พ.ร.บ. รถ ที่ควรรู้ ประกันภาคบังคับที่คนมีรถทุกประเภทต้องรู้จักเอาไว้
การซื้อรถยนต์คันหนึ่งนอกจากมูลค่าตัวรถเองแล้วนั้น ก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะค่าผ่อนรถในทุกเดือนแล้ว ในแต่ละปียังมีค่าตรวจสภาพรถ การเติมน้ำมัน เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง และที่พลาดไม่ได้เลยก็คือการทำประกันภาคบังคับอย่าง พ.ร.บ. ที่ทุกคนควรศึกษาไว้ ในวันนี้เราจึงมาสรุป พ.ร.บ. รถ ที่ควรรู้ ประกันภาคบังคับที่คนมีรถต้องรู้
พ.ร.บ. รถ ที่ควรรู้ทุกอย่าง ตั้งแต่ต้นจนจบ
สิ่งแรกที่เราจะพาทุกคนไปสรุป พ.ร.บ. รถ ที่ควรรู้ก็คือพ.ร.บ. มันคือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่กำหนดเอาไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในปี 2535 มีการกำหนดให้เจ้าของรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถจะต้องเป็นผู้มีหน้าที่ต่อประกันภัยภาคบังคับเป็นประจำทุกปี และถือว่าเป็นเอกสารสำคัญที่จะต้องใช้สำหรับการต่อภาษีรถประจำปีด้วย เพื่อให้เกิดความคุ้มครองกับผู้ใช้งานยานพาหนะ หากฝ่าฝืนไม่ยอมทำประกัน หรือต่อประกันรายปี ก็จะถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย
ข้อดีของพ.ร.บ. รถก็คือจะให้ความคุ้มครองกับผู้ประสบภัยที่ใช้ยานพาหนะโดยไม่สนใจว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายที่ถูกหรือผิดตามกฎหมาย เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหายขึ้นก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายระบุเอาไว้อย่างแน่นอน ที่สำคัญคือมันเป็นการช่วยให้ทุกคนสามารถขับขี่ยานพาหนะได้อย่างปลอดภัย และอุ่นใจขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะทำประกันภัยภาคสมัครใจเอาไว้หรือไม่ก็ตาม
ความคุ้มครองที่จะได้รับจาก พ.ร.บ.
พ.ร.บ. เป็นประกันภาคบังคับตามกฎหมายในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน โดยมีการให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากการใช้รถใช้ถนนเมื่อเกิดอุบัติเหตุจนได้รับความเสียหาย โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้
1.คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น ประกันจะคุ้มครองทั้งผู้โดยสาร ผู้ขับขี่ รวมถึงบุคคลอื่นที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ ประกอบไปด้วย
1.1ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาตัว จำนวนเงินตามจ่ายจริง ไม่เกินคนละ 30,000 บาท
1.2กรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ รับค่าเสียหายเบื้องต้นคนละ 35,000 บาท
กรณีเสียชีวิต ทายาทจะได้รับเงินชดเชยค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ คนละ 35,000 บาท ภายใน 7 วันหลังจากยื่นคำร้อง
2.คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่พิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายที่ไม่ได้กระทำความผิด จะมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ดังนี้
2.1 ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาตัว จำนวนตามจ่ายจริง ไม่เกินคนละ 85,000 บาท
2.2 กรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ รับผ้าทดแทนตั้งแต่ 200,000 บาทถึง 500,000 บาท แล้วแต่ความเสียหายที่เกิดขึ้น
2.3 กรณีเสียชีวิต ทายาทจะได้รับเงินชดเชยค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายในการจัดทำศพรายละไม่เกิน 500,000 บาท ภายใน 7 วันหลังรับคำร้อง
2.4 กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน จะมีสินไหมทดแทนชดเชยรายวัน จำนวนวันละ 200 บาท ติดต่อกันไม่เกิน 20 วัน
รวมกรณีที่พ.ร.บ. ไม่ให้ความคุ้มครอง
ถึงแม้ว่าพ.ร.บ. จะเป็นประกันภัยภาคบังคับก็จริง แต่ก็มีบางกรณีที่จะไม่ให้ความคุ้มครองเช่นกัน โดยกรณีที่ประกันจะไม่คุ้มครอง ดังนี้
- การขับขี่นอกประเทศไทย ประกันภัยค่าบังคับจะให้ความคุ้มครองเฉพาะในพื้นที่ประเทศไทยเท่านั้น หากต้องการขับรถออกนอกประเทศควรทำประกันภัยรูปแบบอื่นที่จะให้ความคุ้มครองในต่างประเทศด้วย
- ความเสียหายจากการถูกกรรโชก ถูกยักยอกทรัพย์ หรือถูกรีดเอาทรัพย์ กรณีดังกล่าวต้องไปแจ้งความกับตำรวจ เพื่อติดตามคนร้าย และเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำความผิด
- การนำเอารถยนต์ไปใช้ผิดกฎหมาย กรณีที่นำเอารถยนต์ไปใช้ในทางผิดกฎหมาย อย่างเช่น การขนยาเสพติด ดักที่ชิงทรัพย์ ลักพาตัวผู้อื่น จะไม่ได้รับการคุ้มครองตามประกันภัยภาคบังคับแต่อย่างใด
- การแข่งขันความเร็ว กรณีที่มีการนำเอารถไปแข่งขันความเร็วถือเป็นการทำผิดกฎหมาย หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองเช่นกัน
เปิดค่าเบี้ยประกันพ.ร.บ. ยานพาหนะแต่ละประเภท ราคาปีละเท่าไหร่ ?
ประเภทรถ | ราคา |
รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง | 600 บาท |
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง | 1,100 บาท |
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง | 2,050 บาท |
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง | 3,200 บาท |
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 40 ที่นั่ง | 3,740 บาท |
รถจักรยานยนต์เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 cc | 161.57 บาท |
รถจักรยานยนต์เครื่องยนต์ 75-125 cc | 323.14 บาท |
รถจักรยานยนต์เครื่องยนต์ 125 ถึง 150 cc | 430.14 บาท |
รถจักรยานยนต์เครื่องยนต์ 150 cc ขึ้นไป | 645.12 บาท |
อัตราโทษกรณีไม่ทำประกันพ.ร.บ.ยานพาหนะตามระยะเวลาที่กำหนด
ประกันภัยภาคบังคับเป็นหน้าที่ของผู้ที่มียานพาหนะทุกคนที่ต้องประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย หากเราไม่มีการทำประกันภัยภาคบังคับ หรือต่ออายุประกันภัย ก็จะถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย ผู้ที่ฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุดถึง 10,000 บาท ทำให้ไม่สามารถเสียภาษีรถได้ ทะเบียนรถของเราก็จะขาดการต่ออายุ ซึ่งตามมาด้วยโทษมากมาย ดังนี้
- ไม่ต่อภาษีรถ มีค่าปรับตั้งแต่ 400 บาทถึง 1,000 บาท ดอกเบี้ยเดือนละ 1% ในครั้งถัดไป หากทิ้งไว้เกิน 3 ปีก็จะถูกระงับทะเบียนรถ และมีโทษปรับอีกไม่เกิน 1,000 บาท
- กรณีไม่ใช่เจ้าของรถ แต่ขับยานฐานะที่ไม่ได้ต่ออายุ หรือไม่ได้ทำประกันภัยภาคบังคับ อาจถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ไม่อยากยุ่งยากต่อพ.ร.บ. รถเอง ให้ TIP Insure ช่วยดูแล
สำหรับใครที่ไม่มีเวลา หรือไม่อยากจะเผชิญกับความยุ่งยากในการต่อพ.ร.บ.รถเอง เราขอแนะนำว่าให้ใช้บริการกับบริษัทประกันภัยอย่าง TIP Insure เลย สำหรับรถยนต์ค่าเบี้ยประกันเริ่มต้นเพียง 569 บาทเท่านั้น สามารถซื้อผ่านช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์ได้อย่างสะดวกสบายทุกที่ทุกเวลา หลังโอนเงินเรียบร้อยแล้ว รับกรมธรรม์ไปเลยในทันที แถมยังเอาไปต่อภาษีบนเว็บไซต์ของกรมขนส่งได้อีกต่างหาก
ยังไม่จบเพียงเท่านั้น เพราะทิพยประกันภัยมาพร้อมบริการทิพย์สมาร์ท สามารถโทรไปที่เบอร์ Call Center 1736 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน บริษัทพร้อมส่งทีมสำรวจภัยไปยังที่เกิดเหตุเพื่อดูแลทุกคนในทันที หรือสำหรับใครที่ไม่สะดวกซื้อออนไลน์ จะซื้อผ่านเบอร์ Call Center ดังกล่าวก็ได้เหมือนกัน
สรุป พ.ร.บ. รถ ที่ควรรู้ ความจริงแล้วไม่ได้มีอะไรสลับซับซ้อนไปมากกว่าการทำประกันภัยยานพาหนะภาคบังคับตามกฎหมาย ที่คนมียานพาหนะทุกคนในประเทศไทยจะต้องทำเอาไว้ หากไม่ทำก็จะไม่สามารถเสียภาษี และต่อทะเบียนรถได้ ใครไม่ยอมทำ หรือไม่ยอมต่ออายุ ก็จะมีความผิดทางกฎหมาย มีโทษปรับสูงสุดเป็นเงินกว่า 10,000 บาทเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นใครที่ยังไม่ได้ทำจะสามารถไปทำกับทิพยประกันภัยได้เลย รับรองว่าสะดวกสบาย และได้กรมธรรม์จริงแน่นอน