เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2559 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา มีการประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 16/2559 เรื่อง การประมูลคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ตาม มาตรา 44 ให้กรรมการ กสทช. จัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิร์ตซ์ ช่วงความถี่วิทยุ 895-905 เมกะเฮิร์ตซ์ คู่กับคลื่น 940-950 เมกะเฮิร์ตซ์ ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 โดยจะตั้งราคาเริ่มต้นประมูลที่ 75,654 ล้านบาท ส่วนลูกค้าเอไอเอส จะคุ้มครองจนถึง 30 มิถุนายน 2559 หรือจนกว่าจะออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะประมูล ซึ่งประเด็นนี้ก็ได้กลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็ได้เกิดการวิเคราะห์ ดังนี้
โดยก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ได้ออกมาแนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงหุ้น ADVANC หากราคาประมูลคลื่นไม่ต่ำกว่า 7.6 หมื่นล้านจริง
เนื่องจากหากได้คลื่นมาที่ราคา 7.6 หมื่นล้านบาทหรือสูงกว่านั้น ทางADVANC จะต้องมีการตัดค่าใบอนุญาตดังกล่าวเป็นค่าเสื่อมราคาปีละเกือบๆ5000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นราว 10% ของกำไรของปีก่อนหน้าเลยทีเดียว และเมื่อมีข่าวออกมาแล้วว่าการตั้งราคาเริ่มต้นประมูลจะอยู่ที่ 75,654 ล้านบาท จึงทำให้ราคาเหมาะสมที่นักวิเคราะห์ออกมาให้ของหุ้น ADVANC ต้องลดลง โดยเฉลี่ยราว 20 บาท และที่เห็นหนักที่สุดคือบทวิเคราะห์ของบัวหลวงที่มองว่า ถ้า ADVANC ได้คลื่นไปที่ราคา 7.6 หมื่นล้าน ราคาเป้าหมายจะลดลงถึง 35 บาท ซึ่งก็ดูจะเป็นปัญหาเป็นอย่างมาก และคงต้องจับตามองกันต่อไป
การที่มีการลดราคาเหมาะสมของหุ้น ADVANC ลง อาจจะมีเหตุผลอย่างอื่นๆอีกนอกจากค่าเสื่อมราคาของใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิร์ตซ์ต่อปีที่สูงลิบลิ่วแล้ว ดังนี้
- นักวิเคราะห์หรือนักลงทุนเองมีบางส่วนที่เชื่อว่าการที่ ADVANC คิดผิดที่ไม่ยอมสู้ประมูลแข่งกับ TRUEตั้งแต่การประมูลครั้งที่แล้ว
และเริ่มแสดงอาการร้อนรนอย่างเห็นได้ชัดในการที่พยายามจะยื่นข้อเสนอต่อ กสทช. ที่จะจ่ายเงิน 7.5 หมื่นล้านบาท ที่ JAS สละสิทธิทิ้งคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ เพื่อให้ได้คลื่นไปโดยไม่ต้องจัดการประมูลใหม่อีกครั้ง ซึ่งอาการร้อนรนดังกล่าวของ ADVANC นั้นแสดงให้เห็นเหมือนว่าทาง ADVANC ต้องการคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ พอสมควร ซึ่งมันสะท้อนว่าการที่ ADVANC ไม่ได้คลื่น900 เมกะเฮิร์ตซ์ไป ก็ส่งผลต่อบริษัทไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะ การที่อยู่ๆบริษัทจะยอมจ่ายเงินที่ราคานี้เพื่อให้ได้คลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ นั่นแสดงว่า ผลกระทบจากการที่บริษัทไม่ได้คลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์นั้น มันมากกว่าที่เคยประเมินไว้ เป็นต้นว่า อาจมีลูกค้าย้ายออกไป TRUE มากกว่าที่ประเมิน หรือแม้แต่ ภาพลักษณ์ของบริษัทที่อาจจะดูแย่ลงหลังจากไม่มีคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งก็มีแนวโน้มจะกลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจไม่น้อยเลย แถมยังอาจต้องเกิดการถกเถียงกันอีกครั้ง
- กลุ่มลูกค้าที่เคยใช้บริการ 2G ที่ถูกทาง ADVANC เร่งรัดให้มีการย้ายไปใช้บริการบนเครือข่าย 3G
ซึ่งเมื่อลูกค้ากลุ่มนี้ย้ายไปใช้บริการ 3G แล้วทางบริษัทก็ต้องสนับสนุนค่าเครื่องที่รองรับระบบ 3G ส่วนหนึ่งให้กับลูกค้ากลุ่มนี้ไปแล้ว ดังที่เราเห็นกันทั่วไปตามห้างสรรพสินค้าที่มีช็อป ของ AIS นอกจากค่าเครื่องที่ได้สนับสนุนไปแล้วยังมีค่าใช้จ่ายที่ใช้ในวางเสาที่รองรับคลื่น 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นเพื่อบริการลูกค้าให้ทั่วถึงอีกด้วยเนื่องจากการใช้งาน 3G ในพื้นที่ห่างไกลนั้น ยังด้อยกว่าการใช้คลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ของเดิมที่เคยใช้อยู่มากหากไม่วางเสาเพิ่ม แต่ถ้าบริษัทเกิดไปประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ ได้มา ทางบริษัทจะทำอย่างไรเพราะ ถ้าเร่งวางตามแผนเดิม ก็เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มเนื่องจากลูกค้า 2G ที่เหลือคงไม่ย้ายมาแล้ว แต่ถ้าไม่วาง ลูกค้า 2G ที่ย้ายไป 3G ก่อนหน้านี้จะเป็นอย่างไร เพราะสัญญาณก็จะไม่ดี ลูกค้าอาจจะรู้สึกไม่ดี และอาจหนีไปค่ายอื่นๆได้
ส่วนที่กล่าวมาในข้อ 1 และ2 อาจจะยังเป็นเพียงแค่การคาดการณ์ เพราะ ณ ปัจจุบัน ก็ยังไม่มีรายงานออกมาว่าตัวเลขลูกค้าในบริษัทที่ให้บริการมือถือทั้งสามเจ้ามีความเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ มากน้อยอย่างไร ซึ่งทั้งหมดจะเฉลยออกมาพร้อมกับการประกาศงบผลประกอบการไตรมาส 1 ของปีนี้ ถ้าหากว่าลูกค้าของADVANC หายไปมากกว่าที่คาด นั่นแสดงว่า ADVANC คิดผิดที่ไม่ยอมสู้ประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ แข่งกับ TRUEตั้งแต่การประมูลครั้งที่แล้ว เพราะทำให้แทนที่ ADVANCจะเอาคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์มา เพื่อที่จะบริการลูกค้าต่อและไม่เสียลูกค้าส่วนหนึ่งไปให้กลับTRUE ตั้งแต่แรก สุดท้ายถ้าเสียลูกค้าไปแล้ว แต่กลับมาเอาคลื่นหลังจากที่ลูกค้าส่วนหนึ่งได้หนีไปแล้วฟังแล้วก็อาจจะดูไม่เข้าท่าสักเท่าไหร่
นอกจากนี้ก็มีเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างที่เรียกได้ว่าไม่ค่อยจะคุ้มค่ากับการลงทุนซักเท่าไหร่หากได้คลื่น900 เมกะเฮิร์ตซ์มา อย่างเรื่องของการสนับสนุนค่าเครื่องที่รองรับระบบ 3G ส่วนหนึ่งให้กับลูกค้าและวางเสาที่รองรับคลื่น 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ ที่ได้กล่าวไป จึงนำไปสู่บทสรุปของมุมมองในแง่ลบต่อบริษัทในที่สุด ซึ่งอย่างไรก็ตาม ก็ยังคงดูเหมือนว่าสงคราม 4G จะยังไม่จบ อาจจะมีการถกเถียงกันขึ้นมาใหม่ ส่วนเรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้นก็คงต้องติดตามกันต่อไป เพื่อดูผลต่อไปนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม : โปรมือถือแบบรายเดือน เลือกแพ็กเกจไหนดี ค่ายไหนดี ?