อสังหาฯ ญี่ปุ่น (มิตซุย ฟูโดซัง) ลุยลงทุนต่อในประเทศไทย หลังจากร่วมมือกับ “อนันดา” เพื่อพัฒนาคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้า พร้อมต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่
บริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ อย่างกลุ่มมิตซุย ฟูโดซัง เข้ามาลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันได้ลงทุนต่อเนื่องในธุรกิจอสังหาฯ ของมิตซุยในไทย เตรียมขยายการลงทุนในไทยมากขึ้น โดยการมองหาธุรกิจใหม่ ๆ อย่าง โลจิสติกส์ โรงแรม สำนักงาน และเอาท์เล็ตในไทย
นอกจากนี้ กรรมการผู้จัดการ บริหาร บริษัท มิตซุย ฟูโดซัง จำกัด (นายอะกิฮิโก ฟูนาโอกะ) กล่าวว่า บริษัทจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยมากขึ้น โดยตั้งสำนักงานในไทยภายใต้ ชื่อ “มิตซุย ฟูโดซัง เอเชีย แบงคอก” เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโอกาสการลงทุนต่างๆ อาทิ มูลค่าทางการตลาด ลูกค้า ผู้บริโภค การลงทุน นอกจากนี้ยังเป็นการรองรับแผนขยายการลงทุนในอนาคตอีกด้วย
หลังจากการที่กลุ่มมิตซุย ฟูโดซัง ได้เข้ามาร่วมลงทุนกับบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) มากว่า 3 ปี มีการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมรวมแล้ว 12 โครงการ จำนวน 10,092 ยูนิต มูลค่า 57,000 ล้านบาท นับตั้งแต่ปี 2556
ซึ่งได้ลงทุนพัฒนาโครงการไปแล้ว 9 โครงการมูลค่า 45,000 ล้านบาท และมีอีก 3 โครงการ มูลค่า 12,000 ล้านบาท ที่กำลังเตรียมเปิดขายในไตรมาส 4 นี้ โดยปีนี้เป็นปีแรกที่เริ่มรับรายได้ จากโครงการแรก ได้แก่ ไอดีไอ คิว จุฬา-สามย่าน มูลค่าโครงการ 6,800 ล้านบาท จะเริ่มทยอยโอนในไตรมาสที่ 4 ปีนี้
เปิดแผนลงทุน 8 ประเทศ
แผนการลงทุนของกลุ่มมิตซุยฯ ทั่วโดย มีการวางแผนงบประมาณไว้ประมาณ 1.83 แสนล้านบาท ตั้งแต่ปี 2558 – 2560 เป็นการลงทุนใน 8 ประเทศหลัก คือ สหรัฐ, อังกฤษ, จีน, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์ และไทย โดยแบ่งสัดส่วนในการลงทุนในไทยและในแถบเอเชียประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ และอีก 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นสหรัฐและอังกฤษ
ในแต่ละประเทศที่เข้าไปลงทุนนั้น จะมีโมเดลการลงทุนที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ในสหรัฐและอักฤษ จะมีการลงทุนครบทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ คอนโด สำนักงาน และเซอร์วิสอพาร์เม้นท์ ส่วนในจีนและมาเลเซีย จะมีการลงทุนเฉพาะคอนโด และเอาท์เล็ต ในสิงคโปร์ มีการลงทุนในโรงแรม และคอนโด ขณะที่ไต้หวันมีการลงทุนแบบเอาท์เล็ตเพียงอย่างเดียว
สำหรับในประเทศไทยนั้น ทางบริษัทให้ความสนใจที่จะเพิ่มการลงทุน โดยเฉพาะกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับบริษัทในระยะยาวได้ ซึ่งประกอบไปด้วย อาคารสำนักงาน เซอร์วิสอาพาร์ตเม้นท์ และโรงแรม นอกจากนี้ ยังมีความสนใจจะลงทุนเพิ่มในส่วนของธุรกิจใหม่ ๆ อย่างเช่น ธุรกิจขนส่งและกระจายสินค้า (โลจิสติกส์) เนื่องจากเชื่อว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) การขนส่งและการกระจายสินค้าในอาเซียน ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบเอาท์เล็ต ที่เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่คาดว่าจะมีการเติบโตค่อนข้างมาก เพราะจากการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศไทยแล้ว พบว่า มีความชื่นชอบการช้อปปิ้ง จะมองมาธุรกิจประเภทนี้จะมีการเติบโตที่เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจใหม่อยู่ในช่วงการศึกษาตลาดและข้อกฎหมายต่าง ๆ คาดว่าจะใช้ระยะเวลา โดยการหาผู้ร่วมทุน หรือพันธมิตรในการขยายธุรกิจใหม่จะให้ความสำคัญกับ อนันดาฯ เป็นรายแรก
เปิดตัว 5 โครงการ ในปี 60 นี้
นายฟูนาโอกะ ยังกล่าวเพิ่มอีกด้วยว่า “ส่วนธุรกิจอสังหาฯ เพื่อขายนี้ทางบริษัทมีโครงการอยู่ระหว่างพิจารณาร่วมทุนในปี 2560 มากกว่า 5 โครงการ เน้นบริเวณที่ใกล้แนวรถไฟฟ้า” เนื่องจากการขยายตัวของเมือง และการขยายเส้นทางของรถไฟฟ้า ทำให้มีแนวโน้มที่อยู่อาศัยในรูปแบบคอนโดมีการเติบโตได้มากขึ้น และยังมีความต้องการอยู่มากขึ้นอีกด้วย จากตัวเลขที่อยู่อาศัยบริเวณแนวรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นมีสัดส่วนถึง 90% ขณะที่ในไทยมีสัดส่วนเพียง 50% เท่านั้น จึงมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
ทางด้าน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) (นายชานนท์ เรืองกฤตา) ได้กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาการพัฒนาโครงการร่วมทุนกับมิตซุยฯ ใหม่อีก 5 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 1.5 หมื่นล้านบาท เป็นโครงการคอนโดติดรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯทั้งหมด จึงได้ข้อสรุปในเดือน พ.ย. นี้ คาดว่าจะทยอยเปิดตัวในปี 2560 นี้
ส่วนอีก 6 โครงการ ที่เกิดขึ้นในไตรมาส 4
มีแนวโน้มว่าจะเปิดโครงการที่เหลือทั้งหมด 6 โครงการมูลค่าโครงการรวมกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นโครงการคอนโดร่วมทุนกับมิตซุยฯ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการ ไอดีโอ โมบิ อโศก มูลค่า 3,240 ล้านบาท, โครงการ ไอดีโอ สุขุมวิท93 มูลค่า 6,072 ล้านบาท และโครงการ ไอดีโอ โมบิ สุขุมวิท 66 มูลคา 2,288 ล้านบาท
โครงการที่บริษัทพัฒนาเองมีอีก 3 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 4,000 ล้านบาท ได้แก่ โครงการ ไอดีโอ พหลโยธิน-จตุจักร มูลค่า 2,513 ล้านบาท, โครงการ เวนิโอ สุขุมวิท 10 มูลค่า 875 ล้านบาท และโครงการ ยูนิโอ นิด้า-เสรีไทย มูลค่า 932 ล้านบาท โดยปีนี้จะสามารถเปิดโครงการได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 2.2 หมื่นล้านบาท ครึ่งปีแรกเปิดโครงการคอดโดเพียงอย่างเดียว ทั้งหมด 3 โครงการ มูลค่า 5,400 ล้านบาท
สำหรับยอดขายของบริษัทปัจจุบันสามารถทำได้อยู่ที่ 14,300 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปีนี้ที่ตั้งไว้ 22,000 ล้านบาท ยังมั่นใจว่ายอดขายดังกล่าวจะทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะในช่วงไตรมาส 4 ยังเปิดโครงการใหม่อีกเป็นจำนวนมาก ประกอบกับโครงการอื่นๆ ที่ยังอยู่ระหว่างรอขาย
เชื่อว่าสามารถดันรายได้ปีนี้ตามเป้าที่วางไว้
ทางด้านรายได้ ในปีนี้เชื่อว่าสามารถดันให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ 15,600 ล้านบาทได้ เนื่องจากครึ่งปีแรกทางบริษัทมีรายได้อยู่ที่ 5,480 ล้านบาท โดยช่วงที่เหลือของปีนี้ ทางบริษัทยอมรับว่า รายได้จากยอดขายรอโอน (Backlog) อีกประมาณ 12,000 ล้านบาท จากที่มีอยู่ทั้งหมด 38,500 ล้านบาท ยังเชื่อว่าทยอยรับรายได้ไปจนถึงปี 2561 เลยทีเดียว
ในขณะเดียวกันทางบริษัทได้ตั้งเป้าหมายรายได้ในปี 2560 – 2561 ว่ามีแนวโน้มจะเติบโตดีขึ้น โดยจะได้รับรายได้ปี 2560 อยู่ที่ 30,215 ล้านบาท และปี 2561 อยู่ที่ 42,300 ล้านบาท ทำให้บริษัทจึงขยายลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559