ความต้องการในการนำเงินไปลงทุนของคนเรานั้นเหตุผลหลัก ๆ ก็เพื่อบริหารให้เงินนั้นงอกเงยได้ผลตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่งคั่งและมั่นคงให้กับอนาคตของเรา ในปัจจุบันมีช่องทางการลงทุนอยู่หลายช่องทางด้วยกัน บางคนเก็บหอมรอมริบได้เป็นเงินก้อนใหญ่ แต่พอคิดอยากจะนำเงินไปลงทุนก็ไม่รู้ว่าจะลงทุนอย่างไรดี แน่นอนว่าทุกคนก็ต้องอยากได้ผลตอบแทนสูง ๆ แต่หากเสี่ยงมากไปก็ไม่น่าจะดี เราจึงควรต้องกระจายการลงทุนไปในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงหลากหลายเผื่อว่าการลงทุนตัวไหนที่ไม่ดีก็จะเกิดแค่เพียงส่วนเดียว ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถทำกำไรให้กับเราได้ ซึ่งคำถามคือเราควรจะแบ่งเงินลงทุนอย่างไรดีถึงจะเหมาะกับเราดีล่ะ
เพราะเป้าหมายจะเป็นตัวกำหนดว่าเราควรแบ่งเงินลงทุนอย่างไร เช่น ต้องการลงทุนเพื่อหักลดหย่อนภาษี ต้องการลงทุนเพื่อให้ผลตอบแทนทันกับเงินเฟ้อ ต้องการลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยหรือต้องการลงทุนเพื่อมีเงินใช้ยามเกษียณ เป้าหมายในการลงทุนยังเป็นตัวบอกถึงความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้และระยะเวลาในการลงทุนว่าเราจะลงทุนแบบสั้นหรือยาวด้วย จากนั้นก็เป็นเรื่องของทางเลือกในการลงทุนว่ามีช่องทางไหนบ้าง เราต้องศึกษาและทำความเข้าใจในทางเลือกเหล่านั้นว่ามีผลตอบแทนและความเสี่ยงเป็นอย่างไร สิ่งสำคัญอีกเรื่องก็คือการดูจังหวะในการเข้าลงทุนก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เราได้ผลตอบแทนมากหรือต้องเจอกับความเสี่ยงมากเช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม : ปรับ พอร์ตการลงทุน ของตัวเองให้ตรงแต่ละช่วงอายุ
สำหรับเรื่องจะแบ่งเงินลงทุนอย่างไรนั้น คำถามแรกที่จะต้องถามตัวเองก่อนก็คือเป้าหมายในการลงทุนของเราคืออะไร
เพราะเป้าหมายจะเป็นตัวกำหนดว่าเราควรแบ่งเงินลงทุนอย่างไร เช่น ต้องการลงทุนเพื่อหักลดหย่อนภาษี ต้องการลงทุนเพื่อให้ผลตอบแทนทันกับเงินเฟ้อ ต้องการลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยหรือต้องการลงทุนเพื่อมีเงินใช้ยามเกษียณ เป้าหมายในการลงทุนยังเป็นตัวบอกถึงความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้และระยะเวลาในการลงทุนว่าเราจะลงทุนแบบสั้นหรือยาวด้วย จากนั้นก็เป็นเรื่องของทางเลือกในการลงทุนว่ามีช่องทางไหนบ้าง เราต้องศึกษาและทำความเข้าใจในทางเลือกเหล่านั้นว่ามีผลตอบแทนและความเสี่ยงเป็นอย่างไร สิ่งสำคัญอีกเรื่องก็คือการดูจังหวะในการเข้าลงทุนก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เราได้ผลตอบแทนมากหรือต้องเจอกับความเสี่ยงมากเช่นกัน
มีผลงานวิจัยเรื่องการลงทุนที่บอกอย่างชัดเจนถึงความสำเร็จในการควบคุมความเสี่ยงจากการลงทุนนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่องการจัดสรรเงินลงทุนถึง 94% อีก 6% จะเป็นเรื่องของการเลือกประเภทของสินทรัพย์ที่จะลงทุนและการเลือกจังหวะในการลงทุน จะเห็นได้เลยถึงความสำคัญของการแบ่งเงินลงทุนว่ามีส่วนสำคัญในการจัดการความเสี่ยงในการลงทุนมากขนาดไหน
หากจะแบ่งประเภทของสินทรัพย์เพื่อลงทุนตามความเสี่ยงจากน้อยไปมากแบบกว้าง ๆ ก็จะได้ว่า เงินฝากธนาคารมีความเสี่ยงต่ำที่สุด รองลงมาก็คือตราสารหนี้และสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากที่สุดเพราะมีความผันผวนของราคามากที่สุดก็คือหุ้นนั่นเอง
ช่วงอายุหรือวัย ถือว่ามีส่วนสำคัญในการแบ่งเงินลงทุนอย่างมาก เพราะวัยจะเป็นตัวบอกถึงความสามารถในการสร้างรายได้ของคนเราได้ดี แนวทางในการแบ่งเงินลงทุนตามวัยสามารถทำได้ดังนี้
- วัยเรียนจบเริ่มทำงาน ช่วงวัยนี้ถือว่าเป็นช่วงนาทีทองแห่งการลงทุนของคนเราเลยก็ว่าได้ แต่ก็มีหลายคนเช่นกันที่ปล่อยให้ช่วงเวลาทองเหล่านี้ผ่านไปโดยที่ไม่ได้เริ่มลงทุนอะไรเลย ที่บอกว่าเป็นเวลาทองก็เพราะเป็นวัยที่แม้รายได้จะยังไม่มาก แต่ค่าใช้จ่ายก็น้อยด้วยเช่นกัน ภาระต่าง ๆ ยังมีไม่มาก เพราะส่วนใหญ่จะยังไม่มีครอบครัว ระยะเวลาในการทำงานมีรายได้ก็อีกยาวนาน การลงทุนจึงสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงอย่างเช่นหุ้น ได้มากถึง 90% ส่วนอีก 10% ก็ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความคล่องตัว เช่น เงินฝาก หรือ ตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทนที่แน่นอนและปลอดภัยกว่า
- วัยทำงานระยะกลาง ช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยที่คนเราจะมีภาระมากขึ้น ส่วนใหญ่จะมีครอบครัวมีลูก เริ่มมีบ้าน มีรถ มีค่าใช้จ่ายตามมามากมาย แม้รายได้จากการทำงานจะเพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยภาระความรับผิดชอบทำให้ไม่สามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้มากเท่ากับช่วงก่อนหน้านี้ การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงอย่างเช่นหุ้นจึงต้องถูกจำกัดลงมาเหลือเพียงแค่ประมาณ 50% เท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 50% ก็ให้เลือกลงทุนในทรัพย์สินที่มีความปลอดภัยอย่างเงินฝากธนาคารหรือตราสารหนี้
- วัยทำงานตอนปลาย วัยนี้แม้จะมีฐานะที่มั่นคงขึ้นเพราะภาระต่าง ๆ อาจเริ่มลดน้อยลง เช่น ลูกเรียนจบหมด บ้านและรถก็ผ่อนหมดเรียบร้อย แต่ระยะเวลาในการทำงานเพื่อมีรายได้ก็น้อยลงไปด้วย เงินลงทุนจึงไม่ควรนำไปเสี่ยงมากกับหุ้น ลดสัดส่วนลงให้เหลือประมาณ 30% อีก 70% ให้ลงทุนในตราสารหนี้หรือเงินฝากธนาคารที่มีความปลอดภัยมากกว่า
- วัยเกษียณ ถือเป็นวัยที่ไม่มีรายได้จากการทำงานแล้ว ยกเว้นรายได้ที่ได้จากการลงทุน การแบ่งเงินลงทุนในวัยนี้ไม่ควรรับความเสี่ยงมากเกินไป ควรนำเงินเก็บไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่แน่นอนมั่นคงและความเสี่ยงน้อยกว่าอย่างเช่น ตราสารหนี้หรือเงินฝาก หากอยากลงทุนในหุ้นจริง ๆ ก็ควรลงทุนไม่เกิน 10% เท่านั้น