ด้วยชีวิตการทำงานที่วุ่นและรีบเร่งในปัจจุบันหลายคนอาจจะปวดหัวกับการบริหารการเงินตัวเอง บางครั้งก็อยากมีวินัยการเงินที่ดีกว่าปัจจุบัน แต่ก็ไม่คุ้นกับการจดบันทึกการเงินสักทีแล้วจะทำอย่างไรให้เก็บออมได้
- Money Book : สำหรับสาว ๆ หวาน ๆ ที่อยากหาแอพพลิเคชั่นน่ารัก ๆ มาช่วยจำรายละเอียดการเงินแต่ไม่ชอบความเรียบ ๆ แข็ง ๆ ของแอพพลิเคชั่นรุ่นเก่า ก็ขอนำเสนอ Money Book เลย เพราะคาร์แรคเตอร์ของตัวการ์ตูนอยู่ใน application ออกแนวสีชมพูพาสเทลน่าจะตรงใจหลาย ๆ คน Money Book เป็น application ด้านการเงินส่วนบุคคลที่ออกแบบโดยคนไทย สามารถเลือกใช้ได้หลากหลายภาษาทั้งภาษาไทย จีน อังกฤษ และญี่ปุ่น ผู้ใช้จะเห็นรายการรายรับรายจ่ายอยู่ในหน้าแรกของ application พร้อมกับแสดงยอดเงินคงเหลือและหน้าตาตัวการ์ตูนที่บ่งบอกสถานการณ์ทางการเงินของคุณ นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์หมวดรายได้และรายจ่ายของคุณอีกด้วย
โดยในส่วนของรายได้ มีการออกแบบช่องทางรายได้ไว้เหมาะกับคนสมัยใหม่ที่มักจะมีแหล่งรายได้มากกว่า 1 แห่ง เช่น หมวดเงินเดือน หมวดธุรกิจส่วนตัว และหมวดอื่น ๆ สำหรับด้านรายจ่ายก็แบ่งย่อยตามพฤติกรรมการใช้เงินของคุณตั้งแต่ หมวดการเดินทาง ท่องเที่ยว อาหาร บิลค่าใช้จ่าย บันเทิง ค่าน้ำค่าไฟ หมวดช้อปปิ้ง เป็นต้น เรียกว่าใช้งานง่าย ครบถ้วนความต้องการพื้นฐานในการบันทึกการเงิน แต่ข้อเสียของ application นี้บางส่วนคือ ยังไม่มีการลงรหัสป้องกันความเป็นส่วนตัว ซึ่งใครก็ตามที่สามารถเข้ามือถือได้ก็สามารถเห็นรายการทางการเงินได้ทั้งหมด ตรงนี้อาจต้องระวังเพิ่มเติมกันเอง
- DollarBird : สำหรับหลายคนที่ยังไงก็ตามการจัดการการเงินบนมือถือจะต้องเป็นเรื่องปกปิดส่วนบุคคล การมี application ที่ต้องใส่รหัสเบื้องต้นก่อนจะเข้าดูรายการทางการเงินได้อาจจะเป็นสิ่งสำคัญอันแรก ซึ่งจุดนี้ DollarBird มีการออกแบบให้ใส่รหัสก่อนทุกครั้ง การออกแบบค่อนข้างเรียบง่ายและตอบโจทย์ความต้องการของคนจัดการการเงินได้ดี เช่น หากมีรายจ่ายค่าผ่อนบ้านที่ต้องจ่ายประจำในแต่ละเดือนที่แน่นอนและเป็นวันที่แน่นอน Dollarbird สามารถกำหนดรายการทำซ้ำดังกล่าวได้เมื่อครบรอบ พร้อมกับออกแบบให้มีการเตือนล่วงหน้าสำหรับการชำระเงิน ซึ่งจะเหมาะมากสำหรับคนที่มักจะลืมจ่ายเงินเป็นประจำ
การใส่จำนวนเงินก็ออกแบบให้สามารถเลือกได้ว่าจะตัวเลขที่ใส่ต้องการจุดทศนิยมด้วยหรือไม่ ซึ่งจะต่างกับ application อื่น ๆ ที่มักใส่เป็นตัวเลขใกล้เคียง นอกจากนี้ในส่วนการวิเคราะห์ DollarBird ยังออกแบบให้ดูภาพรวมทั้งเดือนว่าแต่ละวันมีเงินคงเหลือเท่าไร และสามารถดูย้อนหลังได้ว่าในเดือนปัจจุบันและเดือนก่อนหน้านี้รวมแล้วมีรายจ่ายต่างกันอย่างไรเพิ่มขึ้นหรือลดลงกี่เปอร์เซนต์ทำให้สามารถวางแผนการจัดการเงินได้ แต่ทั้งนี้จุดอ่อนของ DollarBird คือ เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด อาจจะไม่สะดวกสำหรับคนไม่ถนัดภาษาอังกฤษ
- Wally : เป็นอีก application หนึ่งที่หลายคนอาจจะรู้จักแล้ว ด้วยโทนสีสดใสแนวพาสเทล และยังเป็นหนึ่งใน application ที่นิยมและโด่งดังมากในต่างประเทศ รูปแบบการทำงานของ Wally ค่อนข้างครบถ้วนทั้งเรื่องสกุลเงิน ระบุจำนวนเงินที่ใช้ไปแล้ว เงินคงเหลือ ด้วยขนาดตัวอักษรที่ใหญ่และโค้งมนทำให้ดูน่าอ่าน ลักษณะโทนสียังเป็นจุดเด่นที่ทำให้แอพพลิเคชั่นดูน่าใช้งาน อีกทั้งยังมีระบบป้องกันข้อมูลรั่วไหลโดยจะต้องใส่รหัสผ่านก่อนจึงจะเข้าใช้งาน Wally ได้
นอกจากนี้สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับ application นี้คือจะเห็นได้ว่านอกจากบันทึกการใช้จ่ายการเงินแล้ว wally ให้ความสำคัญกับเป้าหมายเงินออมด้วย โดยในส่วนของ Income เปิดให้ผู้ใช้สามารถระบุว่าเดือนนี้ต้องการให้มีเงินออมเหลืออยู่เท่าไหร่จากยอดเงินเดือนทั้งหมดที่มี ดังนั้นจึงมีส่วนช่วยให้ผู้บันทึกเห็นความเป็นไปของเงินในบัญชีทั้งหมดว่าใกล้จะหมดวงเงินที่ใช้ได้แล้วหรือยัง รวมถึงจำนวนเงินที่สามารถออมได้ในแต่ละเดือน นอกจากนี้รายละเอียดของ Wally ที่น่าสนใจคือ ใส่ใจในพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินว่าในแต่ละวันรายจ่ายสูงสุดเป็นหมวดอะไร ด้วยจำนวนเงินเท่าไร หรือคิดเป็นสัดส่วนเท่าไรของรายจ่ายทั้งหมด นอกจากนี้ Wally ยังเชื่อมโยงกับตำแหน่งการใช้จ่ายเงิน เช่น หากใช้จ่ายเงินที่ใดจำนวนเงินเท่าไร ผู้ใช้สามารถบันทึกสถานที่ที่ใช้จ่ายเงินลงไปใน Wally ได้เลยเพื่อเป็นกันลืม หรืออาจจะบันทึกใบเสร็จด้วยการถ่ายภาพเก็บไว้ก็สามารถทำได้เช่นกัน
ทั้งหมดนี้ทำให้ Wally เป็น application ที่ช่วยเตือนและการบันทึกข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้สาวก apple ดีใจได้เลย เนื่องจาก wally เป็นอีก Application หนึ่งที่เชื่อมโยงข้อมูลไว้กับ iCloud ดังนั้น หมดกังวลว่าข้อมูลจะสูญหายได้เลย แต่ทั้งนี้ Wally ก็ไม่ได้ออกแบบให้มีระบบเตือนการจ่ายเงินได้ ซึ่งหากใครต้องการระบบ application ที่เตือนการชำระเงินล่วงหน้าได้อาจจะต้องมองหาตัวอื่นมาเสริมในจุดนี้