะค่ะ โดยถูกกำหนดลักษณะการยื่นในรูปแบบปีละ 2 ครั้ง ดังนี้
- ภาษีครึ่งปี
- ภาษีสิ้นปี ซึ่งภาษีชนิดนี้เป็นภาษีสำหรับในบางธุรกิจที่ได้ทำการยื่นจดทะเบียนไว้โดยเฉพาะนั่นเองค่ะ ทั้งนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มไว้จะต้องทำการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โดยจะต้องทำการยื่นต่อเนื่องกันทุกเดือนห้ามขาดส่งโดยเด็ดขาด ถึงแม้ในบางเดือนจะไม่มียอดขายเลยก็ตาม หากเดือนไหนขาดส่งจะถูกคิดค่าปรับในอัตรา 500 บาท ซึ่งเอกสารที่ใช้ยื่นเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ในการชำระภาษีธุรกิจส่วนบุคคลนอกจากผู้ประกอบการจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ถ้าในการยื่นแบบชำระภาษีนั้นยังมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมอีก ก็สามารถนำไปชำระเพิ่มเติมได้ที่กรมสรรพากร หรือเขียนเช็คสั่งจ่ายมาที่กรมสรรพากรโดยขีดคร่อมฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” หรือ “ตามคำสั่งออก” สำหรับในพื้นที่ต่างจังหวัดให้ติดต่อสรรพากรพื้นที่ก่อนจะเขียนเช็คสั่งจ่าย และวิธีสุดท้ายคือการชำระด้วยธนาณัติ โดยวิธีนี้ผู้ที่จะชำระได้ต้องมีพื้นที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้นนั่นเองค่ะ
จะเห็นได้เลยนะคะว่าการจ่ายภาษีเป็นสิทธิและหน้าที่ของผู้ประกอบการที่พึงกระทำ เป็นการสะท้อนถึงวุฒิภาวะความรับผิดชอบที่ต้องมีต่อประเทศชาติแผ่นดินที่เกิดและอยู่อาศัย การระลึกสำนึกถึงและตอบแทนบุญคุณแผ่นดินจึงเป็นสิ่งสมควรที่จะกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจำนวนเงินที่นำมาจ่ายค่าภาษีอากรทุกบาททุกสตางค์ จะย้อนกลับมาช่วยพัฒนาประเทศนั่นเองค่ะ
และที่สำคัญการเสียภาษีก็เป็นตัวที่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่สามารถย้อนกลับมาหาตัวผู้เสียเอง ทั้งนี้พลเมืองที่ดี และมีความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมจึงเต็มใจและต้องการที่เสียภาษีโดยไม่ได้ตระหนักว่ามันเป็นสิ่งทีต้องกระทำ หรือโดนบังคับให้กระทำ สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วการเสียภาษีนั้นถือเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกัน ต้องร่วมกันเป็นส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศนั่นเองค่ะ