มาว่ากันเรื่องเงินๆ ทองๆ กันสุขภาพกันอีกสักครั้ง เรื่องนี้สำคัญพอๆกับการหาเงินเลี้ยงปากท้องและครอบครัว เพราะเราไม่รู้ว่าเราจะเจอเรื่องฉุกเฉินเกี่ยวกับสุขภาพกันเมื่อไหร่ ทั้งคนที่มีประกันสังคม และ 30 บาท ซึ่งคนที่มีฐานะการเงินที่มั่นคง มักจะไม่กังวลเรื่องเงินค่ารักษาพยาบาลมากนักเพราะมีทางเลือก ทั้งการเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชน และ เรื่องของประกันสุขภาพ แต่คนที่มีรายได้น้อย เงินสำรองสำหรับสุขภาพ เรื่องนี้สำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว
แม้ว่าหลายคนจะมีบัตรประกันสังคม ที่สามารถไปโรงพยาบาลตอนไหนก็ได้ หรือ ไปคลินิกที่ขึ้นกับประกันสังคม ส่วนคนที่ใช้บัตร 30 บาทแน่นอนว่าต้องไปหาตามเวลาที่แต่ละ โรงพยาบาลกำหนด ซึ่งว่ากันตามตรงแล้วเรากำหนดไม่ได้ว่าจะป่วยตอนไหนเวลาไหน หากไปเลยเวลาที่กำหนด มักจะเกิดปัญหาการปฏิสธการใช้สิทธิในการรักษา จากเจ้าหน้าที่ที่คัดกรองนอกจากอาการหนักจริงๆ ส่วนอาการ ปวดหัว ตัวร้อน ท้องเสีย เป็นไข้ จะไปโรงพยาบาลนั้นสิทธิ 30 บาทนอกเวลา มีปัญหาแน่ๆ ต้องต่อรองกับเจ้าหน้าที่กันพอสมควร ดังนั้นวันนี้เรามีทางออกสำหรับเรื่องนี้มาบอกกัน และ เชื่อว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านด้วย เพราะแม้ว่าตัวเองจะมีประกันสังคมแต่คนในครอบครัวที่ยังไม่ได้ทำงาน หรือ สูงอายุ หลายๆคนใช้สิทธิ 30 บาทกันหลายครอบครัว
ทางออกสำหรับเรื่องนี้คือ การออมเงินไว้สำหรับค่ารักษาพยาบาล เป็น เงินสำรองสำหรับสุขภาพ หลายๆคนไม่สามารถซื้อประกันสุขภาพได้ ดังนั้นการออมเงินในแต่ละเดือนไว้สำหรับค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินนั้นเป็นเรื่องที่สำควรทำอย่างยิ่ง เพราะหากเรามีเงินส่วนนี้ ในยามฉุกเฉินที่ต้องพาตัวเอง หรือ คนในครอบครัวไปรักษาพยาบาลในเวลาที่เราไม่สามารถไปรักษาตามสิทธิที่มีได้ จะช่วยให้เราอุ่นใจอย่างน้อยก็ ณ เวลานั้นหากเกิดป่วยกะทันหัน เรายังพอมีค่ารักษากะทันหัน หลังจากนั้นค่อยติดต่อย้ายไป รักษาตาม รพ.ที่มีสิทธิการรักษา ซึ่งการออมเงินสำหรับเรื่องสุขภาพยามฉุกเฉินนั้น อย่างน้อยควรออมไว้เดือนละ 500 บาท แยกบัญชีต่างหากจากเงินออมอื่นๆ หากทำได้ และ ควรเปิดบัตร ATM ไว้โดยเลือกบัตรธรรมดาที่มีค่าธรรมเนียมต่อปีไม่แพง โดยเงินส่วนนี้นั้น ให้เก็บออมไปเรื่อยๆ โดยขั้นต่ำให้คงที่คือเดือนละ 500 บาท หรือหากใครมีความสามารถที่จะออมได้มากกว่านี้ก็สามารถเพิ่มได้
ที่ให้ออมแบบนี้เพราะเราไม่รู้ว่าในแต่ละครั้งที่เกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินนั้น เราจะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเท่าไหร่ ทั้งการเข้าคลินิก หรือ โรงพยาบาล ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็น โรงพยาบาลเอกชนค่าใช้จ่ายต่อครั้งนั้นต้องเตรียมอย่างน้อยก็ 3000 บาท หรือ อาจจะมากกว่านี้ ส่วนการไปคลินิกอย่างต่ำก็ 500 บาทแล้ว หรือ หากสามารถไป โรงพยาบาลรัฐบาลได้ ค่าใช้จ่ายก็จะลดลง ซึ่งทั้งหมดแล้วแต่อาการของโรคที่เป็นด้วย และ ที่สำคัญคือ ต้องรู้ว่าบุคคลในบ้านเรานั้นมีสิทธิรักษาพยาบาลแบบไหน และ สามารถรักษาได้ที่ไหนบ้าง ซึ่งหากเป็นบัตรประกันสังคมก็จะไม่มีปัญหามากนักในการขอรักษาพยาบาลฉุกเฉิน แต่ สิทธิ 30 บาทจะมีปัญหาเพราะโรงพยาบาลบางแห่งที่เป็นเอกชนจะจำกัดเวลาการรักษาและจะดูกว่าหากอาการไม่หนักจนถึงขั้นต้องปั๊มหัวใจ หรือ ต้องผ่าตัดฉุกเฉิน หรือ อุบัติเหตุ มักจะไม่ให้ใช้สิทธิ หรือบางคน สิทธิ 30 บาทในการรักษาเบื้องต้น เป็น ศูนย์สาธารณสุข หรือคลินิกที่เข้าร่วมและไม่ได้เปิดตอลด 24 ชั่วโมง การไปรักษาที่ โรงพยาบาลสำหรับส่งต่อ หรือ ต้นสังกัดนั้น ทำได้ยากเพราะตามหลักการต้องมีใบส่งตัว ดังนั้น ควรตรวจสอบว่าสามารถรักษาได้ที่ รพ.ไหน เพราะปัจจุบันการรักษาด้วยสิทธิ 30 บาทนั้นใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียว หรือ ใบเกิด (หากยังไม่มีบัตรประชาชน) ได้ที่เวปไซค์ของ สปสช และ สายด่วน 1130 ตลอด 24 ชั่วโมง แม้ว่าตามหลักการของ สปสช.จะกำหนดเรื่องของการรักษาฉุกเฉินไว้ว่า
การวินิจฉัยว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน แพทย์จะพิจารณาตามข้อบ่งชี้ ดังนี้
- โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายต่อผู้อื่น
- โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรง ต้องรักษาเป็นการเร่งด่วน
- โรคที่ต้องผ่าตัดด่วน หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต
- โรคหรือลักษณะอาการของโรคที่คณะกรรมการกำหนด
ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาจากความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษาและความเร่งด่วน ในการรักษารวมทั้งคำนึงถึงการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่อการป่วยด้วย
แนวทางการใช้สิทธิ คือ
- เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
- แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด))
หมายเหตุ :
- กรณีฉุกเฉิน สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่นที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นอกเหนือหน่วยบริการประจำได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- ปัจจุบัน มีนโยบายใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า
แต่ผู้ที่ใช้สิทธิ 30 บาท มากกว่าร้อยละ 50 ประสบปัญหาเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในส่วนต้อนรับ หรือ ซักประวัติ ในบางโรงพยาบาลมักจะปฎิเสธการให้ใช้สิทธิ ดังนั้นหากเรามีเงินออมในเบื้องต้นให้เพียงพอกับค่ารักษาพยาบาลยามฉุกเฉินนั้น เป็นเรื่องที่ดีและเราไม่ต้องกังวลว่าหากเกิดอะไรขึ้น หรือ ฉุกเฉินจริงเราจะไม่มีค่ารักษาพยาบาล และ ที่สำคัญ ควรเก็บเบอร์ ฉุกเฉินของหน่วยงาน สปสช.ไว้เพื่อติดต่อสอบถามเรื่องสิทธิในยามฉุกเฉิน เบอร์โทรของรถฉุกเฉินหน่วยเช่น 1669 หรืออื่นๆที่เราสามารถติดต่อได้ ย้ำเลยว่าควรมีติดโทรศัพท์ไว้
ข้อมูลสิทธิ 30 บาทจาก http://www.nhso.go.th/FrontEnd/index.aspx