การแข่งขันที่ดุเดือดของสถาบันการเงินที่ต่างปล่อยบัตรเครดิตตัวใหม่ๆออกมาเพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับลูกค้าที่ยากจะปฎิเสธในการจะสมัครทำบัตรเครดิตเพิ่ม ทั้งที่ หากเปิดกระเป๋าสตางค์ออกมาจะพบว่าตนเองมีบัตรเครดิตอยู่แล้วถึงสองใบ แต่ก็ยังอยากที่จะสมัครเพิ่ม เพราะอะไร?? เหตุผลมีอยู่สองเหตุผลที่เราของนำเสนอแบบง่ายๆและตรงประเด็น คือ อยากได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น และ อาการติดบัตรเครดิต
- หวังจะได้สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มมากกว่าจากบัตรที่มีอยู่แล้ว แน่นอนว่าสิทธิประโยชน์ที่มากับบัตรใบใหม่ย่อมดีกว่าบัตรใบเก่าที่ถืออยู่ แต่คุณได้ถามตัวเองแล้วหรือยังว่า สิทธิประโยชน์ที่คุณจะได้นั้น คุณจะได้รับบ่อยครั้งแค่ไหน และเงื่อนไขของสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจะต้องมีเงื่อนไขอย่างไรบ้างคุณถึงจะได้ หากคุณพิจารณาแล้วว่าบัตรเก่าก็มีสิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกัน ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องสมัครเพิ่ม เพราะนี้จะเป็นการสร้างหนี้แบบไม่รู้ตัวได้
- อาการติดบัตรเครดิต อาการนี้จะเห็นชัดเจน เมื่อคุณเริ่มผ่อนชำระบัตรเครดิตแบบขั้นตํ่า และบัตรทุกใบที่คุณมี วงเงินเต็มทุกบัตร คุณจึงเลือกที่จะชำระแบบขั้นตํ่า จนหนี้ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าคุณจะไม่ได้ชำระแบบขั้นตํ่า แต่อาการที่ส่อว่าคุณติดบัตรเครดิตอีกประการคือ คุณเลือกที่จะใช้บัตรเครดิตชำระสินค้าทุกครั้ง แม้ว่าสินค้านั้นจะมีราคาเพียงหลักร้อย แต่คุณก็ใช้บัตรเพื่อชำระ แม้ว่าจะไม่ผิดหลักการใช้บัตรซะทีเดียว แต่หากคุณใช้บัตรทุกครั้ง บ่อยๆกับสินค้าราคาหลักร้อย เมื่อรวมๆกันก็มีค่าใช้จ่ายที่สูง
สมัครบัตรเพิ่ม โดยที่บัตรเก่ายังชำระหนี้ไม่หมด จำนวนบัตรเครดิตที่ควรจะมี คือ 2 ใบ ก็เกินพอแล้ว ทำไมถึงต้อง 2 ใบ ใบเดียวได้ไหม ใบเดียวได้ครับ แต่หากวงเงินเต็มหรือบัตรชำรุด เสียหาย คุณก็ยังสามารถที่จะนำบัตรอีกใบมาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการแทนได้
ดังนั้น อาการติดบัตรเครดิต เริ่มจากการคิดว่าตนเองสามารถแบกภาระหนี้สินในแต่ละเดือนได้ หรือตัดสินใจที่จะยอมเป็นหนี้บัตรเครดิต แบบจำยอม ด้วยการชำระแบบขั้นนตํ่าไปเรื่อยๆ จนดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทุกวันๆ หรือหนักกว่านั้น คือ การไม่ชำระคืน แต่ปล่อยให้สถาบันการเงินฟ้องร้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง สมาชิกผู้อ่านที่กำลังเผชิญกับภาวะหนี้สิน ควรรีบทำการจัดการหนี้สินทั้งหมด หรือการรีบพูดคุยกับทางสถาบันการเงินเพื่อเข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้และหาทางออกร่วมกัน และวิธีคิดที่จะสมัครบัตรเพิ่ม หยุดทำแบบนั้น แต่กลับไปชำระหนี้ให้หมดก่อน อย่าก่อหนี้เพิ่มจนไม่สามารถแก้ไขได้