พูดได้เลยว่าในปัจจุบันนี้หากผู้อ่านได้มีครอบครัวแล้วไม่รู้จัก เริ่มต้นออมเงิน เพื่ออนาคต วันหนึ่งคุณเคยคิดหรือไม่ว่าเหตุการณ์ต่างๆที่คุณไม่เคยได้คิดนั้นจะเป็นผลที่ย้อนกลับมาหาตัวคุณได้เช่นกันนะคะ วันหนึ่งใครจะไปคิดว่าคุณอาจตกงาน หรือว่าคุณอาจล้มละลายไปเลยก็ได้ เงินเก็บ เงินออมก็ไม่มีครอบครัวคุณ และตัวคุณเองจะใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างไร จากที่เห็นกันมากมายเพื่อเป็นตัวอย่างที่จะทำการสอนใจ
ดังนั้น วันนี้คุณต้องทำการออมเงิน เพื่อที่ใช้จ่ายในยามฉุกเฉินและในยามที่ฉุกละหุกกันบ้างแล้วนะคะ และสำหรับผู้ที่ออมเงินได้เป็นกอบเป็นกำแล้วก็อย่าลืมที่จะนำเงินส่วนนั้นไปเพิ่มมูลค่าขึ้นมาด้วยการต่อยอด การลงทุนต่างๆ หรือที่เรียกกันง่ายๆว่าการสร้างมูลค่าเงินให้เพิ่มขึ้นไปนั่นเองค่ะ
วันนี้จากที่ได้เห็นตัวอย่างจากวงการคนดังต่างๆทำให้ความคิดของผู้คนได้เปลี่ยนแปลงไป การออมจึงเป็นกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตเลยก็ว่าได้เลยนั่นเอง ต้องยอมรับว่าคุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่เริ่มให้ความสนใจกับ เริ่มต้นออมเงิน และการลงทุนมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่ออนาคตของลูก โดยเฉพาะการเริ่มลงทุนให้ลูกตั้งแต่ลูกยังเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงิน พันธบัตรรัฐบาล รวมถึงการซื้อหุ้นในชื่อของลูก แต่ลูกซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจะสามารถเป็นเจ้าของสินทรัพย์เหล่านี้ได้หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ
1. ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากเงินฝาก
ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยเงินฝากประเภทไหนก็ตาม จะถือเป็นเงินได้ของลูกทั้งสิ้น ดังนั้น หากลูกมีเงินได้จากดอกเบี้ยจะต้องยื่นภงด. หรือต้องเสียภาษี เงินได้ดังกล่าวจะเป็นของลูก และหากลูกยังไม่สามารถยื่นได้ด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ต้องมีหน้าที่ยื่นภงด. แทนลูก พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรที่รัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกัน สามารถซื้อในชื่อของลูกเองได้ แม้ว่า อายุไม่ถึง 20 ปี โดยลูกต้องมีบัตรประชาชน และยินยอมโดยพ่อแม่ ทั้งนี้ เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากพันธบัตร เงินได้ดังกล่าวจะเป็นของลูกเช่นเดียวกับดอกเบี้ยเงินฝาก
2. กรณีการเปิดบัญชีกองทุนรวมที่ใช้ในปัจจุบัน
ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากมีหลากหลายในด้านนโยบายของกองทุน หากพิจารณาตามกฎหมายแล้ว จะไม่สามารถทำได้ แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะยินยอมก็ตาม ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการเปิดบัญชีกองทุนรวมในชื่อของลูกซึ่งเป็นผู้เยาว์จะต้องขออนุญาตจากศาล หรือต้องรอให้ลูกหลุดพ้นจากความเป็นผู้เยาว์ก่อน โดยรอให้มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เยาว์ขาดทุนจากการตัดสินใจผิดพลาดจากการลงทุน เนื่องจากการลงทุนในกองทุนรวมบางประเภทมีความเสี่ยงที่สูงมาก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ที่อาจให้เปิดบัญชี ในชื่อ คุณพ่อเพื่อลูก คุณแม่เพื่อลูก คุณพ่อและคุณแม่เพื่อลูก หรือการเปิดโดยใช้ชื่อลูกนำหน้า หุ้นในตลาดหลักทรัพย์
3. ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการสะสมหุ้นให้กับลูกซึ่งเป็นผู้เยาว์
โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลสามารถทำได้ 2 แบบ ก็สามารถทำได้แต่ก็ต้องปฏิบัติตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ หากคุณพ่อคุณแม่เปิดบัญชีซื้อขายหุ้น ในชื่อของคุณพ่อคุณแม่ก่อน และซื้อหุ้นมาเก็บไว้ ซึ่งมูลค่าหุ้นในปัจจุบันกับอนาคตย่อมแตกต่างกัน จากนั้นเมื่อลูกพ้นจากความเป็นผู้เยาว์คืออายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ คุณพ่อคุณแม่ก็โอนหุ้นที่ซื้อให้กับเขาไป เท่ากับว่าลูกได้เปิดบัญชีเมื่อมีอายุครบ 20 ปีซึ่งเป็นผู้ใหญ่แล้ว ดังนั้นในระหว่างทาง หากหุ้นที่ซื้อมีเงินปันผล เงินปันผลที่ได้รับจะเป็นของคุณพ่อคุณแม่ที่ซื้อ จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณเป็นเงินได้ หากต้องการเครดิตภาษีเงินปันผลค่ะ
4. ส่วนกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ซื้อหุ้นแต่จะแตกต่างกันตรงที่ให้ทางศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ออกใบหุ้นให้
โดยคุณพ่อคุณแม่โอนสลักหลังใบหุ้นให้เป็นกรรมสิทธิ์ของลูก แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดเรื่องการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น แต่ไม่ได้ห้ามกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ให้สินทรัพย์กับลูก หรือห้ามลูกซึ่งเป็นผู้เยาว์ถือหุ้น เนื่องจากถือเป็นใบหุ้น ดังนั้น การซื้อขายจึงทำได้ไม่สะดวกเหมือนวิธีแรกที่เป็นแบบ ไร้ใบหุ้น ดังนั้น จึงควรเลือกซื้อหุ้นที่มีพื้นฐานดี หรือหุ้นปันผลให้กับลูก หากมีเงินปันผลจากหุ้นที่ถืออยู่ เงินปันผลที่ได้รับจะถือเป็นของคุณพ่อคุณแม่ หรือของผู้ใช้อำนาจปกครอง ดังนั้น จะต้องนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีด้วย โดยกรณีที่คุณพ่อคุณแม่จดทะเบียนสมรส หรือหากไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่จดทะเบียนรับรองบุตร เงินจะถือเป็นของคุณพ่อ แต่ถ้าไม่จดทะเบียนสมรสและไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร เงินได้ดังกล่าวจะถือเป็นของคุณแม่ค่ะ
ทั้งนี้ควรเป็นอย่างมากเลยทีเดียวที่คุณจะต้องทำการศึกษา หรือการทำความเข้าใจ ในการเปิดบัญชีต่างๆทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการออมหรือการลงทุนก็ดี เจ้าของบัญชีสามารถเป็นลูกได้ แต่ไม่ใช่ทุกประเภทที่สามารถทำได้ แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะอนุญาตก็ตาม ดังนั้นก่อนการลงทุนแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ศึกษาข้อมูลสินทรัพย์ก่อนเลือกลงทุนค่ะ เพื่อผลประโยชน์ของตัวคุณเอง