สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนทำประกัน เนื่องจากประกันชีวิตเป็นสัญญาที่ต้องใช้ความสุจริตใจอย่างยิ่งในการทำสัญญา ดังนั้น คุณต้องแจ้งข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อผลประโยชน์ของตัวคุณเอง
อย่างกรณีที่คุณปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น คุณเป็นโรคใด โรคหนึ่งมาก่อน การทำประกันชีวิตและสุขภาพ โดยไม่ได้แจ้งกับตัวแทนก่อนทำประกัน ต่อมามีการเคลมประกันเกิดขึ้น แล้วบริษัทฯ สืบทราบว่าคุณ เคยเป็นโรคนั้น มาก่อนการทำประกัน ภายใน 2 ปี บริษัทฯ จะปฏิเสธการจ่ายสินไหมทดแทน และจะคืนเบี้ยประกัน หลังหักค่าใช้จ่าย หรือ ค่าดำเนินการต่าง ๆ หรือ มีการเคลมก่อนหน้านี้ แล้วคืนเบี้ยประกันส่วนต่างให้ทั้งหมด และยกเลิกสัญญาถือว่าสิ้นสุดสภาพของกรมธรรม์ฉบับนั้น ๆ โดยสมบูรณ์
แต่ถ้า คุณปกปิด และกรมธรรม์ส่งเบี้ยมาเกินกว่า 2 ปี แล้ว ทางบริษัทฯ มีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการจ่ายสินไหม เฉพาะโรคนั้น ๆ ที่เป็นมาก่อนการทำประกันชีวิต แต่ไม่ยกเลิกกรมธรรม์ ถือว่ากรมธรรม์ยังมีสิทธิ์ในการเคลมโรคอื่น ๆ ได้อีก ที่ไม่ใช่โรคที่เป็นมาก่อนการทำประกันชีวิต แต่บริษัทฯ ยังคงคุ้มครองสัญญาหลักอยู่ ถ้าหากผู้เอาประกันเสียชีวิต บริษัทฯ ต้องจ่ายสินไหมทดแทนทุนประกันหลัก
ตัวอย่าง : เป็นข้อมูลที่ได้มาจากฝ่ายเคลมของบริษัทฯ เพื่อประโยชน์ของผู้เอาประกัน และตัวแทนประกัน
มีอยู่เคสหนึ่ง ที่ผู้เอาประกันไม่ได้แจ้ง และบอกเกี่ยวกับสุขภาพของตนว่าเป็นโรคหนึ่ง ต่อมาผู้เอาประกันได้เคลมประกันโรคนี้ ซึ่งได้ส่งเบี้ยมาแล้วเป็นเวลา 4 ปี ก็เลยสอบถามตัวแทนว่า ถ้าจะเคลมโรคนี้ จะทำได้หรือไม่ ทางตัวแทนเอง ด้วยความเข้าใจผิดตลอดมาว่า “ถ้ากรมธรรม์ส่งเบี้ยเกินกว่า 2 ปี แล้วถึงแม้จะปกปิดข้อมูล ทางบริษัทฯ ก็ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน”
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทางบริษัทฯ ปฏิเสธ (ตามกฎเกณฑ์ 2 ข้อข้างต้น) และทางบริษัทจะจ่ายเฉพาะกรณีเสียชีวิตเท่านั้น แต่ด้วยความผิดของตัวแทนเอง และเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบ ตัวแทนจึงต้องจ่ายค่าสินไหมให้ผู้เอาประกัน ด้วยเงินของตนเอง
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเป็นบุคคลล้มละลาย
ลูกค้าที่ต้องการทำประกันชีวิตได้นั้น นอกจากจะต้องมีสุขภาพที่ดี มีกำลังเงินที่จะทำ ไม่ติดสารเสพติด หรือต้องโทษคดีอาญา และต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ถึงจะสามารถทำประกันชีวิตได้ เนื่องจากมีลูกค้าหลาย ๆ คนถามเกี่ยวกับเรื่องเป็นบุคคลล้มละลาย ว่าสามารถทำประกันได้หรือไม่
ก่อนอื่น เราต้องบอกว่า การทำประกันชีวิตนั้นเป็นโครงการระยะยาว บางครั้งบางช่วงของชีวิต คุณอาจเกิดเหตุการณไม่คาดฝัน อย่างเช่น ผิดพลาดทางธุรกิจ แล้วเกิดล้มละลาย หลังจากทำประกันชีวิตไปแล้ว จะเกิดผลอย่างไร ลองอ่านรายละเอียดดังนี้
- กรณีที่ผู้เอาประกันเป็นบุคคลล้มละลาย แล้วต่อมามีการเคลมสินไหมทดแทนเกิดขึ้น แบ่งเป็น
- กรณีเสียชีวิต หากผู้เอาประกันเสียชีวิต ในกรณีนี้ทางบริษัทฯ จะจ่ายเบี้ยที่ผู้เอาประกันส่งมาทั้งหมดคืนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ ส่วนที่เหลือ ทุนประกันหลังหักค่าเบี้ยแล้ว บริษัทฯ จะส่งคืนให้ผู้รับผลประโยชน์ตามลำดับ
- กรณียังมีชีวิตอยู่ แต่มีการเคลมค่ารักษาพยาบาล หรือสัญญาเพิ่มเติมอื่น ๆ ในกรณีเช่นนี้ ถ้ามีการจ่ายเคลมเกิดขึ้น บริษัทฯ จะยังจ่ายคืนผู้เอาประกันไม่ได้ เนื่องจากโดนพิทักษ์ทรัพย์ แต่ถ้าหากผู้เอาประกันได้ถูกถอนจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว มาขอคืนภายหลัง ก็สามารถทำได้
- กรณีผู้รับผลประโยชน์เป็นบุคคลล้มละลาย ในกรณีนี้ทางบริษัทฯ จะไม่สามารถจ่ายเคลมค่าสินไหมได้ เนื่องจากผู้รับผลประโยชน์โดนพิทักษ์ทรัพย์ (ถ้าเป็นไปได้ ก็ไม่ควรให้ผู้รับผลประโยชน์ที่เป็นบุคคลล้มละลาย ควรเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ เป็นคนใหม่น่าจะดีกว่า)
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของคุณเอง ควรจะสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ หากมีข้อสงสัย และควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเพราบางครั้ง ข้อจำกัด ปลีกย่อย บางอย่าง ตัวแทนเองก็ยังนึกไม่ถึง ถ้าไม่อย่างเจอเคสกับตัวเอง ก็จะไม่รู้ ไม่ได้ตั้งใจจะปกปิด แต่ข้อมูลมาก ในบางครั้งก็อาจจะตกหลุ่น หรือไม่รู้ข้อมูลบางอย่างเชิงลึกของผู้เอาประกัน ก็ไม่สามารถให้คำแนะนำ หรือครอบคลุมได้ทั้งหมด
ข้อยกเว้นการเอาประกันชีวิต
- ผู้เอาประกันขาดการชำระเบี้ยประกันเกินกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน 31 วัน
- แจ้งข้อมูลเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อมูลอันเป็นสารสำคัญ
- ผู้เอาประกันฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี
- ผู้รับผลประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกัน
สำหรับคำถามที่ว่า บุคคลล้มละลายสามารถทำประกันได้หรือไม่นั้น
คำตอบ : บุคคลล้มละลายจะทำสัญญาประกันภัย หรือนิติกรรมใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน หากมิได้รับความยินยอม สัญญาประกันภัย หรือนิติกรรมดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ ตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย สำหรับเบี้ยประกันที่ได้ชำระไปแล้วนั้น สามารถเรียกคืนในฐานะลาภมิควรได้
ขอบคุณ : ข้อมูลบางส่วนจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)