พวกเราทุกคนมักมีชีวิตในวันเด็กที่เรานั้นไม่ค่อยเข้าใจตัวเองในหลายๆอย่าง พวกเราจำนวนไม่น้อยนั้นเมื่อตอนเป็นเด็กเรามักไม่รู้ว่าทำไมคุณพ่อถึงทำแบบนี้ ทำไมคุณแม่ถึงทำแบบนี้กับเรา หรือทำไมคนอื่นๆถึงทำแบบนี้กับเราทั้งๆที่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองทำให้เรานั้น เรามองสิ่งนั้นว่าเป็นสิ่งที่ดูลำบากหรืออาจจะดูไม่เท่ในสายตาคนอื่นๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งต่างๆเหล่านั้นที่พวกเขาทำให้เราพวกเขาเหล่านั้นล้วนหวังดีกับเราแน่นอนเพียงแต่เรานั้นไม่เข้าใจ
และในวัยเด็กของใครหลายๆคนนั้นมักจะไม่แบ่งเวลาสักส่วนหนึ่งของความสนุกของเรา มาคิดกับเรื่องหรือคิดกับสิ่งต่างๆที่เราไม่เข้าใจแน่นอน ถึงเราจะได้ถามคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองของเรา คำตอบที่เราได้มานั้น เราอาจจะไม่รู้ว่าคำตอบนั้นหมายถึงอะไรหรือเราอาจจะได้คำตอบจะเป็นประมาณที่ว่า “เมื่อโตขึ้นเดี๋ยวก็รู้เอง” หรือ “เอาน่า เก็บดีๆเดี๋ยวหาย” นับได้ว่าเป็นคำตอบของใครหลายๆคนที่เคยได้ยินแน่นอน และในยุคในสมัยนี้ คุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่ของเด็กรุ่นใหม่หลายๆคนอาจจะไม่เคยได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆที่คุณพ่อคุณแม่ของเรานั้นได้ผ่านมา ซึ่งวิธีที่เด็กๆสมัยก่อนถูกปลูกฝังเกี่ยวกับเรื่อง การเงิน ก็คือ
1. คุณแม่มักผูกเงินไว้กับเสื้อของเราหรือผูกไว้กับกางเกงของเรา
นับว่าเป็นวิธีที่เด็กในสมัยก่อนหรือคุณพ่อคุณแม่ในสมัยนี้เกือบทุกคนเลยก็ว่าได้ที่เคยผ่าน เมื่อใดก็ตามที่คุณพ่อคุณแม่ของเราหรือใครหลายๆคนนั้น มีเงินเหรียญจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่เยอะมากเท่าไหร่นั้นและเดินตรงมาที่เราและพร้อมที่จะมัดเงินติดกับเสื้อของเรา “พร้อมกับบอกเราว่าเก็บไว้ดีๆเดี๋ยวหาย” หลังจากนั้นเราก็จะมีปมเล็กๆที่เสื้อที่ถูกมัดด้วยหนังยาง และอาจจะเดินเข้าโรงเรียนหรือเดินไปไหนก็ตาม ซึ่งเราก็พร้อมที่จะแกะเงินเหล่านั้นมาใช้เมื่อเราต้องการซื้อขนม เราทุกคนนั้นอาจจะนึกไม่ออกหรอกว่าสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำแบบนั้นกับเรานั้นหมายความว่าอะไร แต่ที่แน่ๆนั้น พวกท่านได้ปลูกฝังสิ่งบางสิ่งเกี่ยวกับเงิน ว่าเงินนั้นเป็นสิ่งของหายาก เราต้องระมัดระวังและเก็บเงินนั้นไว้ให้ดี นับได้ว่าพวกท่านเริ่มสอนให้เราระมัดระวังตัวเกี่ยวกับเรื่องเงินตั้งแต่เด็กๆ แต่สิ่งที่เราทุกคนรู้ในตอนนั้นหรือสิ่งที่ใครหลายๆคนคิดออกในตอนนั้นอาจจะเป็น กางเกงไม่มีกระเป๋าเลยต้องมัดเงินติดกับเสื้อ หรือ มีไว้ให้เราแกว่งเล่นตอนที่เรากำลังเบื่อๆ แต่ถึงวันนี้เราได้รู้สิ่งที่พวกท่านสอนเราแล้ว
2. คุณแม่มักสอนให้เราหยอดกระปุก
“เงินห้าบาทที่มือ หยอดใส่รูตรงนี้” หรืออาจจะเป็นคำกล่าวอื่นๆให้เราได้ยิน ใครหลายๆคนนั้นหรือทุกคนเลยก็ว่าได้ที่มักถูกสอนให้ออมเงินกับกระปุกออมสิน หรือหยอดเงินเหรียญที่มีอยู่ใส่กระปุกหมูตัวอ้วนๆ ทั้งๆที่รายรับของเรานั้นก็ไม่ค่อยจะมีเท่าไหร่แต่เราเชื่อว่า พวกเราหลายๆคนนั้นเพียรที่จะเก็บเงินใส่หมูอย่างแน่นอน ได้เงินไม่ว่าจากที่ไหนก็ตาม เราอาจจะนึกถึงกระปุกหมูที่บ้านหรือนึกถึงกระปุกออมสินที่บ้านของเราก่อนเป็นอันดับแรก หรือเราอาจจะได้เงินค่าขนมไปกินที่โรงเรียนแล้วเราก็เลือกที่จะอดข้าวไม่เลือกที่จะใช้เงินแล้วนำเงินเหล่านั้นเก็บไว้ที่บ้าน ถ้าใครหลายๆคนนึกถึงตัวเองเมื่อก่อนนั้นคงจะตลกน่าดู การที่คุณพ่อคุณแม่สอนเราให้รู้จักหยอดเงินลงกระปุกออมสินนั้นก็นับว่าเป็นสิ่งที่เราทุกคนนั้นได้รู้อย่างแน่นอนว่าพวกท่านต้องการจะสอนอะไรเรา แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือความรู้สึกเกี่ยวกับความสำคัญกับการออมเงิน คุณพ่อคุณแม่ของเรานั้นจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการออมเงินที่มาก แต่เรานั้นอาจจะไม่รู้สึกอะไร หรือรู้สึกเพียงแค่เก็บเงินใส่ประปุกก็พอ นับได้ว่าเป็นเรื่องที่เราเก็บมาคิดแล้ว ก็รู้สึกตลกกับตัวอีกเรื่องหนึ่ง
3. คุณแม่มักจะไม่ตามใจเราเมื่อเราอยากได้ของเล่นสักชิ้นหนึ่ง
ของเล่นสักชิ้นที่เราอยากได้ ของเล่นสักชิ้นที่คุณพ่อคุณแม่นั้นไม่เลือกที่จะซื้อให้เรา เราอาจจะรู้สึกโกรธคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อยในสิ่งต่างๆเหล่านั้น แต่เชื่อมั่นได้เลยพวกพวกเขาหวังดีกับเราแน่นอน เพราะเมื่อใดก็ตามที่คุณพ่อคุณแม่ตามใจเราแล้วนั้น เราอาจจะเสียคนและอ้อนอยากได้ชิ้นอื่นๆอย่างแน่นอน การที่คุณพ่อคุณแม่ขัดใจเรานั้น นับได้ว่าเป็นการสอนให้เราไม่ฟุ่มเฟือยเกี่ยวกับการใช้เงินและบอกเราเสมอว่าให้หักห้ามใจตัวเอง แต่พวกเราทุกคนนั้นอาจจะเข้าใจว่า คุณพ่อคุณแม่ใจร้ายไม่ตามใจเราหรือจะงกไปทำไมเงินเดี๋ยวก็หาใหม่ได้ สิ่งที่เราเข้าใจในตอนนั้นนับได้ว่าเป็นความเข้าใจของเด็กไร้เดียงสาเสียจริง
สิ่งต่างๆที่กล่าวมานั้น อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำในวัยเด็กของเรา ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับการเงินที่พวกท่านได้ปลูกฝังเราอีกมากแต่เรานั้นไม่รู้สึกหรืออาจจะกลับมาคิดได้ทีหลังเมื่อโตขึ้น พวกเราทุกคนนั้นได้รับการหล่อหลอมเกี่ยวกับเรื่องการเงินเพียงแต่เราทุกคนนั้นไม่รู้สึกหรืออาจจะแอบต่อต้านอย่างอ้อมและบางทีก็อาจจะไม่คนจำนวนไม่น้อยที่หลังจากได้อ่านบทความนี้แล้วกลับไปมัดเงินเหรียญติดกับเสื้อของลูกก็เป็นได้นะ