กลายเป็นประเด็นร้อนหลังจากที่รัฐบาลเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ชงเรื่องให้กรมสรรพากร ดำเนินการจัดเก็บภาษีมรดก โดยมีหลักใหญ่ใจความ ดังนี้
อัตราภาษีมีข้อเสนอให้มีการจัดเก็บในอัตราที่ 10% สำหรับการรับมรดก (ผู้ให้เสียชีวิต) ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 50 ล้านถึง 200 ล้าน หากราคาทรัพย์สินมีมูลค่าตั้งแต่ 200 ล้านขึ้นไปจะมีการจัดเก็บที่ 20% ทั้งนี้ทรัพย์สินที่จะถูกดำเนินการเรียกเก็บภาษีมรดกนั้นจะประกอบด้วยอสังหาริมทรัพย์ และ อสังหาริมทรัพย์ ทุกประเภทไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งกฎหมายร่างนี้จะมีผลบังคับใช้ไม่น่าจะเกินภายใน 6 เดือนหลังจากนี้ แต่ในส่วนของจำนวนอัตราเรียกเก็บอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง
ข้างต้นที่กล่าวมาพอสังเขป ถึงเงื่อนไขการเก็บภาษีมรดก อาจจะมีหลายคนพอใจและไม่พอใจ โดยผู้เขียนขอชำแระให้เห็นว่าทำไมบางคนเห็นชอบและบางคนไม่เห็นชอบ
เห็นด้วย เพราะ ไม่เดือดร้อน เพราะยังไงก็มีเงินสำหรับเสียภาษี จึงไม่รู้สึกลำบากใจ และ มองว่าเป็นการกระจายรายได้เพื่อพัฒนาประเทศให้มีความเจริญยิ่งขึ้น
ไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย เนื่องจากมรดกที่ได้รับมา เป็นมรดกที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ และไม่ได้สร้างรายได้อะไรจากมรกดกนั้น โดยเฉพาะที่ดิน ที่ปล่อยทิ้งร้างไว้เนิ่นนาน และวันดีคืนดีรถไฟฟ้าก็มาตัดผาดผ่าน จนราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้น จนวันหนึ่งที่ดินนั้นก็ถูกระบุชื่อผู้รับ แต่ผู้รับไม่ได้มีรายได้ที่มั่นคง เป็นเพียงพนักงานประจำ หาเช้ากินคํ่า จะนำเงินที่ไหนเป็นล้านๆ เพื่อมาชำระค่ามรดก
จากความเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผู้เขียนในฐานะของพนักงานที่หาเช้ากินคํ่า ก็รู้สึกไม่สบายใจนักถ้าวันหนึ่งต้องแบกรับมรดกต่อจากบรรพบุรุษ ก็ไม่รู้จะนำเงินที่ไหนไปจ่ายค่าภาษี แต่ในเชิงปฎิบัติที่แท้จริงสำหรับมรดกประเภทที่ดิน ก็มีทางที่จะเลี่ยงภาษีได้ คือ นำที่ดินนั้นไปก่อให้เกิดรายได้ เช่น ให้เช่า หรือสร้างเป็นสำนักงาน ก็สามารถที่จะทำการลดย่อนภาษีได้ จะเห็นว่าในต่างประเทศ ภาษีมรดกจะมีอัตราที่สูงกว่าประเทศไทยมาก โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น สูงถึง 50% และที่หนักกว่าในประเทศสหรัฐอเมริกา หากปล่อยให้ที่ดินรกร้าง ไม่ทำประโยชน์อะไร จะถูกรัฐยึดทันที จึงจะเห็นอยู่บ่อยๆที่มหาเศรษฐีในสหรัฐต้องบริจาคหรือยกที่ดินของตัวเองให้กับสาธารณะประโยชน์ต่อสังคม
ในประเทศไทยผลสำรวจพบว่าจำนวนประชากรกว่า 67 ล้านคน เสียภาษีบุคคลธรรมดาอยู่เพียง 11 ล้านคน และ 2 ล้านคนที่เสียภาษีอย่างจริงจัง หายไปไหนกันหมด จะบอกว่าเมืองไทยไม่มีการเลี่ยงภาษี ก็ดูจะหลอกตัวเองเกินไป การที่รัฐเสนอเก็บภาษีมรดก ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันกลุ่มคนหัวใสทั้งหลายที่ชอบเลี่ยงภาษี หาช่องโหว่เพื่อหลบเลี่ยง แต่วิธีการนี้รัฐบาลควรศึกษาถึงผลกระทบให้ดี เพราะผลกระทบแค่ยังไม่เริ่ม ก็เริ่มมีคำครหากดขี่คนจน ก็ต้องมาดูกันยาวๆ ว่ากรมสรรพากรจะเสนออัตราภาษีหรือมีเงื่อนไขแก้ไขอย่างไรสำหรับผู้ที่ไม่มีรายได้สำหรับชำระค่ามรดก