สำหรับหลายคนที่เก็บเงินไม่ค่อยอยู่เพราะเกิดการใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น จึงได้อาศัยธนาคารมาเป็นตัวช่วยในการออมเงิน และลงทุนอย่างง่ายๆนั่นเองค่ะ เมื่อคุ้นเคยกับระบบการออมเงินคงจะเป็นที่สงสัยกันไม่น้อยเลยว่าเงินฝากที่เราๆได้ทำการฝากอยู่เป็นประจำนั้นมีกี่ประเภท
เพราะจากที่ทราบมาว่าในปัจจุบันนี้เงินฝากที่เราได้ทำการฝากแก่ธนาคารนั้นมีมายมายหลายแบบจนบางที่เราเองก็เกิดการสับสนได้ถึง ประเภทเงินฝาก นั่นเองค่ะ วันนี้เราลองมาศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับระบบประเภทของเงินฝากที่มีอยู่ในระบบการออมกันดีกว่านะคะ เพื่อเป็นการเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งนั่นเองค่ะ
คุณทราบหรือไม่ค่ะว่าโดยปกติแล้วเงินฝากธนาคารในตลาดปัจจุบันมีอยู่ 5 ประเภทเพียงเท่านั้นนะคะ ซึ่งแต่ละประเภทมีความแตกต่าง ดังนี้ค่ะ
1 . เงินฝากออมทรัพย์
หลายคนคงจะคุ้นเคยกันดีแล้วนะคะ สำหรับ เงินฝากออมทรัพย์ เพราะเชื่อได้เลยว่าเป็นบัญชีที่เราใช้อยู่เป็นประจำนั่นเองค่ะ เพื่อรองรับในการใช้จ่ายประจำวัน และทุกครั้งมักจะถูกพนักงานธนาคารชวนให้ทำบัตร ATM ควบคู่ไปด้วยเพื่อความสะดวกในการเบิก ถอนใช้จ่าย
ซึ่งเงินฝากประเภทนี้ธนาคารจะมองว่า เป็นเงินที่ไม่ค่อยอยู่กับธนาคารนานนัก ทำให้ธนาคารเสียโอกาสในการนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนเพื่อสร้างรายได้ให้กับธนาคาร เพราะฉะนั้นจึงให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในบรรดาเงินฝากประเภทต่างๆ ยกเว้นเงินฝากแบบกระแสรายวัน
2. เงินฝากแบบกระแสรายวัน
เงินฝากที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในธุรกิจนั่นคือเงินฝากแบบกระแสรายวัน เป็นบัญชีที่จัดได้เลยว่า ธนาคารนั้นไม่มีดอกเบี้ยให้นั่นเองค่ะ เนื่องจากลูกค้านั้นมีสถานะที่เป็นกึ่งลูกหนี้และหากลูกค้ามีเงินติดอยู่ในบัญชี ธนาคารก็ไม่สามารถที่จะนำไปต่อยอดได้เลยค่ะ โดยปกติแล้วบรรดาผู้ประกอบการจะใช้บัญชีนี้ในการออกเช็คเพื่อชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในกิจการของตนเอง ซึ่งปกติบัญชีนี้จะถูกใช้คู่กับวงเงินเบิกเกินบัญชี (โอดี)
ซึ่งผู้ประกอบการจะทำเรื่องกู้เพื่อขอวงเงินนี้จากทางธนาคาร เงินที่เข้าออกผ่านบัญชีนี้ธนาคารจะไม่ถือว่าเป็นเงินฝากของธนาคาร เนื่องจากเป็นเงินที่หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา คือเข้ามาเดี๋ยวเดียวแล้วก็ออกไป ในบางครั้งตัวเลขเงินฝากก็ติดลบเนื่องจากลูกค้าใช้วงเงินเบิกเกินบัญชีไปใช้จ่าย ซึ่งทำให้เจ้าของบัญชีมีลักษณะเป็นลูกหนี้ของทาง
3. เงินฝากประจำ
เราคงคุ้นเคยกับเงินฝากประเภทนี้ ในการฝากแบบประจำนี้เราต้องฝากเงินกับธนาคารเป็นระยะเวลาหนึ่งที่แน่นอน ไม่สามารถถอนออกไปใช้ก่อนครบกำหนดได้ ในทางปฏิบัติเราสามารถไปถอนมาใช้ได้ แต่จะไม่ได้รับดอกเบี้ยจากเงินที่เรานำไปฝากไว้ หรืออาจจะมีค่าปรับตามระเบียบของแต่ละธนาคาร
การฝากเงินฝากประจำนี้ โดยทั่วไปมีลักษณะการฝากอยู่สองแบบคือ ฝากทั้งจำนวนจนครบระยะเวลาและทยอยฝากจำนวนเท่าๆกันจนครบระยะเวลา ซึ่งการคิดดอกเบี้ยของสองแบบนี้จะแตกต่างกัน ซึ่งการใช้บัญชีเงินฝากประเภทนี้ เหมาะสำหรับการออมเงิน และดอกเบี้ยของเงินฝากประจำจะสูงกว่าดอกเบี้ยของเงินฝากประเภทออมทรัพย์
4. ตั๋วแลกเงิน
ส่วนเงินฝากที่กฎหมายไม่ถือว่าเป็นเงินฝากของธนาคารนั่นคือ ตั๋วแลกเงิน อีกทั้งการฝากเงินกับธนาคารในรูปแบบที่ไม่ได้รับการคุ้มครองเงินฝากแต่อย่างไรเลยนะคะ โดยผู้ฝากจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของธนาคาร ซึ่งตั๋วแลกเงินจะมี 2 แบบคือ แบบที่ไม่สามารถไถ่ถอนก่อนกำหนด และแบบที่ไถ่ถอนก่อนกำหนดได้
ซึ่งธนาคารต่างๆทยอยระดมเงินฝากผ่านตั๋วแลกเงินอย่างแพร่หลาย และการออกตั๋วแลกเงินนั้น ธนาคารไม่ต้องจ่ายค่าประกันคุ้มครองเงินฝาก ทำให้ต้นทุนของธนาคารต่ำลง จึงทำให้ดอกเบี้ยที่ผู้ฝากเงินได้รับจะสูงกว่าเงินฝากประจำ แต่ในปัจจุบันธนาคารหลายแห่งได้ชะลอการออกตั๋วแลกเงินออกไป เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบหลายอย่าง
5. เงินฝากปลอดภาษี
เงินฝากที่ช่องทางสำหรับการออมเงินที่ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นของลูกค้าทั่วๆไป โดยเราสามารถมีบัญชีนี้ได้เพียงคนละ 1 บัญชีเท่านั้น นั่นคือ เงินฝากปลอดภาษีกันนะคะ คุณเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วใช่มั้ยล่ะคะ เพราะถ้าเราจะไปฝากบัญชีปลอดภาษีที่ธนาคารแห่งอื่น เราต้องปิดบัญชีเงินฝากปลอดภาษีที่ธนาคารแห่งเดิมเสียก่อนปลอดภาษี ปกติการได้รับดอกเบี้ยเงินฝากจากธนาคารจะถูกหักภาษี 15 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมเงินเพิ่มมากขึ้น โดยกรมสรรพากรได้ออกประกาศจำนวนสองฉบับคือฉบับที่ 137 เรื่องยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประจำ และฉบับที่ 181 เรื่องยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ซึ่งจากนโยบายนี้ทำให้ธนาคารต่างๆมีบัญชีเงินฝากแบบปลอดภาษีนี้เป็นจำนวนมาก และมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษที่ได้มากกว่าปกติและมีเงื่อนไขการฝากที่แตกต่างกันไป
เมื่อทราบเช่นนี้แล้วเราก็คงจะเลือกฝากได้อย่างถูกบัญชี ที่เราต้องการใช้งานกันนะคะ เพราะหากคุณการเลือกฝากเงินในบัญชีเงินฝากที่ถูกประเภทนั้น จะช่วยให้ได้รับประโยชน์จากการฝากเงินได้อย่างเต็มที่
เช่น ถ้าเรามีเงินก้อนแล้วอยากออมเงินในระยะเวลาที่แน่นอน เราก็เลือกฝากประจำแบบมีระยะเวลา หรือไม่มีเงินก้อนแต่อยากทยอยฝาก ก็เลือกเงินฝากประจำที่ให้ทยอยฝากเข้ารายเดือน เป็นต้น