คำนวณกู้บ้าน จะมีโปรแกรมที่ช่วยคิดคํานวณสินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยบ้าน สินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยเงินกู้บ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน โดยสามารถคิดคำนวณงวดผ่อนชำระ ค่างวดต่างๆโดยเฉพาะ ซึ่งวิธีคิดดอกเบี้ยบ้าน แบบกำหนดค่าเองนั้น จะใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว ดอกเบี้ยที่ไม่คงที่ในแต่ละช่วงเวลา หรือแต่ละงวดอาจไม่อาจจะไม่เท่ากัน โดยคำนวณดอกเบี้ย แบบลดต้นลดดอก
วิธีคิดคำนวณแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัวนั้น คือ อัตราดอกเบี้ยที่มีการปรับเปลี่ยนตามค่าเงิน เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของสถาบันการเงินในอนาคต โดยจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง(MLR/MOR/MRR) ซึ่งปรับเปลี่ยนอยู่ได้ตลอดเวลาอาจซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ หรือนโยบายต่าวๆของรัฐบาล อัตราดอกเบี้ยลอยตัวนี้จะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงโดยตรง หรือใช้ดอกเบี้ยอ้างอิงช่วยในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในแต่ละงวด เช่น ปีแรก งวดที่ 1-12 คงที่ = 03.750 %, ปีที่ 2 งวดที่ 13-24 = 04.700 %, หลังจากนั้น = MLR-1.000 เป็นต้น ดอกเบี้ยแบบลอยตัวมักใช้กับสินเชื่อที่มีระยะเวลายาวนาน เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อคอนโด สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เงินกู้ระยะยาว เป็นต้น
วิธีคิดคำนวณดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ดอกเบี้ยจะถูกคิดจากยอดเงินต้นคงเหลือจากงวดก่อน ส่วนมากใช้สำหรับการคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อเกือบทุกประเภท เช่น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเพื่อการศึกษา เป็นต้น โดยคิดจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด ช่วงแรกดอกเบี้ยจะสูง ในงวดต่อๆมา ดอกเบี้ยจึงลดลงตามเงินต้น ปรกติจะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน ดอกเบี้ยวันนั้นๆรวมกับเงินต้นเป็นยอดเงินต้นวันถัดไป และจะคำนวณอย่างนี้เรื่อยๆทุกวัน จนถึงกำหนดจ่ายค่างวด ทั้งนี้การคิดดอกเบี้ย และเงื่อนไข สถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อจะเป็นผู้กำหนด
ถ้าใครฝันอยากจะมีบ้านเป็นของตนเอง… ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แม้ว่าราคาบ้านในปัจจุบันจะสูงขึ้นมาก ทางเลือกหนึ่งที่จะทำใหคุณเป็นเจ้าของบ้านในฝันได้คือการขอสินเชื่อ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางการเงินได้แนะนำไว้ว่าจำนวนเงินที่ผ่อนบ้านในแต่ละเดือน ไม่ควรเกิน 30% ของรายได้ต่อเดือน ทั้งนี้ก็เพื่อลดโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ นอกจากจะทำให้คุณทราบถึงจำนวนเงินที่คุณต้องผ่อนต่อเดือนแล้ว ยังทำให้คุณทราบถึงส่วนที่เป็นเงินต้น และดอกเบี้ยในแต่ละงวดได้อีกด้วย
วิธีคำนวณดังกล่าวเป็นเพียงการคำนวณเบื้องต้น ที่จะช่วยให้คุณสามารถประเมินจำนวนเงินที่จะผ่อนชำระบ้านในฝันของคุณตามที่คุณคิดว่าเหมาะสม เพราะเมื่อตัดสินใจจะซื้อบ้านแล้ว คุณต้องมีการวางแผนการเงินในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายต่างๆที่สัมพันธ์กับการซื้อบ้าน เช่น ค่าธรรมเนียมในการจดจำนอง ค่าใช้จ่ายในการจัดการสินเชื่อ ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคา ค่าผ่อนชำระต่อเดือน ค่าตกแต่ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆด้วย
หลายคนยังไม่รู้มาก่อนว่า รัฐได้สนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปมีบ้านเป็นของตนเอง โดยสามารถนำดอกเบี้ยที่เกิดจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี สุดยอดไปเลย แต่ก่อนการจะทำเรื่องกู้เพื่อซื้อบ้าน นั้นควรศึกษาหาข้อมูลให้ดีเสียก่อน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และดูงบประมาณกำลังของตัวเองที่พอจะจ่ายได้โดยไม่ต้องบีบตัวเองมากเกินไป
นอกจากจะรู้ถึงการคิดคำนวณการกู้บ้านแล้ว ปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ดูว่าธนาคารมีลักษณะของการคิดอัตราดอกเบี้ยในรูปแบบที่ต้องการหรือไม่ เช่น อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลากู้ อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นในช่วงแรกจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลงตัว ฯลฯ จากนั้น จึงดูที่อัตราดอกเบี้ยว่า ที่ใดสูงหรือต่ำกว่ากัน อันนี้สำคัญเรื่องค่าใช้จ่ายในการกู้ เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่ทางธนาคารจะเรียกเก็บ เช่น ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอน จำนองก่อนกำหนด ต้องดูด้วยว่าธนาคารใดยอมให้กู้และให้กู้ในเงื่อนไขใดบ้าง แต่ละธนาคารมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคุณสมบัติผู้กู้และปัจจัยอื่นๆ ที่แตกต่างกัน เช่น รายได้ของผู้กู้ ธนาคารจะต้องคำนวณรายได้ต่อปีของผู้กู้ และนำมาเปรียบเทียบกับวงเงินที่ขอกู้ และพิจารณาว่าผู้กู้มีความสามารถในการผ่อนชำระตามหลักเกณฑ์ของธนาคารหรือไม่ ธนาคารอาจใช้มูลค่าบ้านจากราคาประเมิน ไม่ใช่ราคาจริงที่ซื้อขายเป็นหลักเกณฑ์ในการอนุมัติเงินกู้ ดังนั้น วงเงินกู้อาจจะไม่เพียงพอกับราคาบ้านที่ซื้อขายจริง นอกจากนี้ ธนาคารจะพิจารณาจากอายุของท่าน ถ้าอายุมากก็อาจให้ระยะเวลายืมสั้น เป็นต้น
อีกสิ่งที่ควรระมัดระวังคือ กว่าที่จะทราบว่าท่านได้รับการอนุมัติให้กู้หรือไม่ คุณต้องทำเรื่องยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารไปแล้วในระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นหากไม่ได้รับการอนุมัติให้กู้หรือได้วงเงินกู้น้อยกว่าที่มีเงินดาวน์ คุณอาจไม่สามารถซื้อบ้านที่ต้องการได้และถูกยึดเงินมัดจำหรือเงินจองได้ ดังนั้นในการทำ’สัญญาจะซื้อจะขาย’ ควรขอเวลาในการชำระเงินเพื่อซื้อ อย่างน้อย 2 ถึง 3 เดือน เพื่อให้มีโอกาสในการยื่นเรื่องกับธนาคารที่สอง หรือไม่ก็ควรยื่นเรื่องขอสินเชื่อไว้กับหลายๆ ธนาคารทีเดียวพร้อมกัน แต่ทั้งนี้ท่านอาจจะเสียค่าธรรมเนียมยื่นกู้หรือค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน แต่ก็มีบางธนาคาร ซึ่งจะดูเรื่องการอนุมัติก่อนว่า ให้หรือไม่ให้และให้เท่าใด แล้วจึงประเมินมูลค่าหลักประกัน คุณจึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ก่อนที่จะทราบว่า กู้ได้หรือไม่