เชื่อได้ว่าหลายๆ คนที่ทำงานแล้วก็คงอยากจะมีบ้านเป็นของตัวเอง ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง เช่น เพื่อเตรียมสร้างครอบครัว หรือไม่ก็อยากมีความเป็นส่วนตัว อยากมีทรัพย์สินเป็นของตัวเองบ้าง แต่ช้าก่อน ก่อนที่คิดจะซื้อบ้านต้องคิดให้มากๆ หน่อย เพราะบ้านหนึ่งหลังมีราคาสูง และจะทำให้เรามีค่าใช้จ่ายทุกเดือน เป็นเวลามากกว่า 10 ปีขึ้นไป มาหาคำตอบกันดีกว่าว่าถ้า อยากมีบ้านสักหลัง แล้วตัดสินใจซื้อกันเลยดีหรือเปล่า
ถ้าหากตอนนี้เราเช่าอพาร์ทเมนต์อยู่แล้ว เราต้องเปรียบเทียบข้อมูลเหล่านี้กันก่อนว่า สิ่งที่เป็นอยู่นี้เป็นคำตอบของฝั่งไหน
แต่ถ้าคำตอบของเรายังก่ำกึ่งอยู่ ไม่ได้เทไปทางไหนสักทาง แต่ใจก็เอนเอียงไปในทางที่อยากจะซื้อบ้านแล้วก็ ไม่ยากอีกเหมือนกัน ก็ลองทำแบบจำลองการผ่อนบ้านขึ้นมาเองซะก่อน ดูว่าเรามีเงินในแต่ละเดือนเพียงพอที่จะจ่ายหรือเปล่า โดยเริ่มจากไปดูแบบบ้านและโครงการที่ชอบ เพื่อหาราคาบ้านแล้วลองนำมาคำนวณจากเครื่องมือคำนวณต่างๆ ที่มีอยู่ตามเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อให้เรารู้แบบคร่าวๆ ว่าเราจะต้องจ่ายเงินค่าผ่อนบ้านในแต่ละเดือนจำนวนเงินเท่าไร ต่อจากนั้นเราก็ฝากเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องผ่อนบ้านในแต่ละเดือนสัก 6-7 เดือนก่อน แล้วดูว่าเรายังมีเงินพอใช้อยู่ สามารถฝากเงินได้ตรงวันทุกเดือน และยังมีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายประจำเดือน ถ้าเราสามารถทำเรื่องนี้ได้อย่างสบายๆ ไม่เครียด ก็น่าจะพอเป็นคำตอบได้ว่าเรามีความสามารถเพียงพอต่อการผ่อนบ้านได้
อ่านเพิ่มเติม : เทคนิคการ เก็บเงินซื้อบ้าน สไตล์มนุษย์เงินเดือน
เท่านั้นยังไม่พอ เรายังต้องมาดูอีกว่าเรามีเงินอีกสักก้อนหรือเปล่าสำหรับซื้อเฟอร์นิเจอร์สำหรับตบแต่งบ้านบ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วเงินส่วนนี้อาจจะได้ไม่เอามาซื้อเฟอร์นิเจอร์ก็เป็นได้ เพราะถ้าไม่ใช่เป็นโครงการที่อยู่ในรายชื่อของธนาคารแล้ว เราจะกู้ธนาคารได้เพียง 80% ของราคาบ้านหรือราคาประเมินเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีเงินก้อนสัก 20% ไว้สำหรับเป็นเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มเอง หรือเรียกง่ายๆ ว่าเงินดาวน์นั่นเอง แต่ถ้าเราเป็นมนุษย์เงินเดือนทำงานอยู่ในองค์กรที่มีสวัสดิการให้ก็อาจจะเป็นเรื่องดี เพราะบางที่ก็อาจจะให้เรากู้เงินได้ถึง 100% ของราคาบ้าน หรือบางที่ก็อาจจะให้เกินมาสำหรับเป็นค่าตบแต่งก็มี
แต่สิ่งที่ต้องมีเหมือนกัน คือ ความสามารถในการผ่อนชำระในแต่ละเดือน คือ จะต้องไม่เกิน 30% ของรายได้ หรือบางครั้งเราก็อาจจะผ่อนได้ถึง 50% ของรายได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากจะให้ธนาคารอนุมัติสินเชื่อ เราก็ไม่ควรที่จะก่อหนี้ประเภทอื่นๆ ไว้มากเกิน เช่น หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เพราะถ้ามีมากจนเกินไปธนาคารก็กลัวว่า เรามีภาระหนี้สินมาก ก็มีความเสี่ยงมากที่จะเบี้ยวหนี้ก็เป็นได้ แต่ก็อย่าเพิ่งท้อหากเงินมีไม่พอต่อราคาบ้านหลังแรกที่ถูกใจ เราก็ลองมองหาบ้านที่ราคาย่อมเยาลงมาหน่อยก็ได้ ก็จะทำให้เรามีโอกาสมีบ้านได้ง่ายมากขึ้น
ทีนี้เราลองมาดูสูตรการคำนวณหาราคาบ้านที่เหมาะสมกับตัวเราสัก 2 สูตร ซึ่งตัวเลขที่นำมาคูณบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร ซึ่งไม่มีตัวเลขที่ตายตัว แต่ตัวอย่างที่ยกมาที่เป็นตัวเลขที่ส่วนใหญ่ก็ใช้คำนวณกันอยู่
ยกตัวอย่างเช่น เรามีเงินเดือน 25,000 บาท และมีโบนัสอยู่อีกสัก 2 เดือน เพราะฉะนั้นทั้งปีเรามีรายได้ทั้งหมด 350,000 ต่อปี ดังนั้นราคาบ้านที่เหมาะสม คือ 875,000 บาท ซึ่งความเป็นจริงก็อาจจะหาได้ยากมากสำหรับบ้านราคาไม่ถึง 1 ล้านในปัจจุบัน แต่ถ้าเรายังต้องการมีบ้านอยู่ เราก็อาจจะหาคนมากู้ร่วมได้ ไม่ว่าจะพ่อแม่ พี่น้อง หรือคู่สมรสของเรา ก็อาจจะทำให้เรามีบ้านได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าหาคนมากู้ร่วมแล้วรายได้ที่นำมาคำนวณก็ยังไม่ได้ราคาบ้านที่ถูกใจก็ลองพักไว้ก่อน เก็บเงินให้ได้อีกสักหน่อย หรือจะรายได้พิเศษเพิ่มเติม สำหรับเอามารวมคำนวณเพื่อขออนุมัติสินเชือก็ได้
อย่าลืมว่าการมีบ้านสักหลังเป็นการสร้างค่าใช้จ่ายประจำ หรือ Passive Expense ที่มีทุกเดือนเป็นจำนวนที่เท่ากัน และเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นถ้าต้องการมีบ้านสักหลังไม่ควรรีบร้อน เอาพร้อมจริงๆ แล้วค่อยมีก็ยังไม่สายเกินไป เพื่อให้บ้านที่เราหามาที่เราต้องจ่ายเงินไปทุกเดือน เป็นที่พักผ่อนสำหรับเราจริงๆ