ในปี 2012 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ ( Southeast Asia ) ได้แก่ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไนและติมอร์เลสเต ได้รับเงินส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมแรงงานระหว่างประเทศกระจายอยู่ทั่วโลกเกือบ 48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในปี 2013 ข้อมูลจากกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาทางด้านเกษตรและธนาคารโลก ผลออกมาว่า ประเทศฟิลิปปินส์ได้รับเงินเป็นอันดับสามของโลก รองจากประเทศอินเดียและประเทศจีน ส่วนทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ (Southeast Asia) ประเทศฟิลิปปินส์เป็นเจ้าใหญ่ที่สุด รองลงมาเป็นประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทย ตามลำดับ
สำหรับการทำธุรกรรมการโอนเงินระหว่างประเทศของภูมิภาค Southeast Asia ถือเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และกำลังให้ความนิยมในเรื่องของนวัตกรรมการโอนเงินรูปแบบใหม่ ด้วยเครือข่ายทางการเงินในโลกอินเตอร์เน็ต อย่าง Bitcoin
Bitcoin คือ สกุลเงินดิจิตอล ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของระบบเน็ตเวิร์คคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า เงินตราเสมือน (Virtual Currency) ในโลกดิจิตอล ไม่ได้เป็นสกุลเงินที่ออกโดยธนาคารกลางใดๆแบบทั่วไป แต่ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อใช้ในการจ่ายเงิน แลกเปลี่ยนสินค้า หรือบริการชนิดใหม่ แทนเงินในสกุลแบบเก่า ที่เราคุ้นเคย เช่น USD, JPY, EUR หรือ THB นั่นเอง
Bitcoin กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะด้วย Bitcoin สามารถทำให้การโอนเงินหรือการจ่ายเงินในโลกอินเตอร์เน็ตสะดวกสบายและยังมีต้นทุนที่ถูกลง ในการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งในเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามได้ใช้บริการเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกไปแล้ว และรวมถึงประเทศอื่นๆ เช่นประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น ด้วยการใช้แพลตฟอร์มการโอนเงิน Bitcoin ผ่านช่องทางการเงินระบบเครือข่ายดิจิตอล สำหรับการแลกเปลี่ยน สกุลเงินดิจิตอล อย่าง Bitcoin โดยใช้หลักการเดียวกันในการวางแผน เพื่อการการพัฒนาและการเติบโตในการบริการให้ครอบคลุมทั้งภูมิภาคด้านอุตสาหกรรมแรงงานระหว่างประเทศ
อ่านเพิ่มเติม : Bitcoin เป็นเรื่องถูกกฎหมายหรือเปล่า ?
สำหรับความโดดเด่นของแพลตฟอร์ม Bitcoin ทางเลือกใหม่ทางการเงินสู่อุตสาหกรรม Southeast Asia มีดังนี้
เหมาะสำหรับการโอนเงินจำนวนไม่มาก:
Bitcoin เป็นทางเลือกสำหรับการโอนเงินจำนวนน้อย สำหรับแรงงานระหว่างประเทศที่มีขนาดเล็ก กล่าวคือ อุตสาหกรรมด้านแรงงานระหว่างประเทศของภูมิภาค Southeast Asia แพลตฟอร์ม Bitcoin เป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจสำหรับการโอนเงินระหว่างประเทศ
สำหรับ Bitcoin ในประเทศเวียดนาม ก่อตั้งโดย Dominik Weil เขาเชื่อว่า Bitcoin เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก ด้วยการโอนเงินผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแหล่งแรงงานที่มีอุตสาหรรมด้านแรงงานขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและเยอรมัน เป็นต้น การบริการโอนเงินในปัจจุบันของรูปแบบเดิม เปิดโอกาสน้อยมากที่จะเป็นทางเลือกสำหรับการโอนเงินจำนวนน้อย เพราะด้วยค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมทางการเงินแบบเดิม โดยปกติการโอนเงินโดยทั่วไปของระบบเดิมแบบสกุลเงินเก่าอย่าง USD ซึ่งเป็นระบบการเงินที่ผ่านทางธนาคารกลางทั่วโลก ซึ่งด้วยระบบค่าธรรมเนียมของการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ มีค่าธรรมเนียมที่สูงสำหรับเป็นเงินจำนวนเหรียญสหรัฐ ย่อมมีผลกระทบต่อการการทำธุรกรรมทางการเงินที่มีขนาดเล็ก ในพื้นที่ของกลุ่มแรงงานระหว่างประเทศที่มีเพียงไม่กี่ดอลล่าห์ในการทำธุรกรรมทางการเงิน แพลตฟอร์ม Bitcoin จึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมด้านแรงงานระหว่างประเทศของภูมิภาค Southeast Asia ที่มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างประเทศของธนาคารที่มีการแข่งขันสูง
ค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า รวดเร็วกว่าและสามารถถอนเงินผ่านช่องทางปกติได้
Blockchain คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ หรือเป็นระบบจัดการฐานข้อมูล ที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงสินทรัพย์ชนิดอื่นๆ อีกในอนาคต โดยไม่มีตัวกลางคือสถาบันทางการเงิน สำหรับระบบทางการเงินของ Bitcoin จะถูกเก็บไว้ใน Wallet หรือ กระเป๋าเงินดิจิตอล ที่มีความปลอดภัยสูง เมื่อมีการทำธุรกรรมทางการเงินเกิดขึ้น เงินในกระเป๋าจะถูกส่งไปยังกระเป๋าผู้รับอย่างรวดเร็ว มีระบบการตรวจสอบจากคอมพิวเตอร์ด้วยความปลอดภัย และ Bitcoin มีต้นทุนที่ต่ำในการทำธุรกรรมทางการเงิน กล่าวคือ สามารถส่งเงินผ่านถึงกันได้โดยตรง โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคาร และ Bitcoin จะเป็นผู้ได้รับผลตอบแทนจากการประมวลผลทางธุรกรรมนี้โดยตรง และการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน Bitcoin ไม่สามารถตรวจสอบจากสถาบันการเงินและหน่วยงานของรัฐได้อีกด้วย
นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาในรูปแบบบริการร่วมอย่างพันธมิตรกับธนาคารหรือสถาบันทางการเงินอื่นๆ เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินสะดวกสบายมากขึ้น สามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านหลากหลายช่องทางได้ตามปกติแบบการเงินทั่วไป ไม่ว่าจะทางออนไลน์ ทางสมาร์ทโฟน แม้กระทั่งระบบการเงินแบบ Western Union คือ การบริการ รับส่ง เงินตรา ต่างประเทศ และยังมีการร่วมมือในเรื่องการรักษาความปลอดภัยกับทางธนาคารต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถถอนเงินจากธนาคารได้ เพียงด้วยการใช้รหัส PIN ส่งผ่านทาง SMS โดยไม่ต้องมี ATM หรือบัญชีธนาคาร กล่าวคือ ชาวฟิลิปปินส์มีบัญชี Facebook มากกว่าบัญชีเงินฝากธนาคาร แสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่ยากสำหรับธนาคารที่จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย ซึ่ง Bitcoin สามารถลดช่องว่างนี้ได้ สำหรับประเทศเวียดนาม Bitcoin ได้เข้าไปบูรณาการระบบการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างเปิดกว้าง ในการให้บริการที่ประเทศเวียดนามทุกรูปแบบทางการเงิน เช่น บริการรับเงิน บริการส่งเงิน ทั้งรูปแบบเงินในบัญชีธนาคารหรือแม้แต่รูปแบบเงินสดที่มากกว่า 7,00O สถานที่ ที่ให้บริการในประเทศเวียดนาม และด้วยความรวดเร็วในการใช้บริการ
การให้ความรู้ทางด้านการตลาดสำหรับเทคโนโลยี Bitcoin
การขาดความรู้และความเข้าในนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตของ Bitcoin “ John Bailon ” ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอที่ SCI กล่าวว่า Bitcoin มีความซับซ้อน ยากที่คนทั่วไปจะเข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย สำหรับแรงงานระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมแรงงานส่วนทางภูมิภาค Southeast Asia ที่ต้องมาทำงานและพักพึงในต่างประเทศห่างไกลบ้านและคนในครอบครัว เพื่อมาทำงานต่างถิ่น ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ ในทุกด้านแพลตฟอร์ม Bitcoin ถือเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับพวกเขา
Bitcoin ต้องเพิ่มช่องทางการพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อการรองรับในการให้บริการ พร้อมทั้งการสร้างความรู้และความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ในทางการตลาดด้านเทคโนโลยีของแพลตฟอร์ม Bitcoin เพื่อเป็นการขยายตลาดกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่องในอนาคต
ซึ่งแนวโน้มสำหรับแพลตฟอร์ม Bitcoin ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นลำดับและได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยความสะดวกสบาย ความรวดเร็วและขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก มีต้นทุนที่ไม่สูงในการทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านช่องทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงได้รับการตอบรับที่ดี ในด้านการตลาดของอุตสาหกรรมด้านแรงงานระหว่างประเทศของภูมิภาค Southeast Asia และพร้อมการขยายตัวและการเติบโตไปทั่วโลกในอนาคต
Credit: http://inc-asean.com/how-bitcoin-is-disrupting-southeast-asias-remittance-industry/