ในปี พ.ศ. 2558 นี้เองเราอาจจะบอกได้ว่าเป็นปีที่การบริหารประเทศอยู่ภายใต้รัฐบาลคสช. อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ภาครัฐก็ได้มีการออกนโยบาย พร้อมทั้งมาตรการทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญอยู่ต่างๆ มากมายหลายเรื่องด้วยกัน ซึ่งใน 10 ลำดับดังต่อไปนี้เป็นลำดับ นโยบายเศรษฐกิจ ที่ประชาชนคนไทยของเราได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด แต่ละลำดับนั้นจะมีอะไรบ้างเรามาดูกันเลยดีกว่า
-
การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ หรือที่เรารู้จักนั่นก็คือ กอช.
การดำเนินการนี้เป็นนโยบาลที่ทำการต่อเนื่องมาจากรัฐบาลของรัฐบาลนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ โดยผ่านพ.ร.บ.ของกองทุนการออมแห่งชาติออกมาแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่สามารถจัดตั้งกองทุนขึ้นมาได้ นั่นก็เป็นเพราะว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลมาเป็นคสช. ซะก่อน ซึ่งในยุคของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไม่ได้มีการสานต่อเพื่อให้กองทุนเกิดขึ้นได้จริง จนในที่สุดเมื่อมีคณะ คสช.ได้เข้ามาบริหารประเทศ ก็ได้เกิดการผลักดันการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติขึ้นมาให้เกิดผลสำเร็จจนได้
-
การโอนผู้ประกันตนเองตามมาตรา 40 จาก กองทุนประกันสังคม ให้มายังกองทุน กอช.
การโอนผู้ประกันตนนี้เป็นนโยบายที่ต่อเนื่องเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนตาม ม. 40 จากกองทุนประกันสังคมที่มีความต้องการหรือมีความจำนงที่จะย้ายจากกองทุนประกันสังคมของตัวเองมาเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติหรือ กอช. นั่นเอง ซึ่งมีภาระเกี่ยวกับการประกันตนที่ต้องโอนมายังกองทุนแห่งใหม่หรือ กอช. อีกด้วย แต่ประชาชนที่เป็นสมาชิกของกองทุนประกันสังคมเองก็มีความสนใจที่จะย้ายตนเองให้เข้ามาอยู่ในระบบของ กอช. อยู่ไม่น้อยเช่นกัน
-
ภาษีทรัพย์สิน หรือที่เรารู้จักก็คือภาษีบ้าน และที่ดิน
ในยุครัฐบาล คสช.นี้เอง เกือบจะทำสำเร็จในช่วงสมัยที่นายสมหมาย ภาษี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในช่วงแรก แต่ในที่สุดก็ต้องถูกกระแสคัดค้านอย่างหนักจากหลายฝ่ายจนต้องชะลอออกไปอีก ซึ่งนโยบายลนี้เป็นนโยบายที่ประชาชนก็ได้ให้ความสนใจมากเช่นเดียวกัน เพราะแน่นอนว่าหลายคนคงไม่อยากที่จะต้องเสียภาษีมากนัก ซึ่งหากยิ่งมีที่ดินมากเท่าไหร่ก็ต้องเสียภาษีที่ดินมากขึ้นเท่านั้น จึงนับว่าเป็นนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนมากทีเดียว
-
การปรับเงินเดือนของข้าราชการ
นโยบาลที่สร้างกระแส และเสียงฮือฮากันได้มากขนาดนี้ก็คือการปรับเงินเดือนของข้าราชการจากเหล่าต่างๆ นั่นเอง เพราะมีการปรับให้มีการขึ้นลงกันทุกฝ่ายกันเลยทีเดียว ซึ่งก็มีเจ้าหน้าที่ของภาครัฐที่ได้ผลประโยชน์หรือได้รับผลตอบแทนจากการทำงานเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังมีบางฝ่ายที่ไม่ชอบพอกับการปรับเงินเดือนในครั้งนี้ จึงเกิดความไม่พอใจและเกิดผลกระทบกันพอสมควร
-
การจัดตั้งให้มีเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อรองรับการเปิดประเทศอาเซียนที่กำลังจะมาถึงเร็วๆ นี้
อย่างที่เราทราบกันดีว่าอีกไม่นานเราจะมีการเปิดประเทศอาเซียน โดยการจัดตั้งให้มีเขตเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ราคาที่ดินของแต่ละจังหวัดที่จะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษให้เกิดขึ้นมานั้นมีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นมาก
-
ขยายการก่อสร้างทางด่วนพิเศษ หรือที่เรารู้จักกันคือมอเตอร์เวย์
การขยายทางด่วนพิเศษนี้เป็นนโยบายที่รัฐบาลมีความต้องการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งประชาชนเองก็จะต้องเจอกับมีการเวนคืนที่ดินเป็นจำนวนมากเพื่อการก่อสร้างทางด่วนพิเศษนี้เช่นกัน
-
ส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัย
รัฐบาลได้มีการสนับสนุนให้ผู้มีรายได้มีที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น โดยได้นำเอาธนาคารอาคารสงเคราะห์หรือธอส. ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบาลดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งนโยบายนี้ก้นับว่าเป็นนโยบายที่ส่งผลกระทบไปในทางที่ดี และได้รับการตอบรับดีพอสมควรเลยทีเดียว
-
ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
โดยนโยบายนี้เป็นนโยบายที่มีการเชื่อมต่อมาจากรัฐบาลของนางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ส่งผลให้ประชาชนที่ทำมาหากินในประเทศไทยนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงกันอย่างมากเลยก็ว่าได้ เพราะจากที่เคยได้ค่าแรงขั้นต่ำไม่ถึง 300 บาท เมื่อค่าแรงขยับขึ้นมา จึงทำให้ประชาชนมีรายได้ที่พอมีพอกินกันมากขึ้น และไม่ลำบากจนเกินไปนั่นเอง
-
ผลกระทบจากค่าแรง รวมถึงสภาวะทางเศรษฐกิจ
ด้วยการที่เรามีการปรับค่าแรงของแรงงานให้สูงขึ้นนั้นทำให้บางธุรกิจจะต้องมีการย้ายไปประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งบางรายมีการปิดตัวไปเพราะไม่สามารถรองรับกับสภาวะทางเศรษฐกิจได้มากพอ
-
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เป็นการลดภาษีให้เหลือมาที่ 35% และปรับขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษีอีกทั้งยังมีการศึกษาปรับปรุงภาษีในปีหน้า ซึ่งผู้เสียภาษีก็จะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้รองรับการสภาพที่เกิดขึ้นให้ได้ นี่ก็เป็นอีกนโยบายหนึ่ง ที่ดูเหมือนจะส่งผลกระทบในด้านลบต่อประชาชนเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
และนี่คือนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในด้านบวกหรือด้านลบ โดยเฉพาะนโยบายเกี่ยวกับภาษี เพราะแน่นอนว่าประชาชนส่วนใหญ่ก็คงไม่อยากที่จะเสียภาษีกันมากนัก แต่ด้วยเศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ จึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อความก้าวหน้าของไทยในอนาคตนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม >> เศรษฐกิจแบบนี้ นโยบายการเงิน โฟกัสผิดจุดหรือเปล่า ? <<