ข่าวจาก : http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1448979738
หลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ช่วงปลายปีนี้ มีผลการศึกษาของภาครัฐและเอกชนพบว่า ปัจจุบันมีสินค้าอุตสาหกรรมแบ่งเป็น 52 กลุ่ม จำนวนนี้มีถึง 14 กลุ่มสินค้าไทยที่เสียเปรียบแน่นอนหากไม่รีบปรับตัว อาทิ รองเท้า เครื่องดนตรี เชื้อเพลิงจากแร่ น้ำมัน ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม ปุ๋ย เครื่องหนัง ฯลฯ
จั่วหัวมาแค่นี้คงพอนึกภาพออกแล้วใช่ไหมที่คนไทยหลายคนหวังว่า เปิด AEC แนวโน้มอาชีพต่างๆจะดีขึ้น มีโอกาสได้ไปทำงานต่างประเทศในกลุ่มสมาชิก การค้าตามจังหวัดแนวชายแดนจะบูม การท่องเที่ยวจะดี บอกเลยว่าเพื่อนบ้านเราเขาก็คิดเหมือนเราและเขาก็คงจะหาทางให้ประเทศของเขาคนของเขาได้ประโยชน์ด้วยเช่นเดียวกับเรา จากที่พาดหัวมา 14 กลุ่มสินค้าไทยที่เสียเปรียบอย่างที่ยกตัวอย่างมา มันเป็นสินค้าหลักของการบริโภคในบ้านเราหลายอย่างเหมือนกัน และยังรวมถึงกลุ่มสินค้าประเภท เหล็กและเหล็กกล้า เฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอจากพืช ผลิตภัณฑ์ยางพารา กระดาษและกระดาษแข็ง เครื่องจักร อากาศยาน อาวุธและกระสุน ที่มีแนวโน้มจะเสียเปรียบหากเทียบกับเพื่อนบ้านในกลุ่ม AEC ส่วนกลุ่มที่มีแนวโน้มดีคือ ยานยนต์และชิ้นส่วน พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ ผลิตภัณฑ์เหล็ก พรมและสิ่งทอปูพื้น
อ่านแล้วมองเห็นแนวโน้มอะไรบ้างไหม การได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงการค้ามันมีหลายอย่าง ทั้งคุณภาพสินค้า ต้นทุนการผลิต ราคาขาย แหล่งวัตถุดิบ และอื่นๆซึ่งเราต้องแข่งขันกับหลายประเทศเพราะเขาก็มีสินค้าเหมือนเราทำการส่งออกเหมือนเรายิ่งเปิดเขตการค้าเสรีแบบนี้ การแข่งขันจะดุเดือดมากกว่าเดิมแม้ว่าตอนนี้ไทยจะเสียเปรียบเรื่องการส่งออกหลายอย่างแต่ไม่ใช่ว่าเราจะสู้ไม่ได้ ภาครัฐต้องมีการวางนโยบายสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าต่างๆอย่างจริงจัง ลดปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวที่กลายเป็นประเด็นกีดกันสินค้าของไทยในกลุ่มยุโรปบางประเทศ เรื่องเหล่านี้ภาครัฐต้องแก้ปัญหาให้ถูกจุดเพราะไม่เช่นนั้นสินค้าบางชนิดของไทยจะตกอันดับในตลาดโลก นอกจากนี้ผู้ประกอบการเองต้องมีการพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้นในด้านของคุณภาพ ดีไซน์ และราคา เพราะอย่างที่กล่าวเพื่อนบ้านเขาก็ทำเหมือนเราแน่นอนว่าเขาต้องแข่งกับเรา
ดังนั้นจึงต้องหันมาพัฒนาสินค้าตัวเองให้ก้าวหน้า และเมื่อ เปิด AEC การนำสินค้าจากประเทศเหล่านี้มาขายก็ทำได้ง่ายขึ้นด้วยจึงมีแนวโน้มที่อาจโดนแย่งลูกค้าในประเทศได้อีก ส่วนเรื่องแรงงานแน่นอนว่าสามารถเข้ามาทำงานในกลุ่มประเทศสมาชิกได้แต่ต้องเข้ามาอย่างถูกต้องและสิ่งที่แรงงานไทยเสียเปรียบคือ ภาษา เพราะหลายประเทศในกลุ่มสมาชิกใช้ภาษาอังกฤษกันเป็นภาษราชการ และมีภาษาพูดที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น สิงค์โปร มาเลเซีย ที่ประชาชนส่วนใหญ่พูดเขียนได้ทั้ง จีน อังกฤษ และภาษาท้องถิ่นอย่าง ยาวี หรือ ภาษาแขก ฟิลิปปินส์ก็มีภาษาถิ่น และอังกฤษ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ประเทศเหล่านี้เคยเป็นเมืองขึ้นต่างชาติ มีทั้งอังกฤษ และ ฝรั่งเศส ดังนั้นพื้นฐานภาษาของเขาได้เปรียบกว่าเราแม้ว่า 4 ประเทศหลังจะมีการพัฒนาล้าหลังกว่าเราแต่ตอนนี้เหมือนจะก้าวมาติดๆแล้ว
บอกเลยว่าไทยไม่พร้อมที่จะสู้กับประเทศในกลุ่ม AEC เพราะประชาชนยังไม่มีการพัฒนาด้านพื้นฐานทางภาษา แม้ว่าจะมีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แต่ยังไม่ครอบคลุมคนที่ พูดและเขียนอ่านภาษาอังกฤษระดับใช้งานได้จริงยังมีไม่มาก ส่วนภาษาอื่นๆก็เรียนกันตามความสนใจ การเรียนรู้ว่า AEC คืออะไรสำคัญอย่างไรตามโรงเรียนสอนไม่กว้าง ตามหน่วยงานต่างๆไม่ตื่นตัวและไม่พัฒนาเพื่อก้าวเข้าสู่ AEC มีบางแห่งเท่านั้นที่เตรียมพร้อมกับการเปิดการค้าเสรี สิ่งเหล่านี้สะท้อนได้ชัดว่าเราไม่มีการเตรียมพร้อมอะไรเลย
ในขณะที่ประเทศอื่นๆเขามีการเตรียมพร้อมมากกว่าเรา เตรียมแข่งขันความได้เปรียบทางด้านต่างๆกับเราแล้ว ไม่แน่หลัง เปิด AEC หลายๆบริษัทอาจรับแต่พนักงานจากประเทศเหล่านี้ก็ได้ เพราะเขามาทำงานได้ถูกกฎหมายไม่ต้องหลบๆซ่อน และแรงงานเหล่านี้บางส่วนมาจากประเทศที่ค่าแรงน้อยกว่าเรา เขาก็ต้องอยากได้งานอยากทำงานก็คงมาแย่งงานกับแรงงานไทยทุกวันนี้ก็เห็นๆกันอยู่ ปัญหาต่างๆก็คงมีตามมาอีกซึ่งสรุปแล้วยังไม่รู้เลยว่า เปิด AEC แล้วมันจะดีหรือไม่ดี รอลุ้นกันในปีหน้าคงเห็นอะไรชัดเจนยิ่งขึ้น