เชื่อว่าหลายๆครอบครัวน่าจะเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการควบคุมปริมาณค่าใช้จ่ายต่างๆที่บางครั้งตัวเลข การเงิน ในครอบครัวอาจจะถึงขั้นติดลบ หรือว่าอาจจะมีเงินใช้จ่ายแบบเดือนชนเดือนเลยนั่นเอง แล้วแบบนี้หากปล่อยไว้นานวันเข้า การเงินของครอบครัวคงจะแย่ อันที่จริงเราควรจะทำการแก้ไขคุณลักษณะในการใช้เงินโดยเฉพาะกับการสอนเด็กๆในบ้านก่อนให้พวกเขามีความคิดความอ่านในการที่จะหัดรู้จักกับคำว่า “รู้จักกินรู้จักใช้” และคำว่า “การหัดออมเงินและรู้จักคุณค่าของเงิน”
อันที่จริงแล้วก่อนหน้าที่เราจะออกไปทำการประกาศให้ใครหลายคนทำตามนโยบายประหยัดเงินหรือมาชวนให้ทำตามแคมเปญการเซฟค่าใช้จ่าย เราต้องพยายามที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองกันก่อนแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะกับคนในครอบครัวที่เป็นเด็กเล็ก ในอนาคต พวกเขาจะต้องเจออะไรอีกเยอะ แล้วถ้าหากหัดในการป้องกันเรื่องการใช้ค่าใช้จ่ายเกินตัว มันจะช่วยให้เขามีความคิดความอ่านในการหัดเก็บเงินและใช้เงินแบบเท่าที่ควรจะใช้และยังหัดรู้จักประหยัดเงินได้มากอีกด้วย
การสอนให้ลูกรู้จักรับผิดชอบและบริหารการเงิน
เชื่อว่าพ่อแม่หลายๆคนกำลังมีการให้เงินลูกแบบให้แบบใช้จ่ายรายวัน แต่ก็จะต้องมีการสั่งสอนในเรื่องของการใช้เงินและหัดรู้จักเก็บเงินอยู่บ้างตั้งแต่ยังเด็กๆกัน อีกทั้ง ถ้าหากว่าเราลองเพิ่มขอบเขตในการให้เงินออกมาเป็นว่าถ้าหากพวกเขาเติบโตขึ้นก็ลองเปลี่ยนจากการให้เงินค่าใช้จ่ายแบบรายวันก็เปลี่ยนมาเป็นให้เงินไว้ใช้แบบรายสัปดาห์เพื่อให้พวกเขาหัดใช้เงินแบบรายสัปดาห์และบริหารดูว่าใน 7 วันจะสามารถใช้จ่ายแล้วเงินใช้ไม่พอจนครบสัปดาห์หรือไม่ ถ้าทำได้ดีก็ลองเพิ่มเป็นการให้ค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนดู ซึ่งการหัดลูกแบบนี้พ่อแม่จะต้องมีความเด็ดขาดมากพอ คือหากลูกใช้เงินฟุ่มเฟือยจนไม่ชนเดือนหรือชนสัปดาห์ ก็ไม่ควรให้เงินลูกเพิ่มอีก นอกจากในกรณีที่จำเป็นจริงๆ ทั้งนี้ก็เพื่อดัดนิสัยของเขาให้รู้จักคุณค่าของเงินและการใช้จ่ายเงินนั่นเอง
สอนเด็กๆหัดพิจารณาความจำเป็นในการใช้เงิน
หากว่าคุณลองพาลูกๆไปยังศูนย์การค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ตได้จะยิ่งดีมากขึ้น เพราะนั่นเท่ากับว่าคุณกำลังสอนพวกเขาให้ลองคิดวิเคราะห์และพิจารณาว่า สิ่งของที่กำลังจะลงมือซื้อนั้นมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนและคุ้มค่ากับเงินที่เรากำลังจะเสียมากน้อยแค่ไหนอีกด้วย หากว่าคุณสามารถสอนพวกเขาได้คือดีมาก เช่น สิ่งของนี้ จำเป็นมากมั้ย ราคาสมเหตุสมผลมั้ยแล้วตอนนี้ความจำเป็นที่จะต้องใช้มีมากแค่ไหน กับสิ่งของแบบไหนที่เราแค่ “อยากได้” กับแบบไหนคือ “ความจำเป็น” คือสิ่งที่ต้องพิจารณากันมากๆหน่อย หากรอสอนเขาตอนโตอาจจะไม่ทันการ เพราะฉะนั้นหัดสอนเขาให้รู้จักใช้เงินอย่างประจำและใช้เงินในสิ่งที่จำเป็นตั้งแต่เขายังเล็กนี่ล่ะค่ะดีที่สุด เมื่อโตขึ้นเขาจะได้รู้จักใช้จ่ายเงินอย่างถูกวิธีมากขึ้นนั่นเอง
ใช้คำชมเพื่อลูกทำได้สำเร็จ
เราสามารถใช้กลวิธีในการให้คำชมเมื่อลูกของเราสามารถควบคุมปริมาณการใช้เงินของตัวเองได้ตามเป้าหมายเลยนั่นเอง การใช้คำชมและการส่งเสริมจากพ่อแม่จะทำให้เด็กๆมีกำลังใจ ดีกว่าการซื้อของเล่นหรืออะไรให้ เต็มที่ก็คือให้ขนมหรือพาไปเที่ยวซักหน่อยก็ยังได้ หรือนานๆครั้งอาจจะให้ของเล่นเป็นของขวัญแล้วอาจจะสอนแกมๆว่า ถ้าอยากได้อะไรก็หัดเก็บเงินเสริมได้อีกก็ได้อีกเช่นกัน เรื่องพวกนี้เป็นหลักจิตวิทยาอย่างหนึ่งในการสั่งสอนให้เด็กๆรู้จักกับการรู้ค่าของเงินได้มากเลยทีเดียว โดยคุณอาจจะตั้งเป้าให้เขาก็ได้ว่าอาทิตย์นี้จะต้องเก็บออมเงินให้ได้กี่บาท ถ้าเขาทำสำเร็จ ก็เอ่มชมและให้ของขวัญเล็กน้อยกับเขา แค่นี้เขาก้มีกำลังใจที่จะเก็บเงินมากขึ้นแล้วล่ะ
การตามใจลูกไม่ใช่ผลดี
สำหรับเรื่องของการตามใจของพ่อแม่ นั้นอาจจะส่งผลร้ายมากกว่าจะเป็นผลดี เพราะว่าถ้าสมมติหากว่าลูกอยากได้อะไรหรือรบเร้าอะไร ถ้าเป็นการบ่งบอกว่าเป็นค่าใช้จ่ายทีเกินตัว พ่อแม่อาจจะต้องเล่นหลักจิตวิทยาสักหน่อยหรือไม่เช่นนั้นก็อาจจะเป็นการใช้วิธีแนะนำว่าถ้าหากอยากได้อะไรให้ลองเก็บเงิน ซึ่งเป็นอีก 1 วีที่สอนให้เด็กมีความอดทนในการเก็บเงินจนติดเป็นนิสัยได้ดีมากอีกนั่นเอง และสุดท้าย การแบ่งปัน ถ้าเราสอนพวกเขาให้ลองหัดแบ่งปัน หยอดตามตู้บริจาคและสอนว่ายังมีคนทีด้อยกว่าเรา ไม่ได้มีเงินออมแบบเราด้วยนี่จะส่งผลในแง่คุณภาพทางจิตใจของเด็กเกี่ยวกับการใช้เงินอีกด้วย อยากให้ลูกใช้เงินเป็นและรู้จักแบ่งปันก็ต้องสอนเขาตั้งแต่ยังเด็กนะคะ
การที่ลูกน้อยจะรู้จักค่าของเงินและใช้เงินเป็นนั้น จะต้องเริ่มมาจากครอบครัวซึ่งหากคุณเป็นตัวอย่างให้เขาเห็นได้ และสอนให้เขารู้จักเก็บออมเงิน รู้จักบริหารการใช้จ่ายตั้งแต่ยังเด็ก นิสัยเหล่านี้จะติดตัวเขาไปจนโต และเขาจะเติบโตเป้นผู้ใหญ่ที่ไปสู่ความสำเร็จได้อย่างง่ายดายเลยล่ะ พราะฉะนั้นอย่าละเลยที่จะสอนเขานะคะ