ในการดำเนินการทางธุรกิจคงไม่มีใครที่รู้ไปเสียทุกเรื่อง และคงจะไม่มีใครที่สามารถดำเนินการได้เองโดยไม่มีคนแนะนำ หรือให้คำปรึกษาเช่นกัน เนื่องจากการแวดวงธุรกิจเป็นอะไรที่ซับซ้อนและค่อนข้างยากที่สุด ดังนั้นจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลและให้คำแนะนำอยู่ห่างๆ
สำหรับคนที่เก่ง หรือมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ คงจะเป็นที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่ากว่าจะผ่านช่วงเวลาเริ่มต้น หรือล้มลกคลุกคลานเหล่านั้นมาได้นั้น บอกได้เลยว่าเลือดตาแทบกระเด็น สำหรับอาชีพที่ปรึกษามีหลากหลายรูปแบบ แต่วันนี้เรามาลองทำความรู้จักอาชีพที่ปรึกษาเชิงธุรกิจกันดีกว่านะคะ
สำหรับ อาชีพที่ปรึกษาทางธุรกิจ คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเข้าใจว่าอาชีพนี้แท้จริงแล้วทำอะไร และมักจะมองผ่านไปเนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง หรือเกี่ยวแต่ยังเลือกที่จะทำ หรือดำเนินการแบบเดิมๆ แม้ว่าจะอธิบายอย่างไร หลายคนก็ไม่เข้าใจอยู่ดี เอาเป็นว่า อาชีพที่ปรึกษาทางธุรกิจ สามารถเรียกอย่างเป็นทางการได้ว่า Business Consultant ซึ่งจะดำเนินการดังต่อไปนี้
ในด้านลักษณะการทำงานจะเป็นไปในด้านการแก้ไขปัญหาทางด้านการบริหารธุรกิจเป็นสำคัญ กล่าวคือ หาใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการธุรกิจเข้ามาปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือ ด้วยประสบการณ์และความรู้ ก็จะเข้าไปช่วยเหลือในส่วนนี้ หากธุรกิจไหนที่เดินไปอย่างไม่มีการสะดุด หรือมีปัญหาไม่จำเป็นต้องใช้บริการก็ได้นะคะ สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพเหล่านี้แน่นอนเลยว่าจะต้องมากมายไปด้วยประสบการณ์และความสามารถเพียงพอ อีกทั้งควรจะมีคุณลักษณะพื้นฐาน ดังนี้
-
ความสามารถในการคิดเชิงภาพรวม
เป็นจุดที่นักปรึกษาที่ดีจำเป็นต้องมีกันเป็นลำดับแรกๆ ซึ่งการเข้าใจสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น จะนำไปสู่การแยก ความสัมพันธ์ และประเด็นสำคัญของปัญหานั้น ๆ จะส่งผลต่อการกำหนดกรอบในการแก้ไขปัญหาเพื่อจะได้ลงตัวและมีประสิทธิภาพมากที่สุดนั่นเองค่ะ ซึ่งการทำอาชีที่ปรึกษาจะต้องมีความรู้ ประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อที่จะได้นำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
บ่อยครั้งเมื่อที่ปรึกษาได้กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา แล้วเริ่มดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่กระบวนการในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสำหรับการดำเนินการรูปแบบนี้สิ่งที่เกี่ยวข้องคือเวลา และมีรูปแบบที่หลากหลายขั้นตอนในการดำเนินการและที่สำคัญค่อนข้างซับซ้อน ทำให้ที่ปรึกษาเองหลุดออกจากรอบที่ได้ตั้งไว้ กล่าวคือ ทำการแก้ไขที่ห่างไกลจากปัญหาออกไปนั่นเองค่ะ โดยการลืมว่าจุดเริ่มต้นว่าปัญหาเกิดจากอะไร เหตุผลในการกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาคืออะไร มัวแต่ไปมุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากเกินไป จนทำให้ปัญหาหรือสาเหตุหลักที่แท้จริงยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ล้มเหลว
-
ความสามารถในการคิดเห็นในรูปแบบเชิงกลยุทธ์
เป็นอีกหนึ่งความสามารถของปรึกษาที่จำเป็นต้องมี เพื่อที่จะได้ใช้ในการเลือกวิธีการหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ให้สามารถกลับเข้ามาสู่สภาวะปกติได้เร็ว และที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดด้วยการมองเห็นถึงรูปแบบและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของปัญหา ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่แข่งขัน บุคลากร หรือ ความพร้อมภายในองค์กร เพื่อเลือกวิธีการที่ดีที่สุดนั่นเอง
ในการจัดทำแผนกลยุทธ์ และการขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ สาเหตุที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวมากที่สุด นั่นไม่ได้เป็นเพราะว่ากลยุทธ์ไม่ดีหรอกนะคะ สาเหตุที่แท้จริงเป็นเพราะว่าไม่มีกลยุทธ์ไหนหรอกที่ดีที่สุด ซึงบ่งบอกได้เลยว่าทุกกลยุทธ์ ล้วนประกอบไปด้วยจุดอ่อน แต่ที่ปรึกษาเองจะเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมและความน่าจะเป็นน่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุด จากประสบการณ์ที่เคยเห็นมาพบว่าความล้มเหลวส่วนใหญ่จะมาจากขั้นตอนการสื่อสารระหว่างที่ปรึกษา กับผู้ดำเนินการ เนื่องจากการที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจการดำเนินงาน หรือการประสานงานเป็นเรื่องยาก
-
ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผล
เป็นความสามารถในการเข้าใจแนวคิด หรือแนวทางแก้ไขได้อย่างมีเหตุผล ซึ่งจะส่งผลดีในการทำความเข้าใจและนำสู่การหาสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรวมถึงการกำหนดแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังทำให้การสื่อสารหรืออธิบายในผู้อื่นเข้าใจได้รวดเร็วและง่ายขึ้น
-
งานที่ปรึกษามีลักษณะเฉพาะหน้า
คือ ต้องให้คำตอบหรือผลตอบรับ ที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ จะเป็นตัวช่วยได้อย่างดี เพราะในหลาย ๆ กรณีหากมีข้อมูลที่เรียกว่า ฟังดูไม่มีเหตุผล หรือขัดกับความรู้สึกในด้านเหตุและผล ข้อมูลดังกล่าวมักจะเป็นข้อมูลที่ผิด หรือ ไม่ควบถ้วน
ยังมีคุณลักษณะของที่ปรึกษาที่ดีอีกหลายข้อด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น วิธีการคิด อันได้แก่ การคิดอย่างเป็นระบบ การคิดเชิงวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะในด้านต่าง ๆ อาทิ ทักษะในการตั้งคำถาม ทักษะในการสื่อสาร ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงจริยธรรมในการทำงาน ความรับผิดชอบ ซึ่งอาจจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไปอย่างไรก็ตามคุณลักษณะทางความคิดทั้งสามที่กล่าวมานั้น สำหรับผมแล้วถือได้ว่าเป็นคุณลักษณะเบื้องต้นที่ที่ปรึกษาจำเป็นต้องมี และต้องพัฒนาให้เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้ทำงานที่ปรึกษาได้อย่างเต็มภาคภูมิ
สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่กำลังพบเจอกับอุปสรรค หรือปัญหาในการดำเนินงานทางธุรกิจ แนะนำเลยว่าตัวช่วยที่ดีและสามารถช่วยแก้ไขคุณได้ คือการเลือกเข้าปรึกษา หรือขอคำแนะนำจากที่ปรึกษา แต่ทั้งนี้ที่ปรึกษาคนนั้นจะต้องเป็นคนที่เก่งและมีคุณสมบัติที่เป็นไปตามที่ได้กล่าวในข้างต้นด้วย