ไม่ว่าใครก็คงจะเคยได้คำว่า สินเชื่อ กันมาบ้าง แต่คุณรู้จัก สินเชื่อ ดีหรือยังแล้วรู้ไหมว่าสินเชื่อมีอะไรบ้าง มีการใช้สินเชื่ออย่างไรและต้องทำไงถึงจะขอสินเชื่อได้ แน่นอนว่าน้อยคนทีจะรู้จักสินเชื่ออย่างลึกซึ้ง แม้แต่คนที่ต้องการขอสินเชื่อ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งแต่การขอสินเชื่อแต่ไม่ได้ศึกษารายละเอียดของมันให้ดี รู้แต่เพียงว่าสินเชื่อ คือการขอเงินก้อนโตออกมาใช้ แล้วค่อยจ่ายคืนในภายหลัง
ซึ่งก็จะทำให้บางคนใช้ สินเชื่อ แบบผิดๆ และใช้จ่ายไปโดยฟุ่มเฟือยเสียมากกว่า จึงทำให้เกิดภาระหนี้สินอันหนักอึ้งตามมาในภายหลังได้นั่นเอง ดังนั้นวันนี้เราจึงมาอธิบายเกี่ยวกับสินเชื่อ เพื่อให้คุณเข้าใจกันมากขึ้น รวมถึงประเภทของสินชื่อต่างๆ เพื่อผู้ที่จะขอสินเชื่อจะได้เลือกขอสินเชื่อได้ถูกประเภทมากขึ้นนั่นเอง
สินเชื่อ หรือหากเรียกง่ายๆก็คือเงินกู้นั่นเอง เมื่อใช้คำว่าสินเชื่ออาจจะดูดีขึ้นมาหน่อยใช่ไหมล่ะ แต่ในความหมายลึกๆของมันก็ยังคงเป็นเงินกู้อยู่ดี เพียงแต่เงินกู้แบบ สินเชื่อ นี้จะมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเงินกู้ทั่วๆไป ซึ่งคุณสามารถนำเงินก้อนโตจากสินเชื่อออกมาใช้เพื่อความสะดวกสบายและความคล่องก่อนได้ แต่ก็ต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือนเหมือนกัน ดังนั้นก่อนที่จะขอสินเชื่อ คุณควรดูความสามารถของตัวเองก่อนว่าเมื่อขอสินเชื่อไปแล้ว จะสามารถชำระคืนได้ตรงตามกำหนดหรือเปล่า เพราะหากคุณชำระเงินคืนไม่ตรงตามกำหนด ก็จะทำให้เกิดดอกเบี้ยทบขึ้นมามากกว่าเดิมได้ ซึ่งก็เพิ่มภาระหนี้สินให้กับเรามากกว่าเดิมนั่นเอง
ประเภทของสินเชื่อ
สินชื่อถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ซึ่งก็คือ สินเชื่อทางด้านการค้า สินเชื่อทางด้านบริโภคและสินเชื่อทางด้านสถาบันการเงินนั่นเอง โดยแต่ละประเภทนั้นจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป ซึ่งก็มีรายละเอียดดังนี้
1. สินเชื่อทางด้านการค้า
สินเชื่อทางด้านการค้านั้น ไม่ได้เป็นตัวเองแต่เป็นตัวสินค้าแทน เช่น กรณี นาย ก ไปซื้อสินค้าของ นาง ข แต่นาย ก มีเงินไม่พอจึงขอทำสินเชื่อเอาสินค้าไปใช้ก่อนแล้วจะผ่อนชำระคืนในภายหลัง ซึ่งก็มีการเซ็นสัญญาเรียบร้อย หลังจากนั้น นาย ก จะต้องผ่อนชำระเงินค่าสินค้าเป็นประจำทุกเดือนพร้อมกับดอกเบี้ยที่ได้ตกลงกับ นาง ข ไว้ ซึ่งจากสถานการณ์นี้จึงทำให้นาย ก และ นาง ข มีสภาพเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้ต่อกัน หาก นาย ก ไม่ยอมจ่ายเงินชำระคืน นาง ข ก็สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้ทันที จะเห็นได้ว่าสินเชื่อแบบนี้นั้นก็เหมือนการที่เราไปค้างจ่ายสินค้าแล้วเอาสินค้ามาใช้ก่อน ค่อยผ่อนจ่ายคืนภายหลังนั่นเอง ซึ่งเราจะเห็นสินเชื่อแบบนี้ได้ทั่วไป จากการซื้อขายรถหรือซื้อขายสินค้าราคาแพงนั่นเอง
2. สินเชื่อทางด้านการบริโภค
สินเชื่อทางด้านการบริโภคนั้น ก็จะมีความคล้ายคลึกกับสินเชื่อทางด้านการค้านั่นเอง แต่สินเชื่อแบบนี้เกิดจากการซื้อสินค้าน้อยชิ้น ราคาไม่สูงมากนัก แล้วทำสัญญาปากเปล่าว่าเดี๋ยววันข้างหน้าจะเอาเงินมาชำระคืนให้ทั้งหมด หรือภาษาบ้านๆ ก็คือการไปค้างจ่ายสินค้ามาก่อนนั่นเอง สินเชื่อแบบนี้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีดอกเบี้ย แต่ต้องนำเงินไปจ่ายคืนทีเดียวให้หมด เช่น กรณี นาย ก ไปซื้อสินค้าที่ร้านค้า แต่เงินไม่พอจึงขอค้างไว้ก่อน แล้วบอกว่าอีก 2 วันจะมาชำระคืน เมื่อครบกำหนด 2 วัน นาย ก จะต้องนำเงินมาจ่ายคืนที่ร้านค้าที่ตนได้ไปค้างชำระไว้ในจำนวนเงินทั้งหมด ซึ่งจะเห็นได้ว่าสินเชื่อแบบนี้พบได้ง่ายในชีวิตประจำวันของเราเลยล่ะ แน่นอนว่าหลายคนก็คงจะเคยไปค้างจ่ายสินค้ากันมาบ้างอยู่แล้วใช่ไหมล่ะ
3. สินเชื่อทางด้านสถาบันการเงิน
สินเชื่อทางด้านสถาบันการเงิน เป็นสินเชื่อที่เป็นทางการมากที่สุด ซึ่งก็คือสินเชื่อทั่วไปที่ทางสถาบันการเงินออกให้ มีขั้นตอนในการขอสินเชื่อที่ยุ่งยากและต้องรอการอนุมัติโดยใช้เวลาพอสมควรเลยล่ะ นอกจากนี้การขอสินเชื่อแบบนี้ ผู้ขอสินเชื่อจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยที่ทางสถาบันการเงินกำหนด และผู้ที่จะขอสินเชื่อได้จะต้องมีหน้าที่การงานมั่นคง มีรายได้เข้าในบัญชีเป็นประจำทุกเดือนอย่างน้อย 6 เดือน และจะต้องมีหลักฐานและเอกสารตามที่สถาบันการเงินนั้นๆ กำหนดอย่างครบถ้วนจึงจะสามารถขอสินเชื่อได้
ได้รู้จักสินเชื่อกันไปแล้วทีนี้ก็เข้าใจเกี่ยวกับสินเชื่อกันมากขึ้นแล้วนะคะ โดยเฉพาะสินเชื่อทางด้านสถาบันการเงิน ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนคงจะกำลังเตรียมตัวขอสินเชื่อกันอยู่ใช่ไหมเอ่ย เนื่องจากได้เงินก้อนโตมาใช้จ่ายและสามารถผ่อนจ่ายเป็นรายเดือนได้
แต่อย่าลืมนะคะว่าสินเชื่อก็คือเงินกู้อย่างหนึ่ง หากไม่รู้จักใช้ก็จะทำให้ต้องเสียเงินพร้อมดอกเบี้ยเป็นจำนวนมากได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสินเชื่อแบบนี้จะเหมาะกับคนที่ต้องการใช้เงินด่วนมากกว่า เช่นสินเชื่อบ้าน ก็จะเหมาะกับคนที่ต้องการซื้อบ้านหรือสร้างบ้านโดยด่วน โดยนำเงินก้อนโตจากสินเชื่อไปใช้ก่อน แล้วค่อยจ่ายชำระเงินคืนในภายหลัง พร้อมกับดอกเบี้ย ซึ่งก้จะมีกำหนดระยะเวลาในการจ่ายเงินคืน เช่นภายใน 5 ปี 10 ปีหรือ 20 ปี
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะทำระยะเวลาการจ่ายเงินคืนไว้กี่ปี ซึ่งทางธนาคารก็จะเอายอดเงินทั้งหมดมาหารตามจำนวนเดือน ออกมาเป้นเงินที่คุณต้องจ่ายชำระเป็นประจำทุกเดือนพร้อมดอกเบี้ยนั่นเอง