ลดหย่อน ภาษี 2566 มีอะไรบ้าง ?
เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน หรือเป็นคนที่มีรายได้ หน้าที่หลักของประชาชนทุกคนก็คือการจ่ายภาษีเงินได้ สำหรับคนที่เพิ่งก้าวสู่วัยทำงานได้ไม่กี่ปีอาจรู้สึกว่ายังไม่ส่งผลกระทบกับเราสักเท่าไหร่ เพราะรายได้อาจจะยังไม่เกินเกณฑ์ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่รายได้ของเราเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม มันจะกลายเป็นภาระหนักอึ้งที่ทำเอาปวดหัวทุกปีภาษีกันเลยทีเดียว เราเลยจะพาทุกคนไปดูเทคนิคการประหยัดภาษี แบบถูกกฎหมายที่จะช่วยให้ทุกคนไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมากจนเกินไปในทุกปี รับรองอ่านทีเดียวประหยัดภาษีไปทั้งชีวิตแน่นอน ไปดูกันเลยว่า ลดหย่อน ภาษี 2566 มีอะไรบ้าง ?
รวมเรื่องน่ารู้การ ลดหย่อน ภาษี 2566 ที่ทุกคนต้องรู้
สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีการประหยัดภาษี แบบถูกกฎหมาย เราก็มีเรื่องน่ารู้ดี ๆ ที่หากได้อ่านสักครั้งจะช่วยให้ทุกคนประหยัดภาษีได้มากขึ้นกว่าเดิมไปตลอดทั้งชีวิต อันดับแรกเราขอพาทุกคนไปชำแหละสิ่งที่เรียกว่าภาษีเงินได้กันก่อนว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
เราเสียภาษีตลอดชีวิตเยอะกว่าที่คิด
ในช่วงเริ่มต้นการทำงานเงินเดือนเราอาจจะยังไม่สูงสักเท่าไหร่ เราเลยมองว่าภาษีเงินได้เป็นสิ่งที่ไกลตัว แต่เมื่อทำงานไปสักพัก หรือมีการเปลี่ยนงาน โยกย้ายตำแหน่งสูงขึ้น เงินเดือนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย รายได้ของเราก็จะเริ่มถึงเกณฑ์ที่จะต้องจ่ายภาษี
ซึ่งหากนับระยะเวลาแล้ว ช่วงเวลาที่เงินได้เรายังไม่สูงมากพอถึงขั้นต้องเสียภาษี กับช่วงเวลาที่เงินได้ของเราต้องเสียภาษีแล้ว ช่วงแรกถือว่าสั้นมาก สมมุติว่าทำงานเข้าสู่ปีที่ 5 และรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี เราจ่ายภาษีไปปีละ 20,000 บาทในฐานภาษีประมาณ 5% ถึง 10% ต่อเนื่องยาวนานเป็นระยะเวลาร่วม 35 ปี จะรวมเป็นเงินทั้งหมดถึง 700,000 บาทเลยทีเดียว
คนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เกณฑ์ของผู้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะมีอยู่ 3 ข้อ ประกอบไปด้วย เป็นผู้มีเงินได้ นับทั้งเงินได้จากในประเทศ และนอกประเทศ ต้องอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 180 วันในรอบปี มีเงินได้สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ได้รับการละเว้นภาษี รายได้ขั้นต่ำที่จะต้องยื่นภาษีต่อปีสำหรับแต่ละคนคือ
- สำหรับคนโสดคือเงินเดือนมากกว่า หรือเท่ากับ 120,000 บาท มีรายได้อื่นอีกมากกว่า หรือเท่ากับ 60,000 บาท
- สำหรับคนที่สมรสต้องมีเงินเดือนมากกว่า หรือเท่ากับ 220,000 บาท รายได้อื่นมากกว่า หรือเท่ากับ 120,000 บาท
เงินได้แต่ละประเภท
มาต่อกันที่เรื่องน่าปวดหัวมากที่สุด นั่นก็คือประเภทของเงินได้แต่ละรูปแบบ ก่อนที่จะยื่นภาษีเราต้องรู้ก่อนว่าเงินที่เราได้รับมานั้นถูกจัดอยู่ในประเภทไหน เพราะถ้าเรายื่นภาษีไม่ถูกประเภทก็อาจจะถูกเรียกภาษีย้อนหลังได้ อาจมีค่าปรับ หรือมีความผิดตามกฎหมายได้เลยทีเดียว หากเรามีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ประเภทของเงินได้บุคคลธรรมดาจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 8 ประเภท ประกอบไปด้วย
- 40 (1) เงินเดือน สำหรับคนที่มีนายจ้างประจำ
- 40 (2) รายได้จากการรับจ้าง สำหรับคนที่ไม่มีนายจ้างประจำ
- 40 (3) ค่าลิขสิทธิ์ อย่างเช่น ค่าเขียนหนังสือ ค่าแต่งเพลง หรือสิทธิพินัยกรรม
- 40 (4) เงินปันผล อย่างเช่น เงินปันผลที่เราได้จากหุ้น หรือเงินปันผลจากพันธบัตร
- 40 (5) ค่าเช่า อย่างเช่น เงินที่เราได้รับจากการให้เช่าบ้าน ให้เช่ารถ หรือแม้แต่ให้เช่าพื้นที่โฆษณา
- 40 (6) รายได้อาชีพเฉพาะ อย่างเช่น ทนายความ แพทย์ วิศวกร หรือนักบัญชี
- 40 (7) รายได้จากการรับเหมา อย่างเช่น การรับเหมาก่อสร้าง การรับจัดงานอีเวนท์
- 40 (8) รายได้อื่น ๆ อย่างเช่น รายได้จากการขายของออนไลน์ การทำฟรีแลนซ์ ขายบ้าน ขายรถ
หลักการคำนวณภาษีอย่างง่าย
ก่อนที่เราจะไปคำนวณภาษี เราต้องทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่าเงินได้สุทธิกันก่อน เงินได้สุทธิมาจากเงินได้ตลอดทั้งปีของเรา หักลบกับค่าใช้จ่าย หักลบกับค่าลดหย่อน เงินได้สุทธิจะแปรผันกับภาษีที่เราต้องจ่าย ซึ่งเงินได้แต่ละประเภทตามที่เราบอกไปข้างต้นนั้น ก็จะมีการหักค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไปด้วย ถ้าเรามีรายได้มากกว่า 1 ทาง เราก็ต้องระบุข้อมูลให้ชัดเจน และหักลบค่าใช้จ่ายจากรายได้ ตามประเภทของรายได้เท่านั้น รายละเอียดมีดังนี้
- 40 (1) ค่าใช้จ่าย 50% เป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท
- 40 (2) ค่าใช้จ่าย 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หากมีเงินได้ทั้งประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 หักค่าใช้จ่ายรวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- 40 (3) ค่าใช้จ่าย 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
- 40 (4) ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้
- 40 (5) หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือหักแบบเหมาตั้งแต่ 10% ถึง 30% แล้วแต่ประเภทสินทรัพย์
- 40 (6) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% สำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ และ 30% สำหรับอาชีพอื่น ๆ
- 40 (7) หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือเหมา 60%
- 40 (8) รายได้อื่น ๆ หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือเหมา 40% และ 60% ตามประเภทของรายได้
ในส่วนนี้เราสามารถวางแผนได้ว่าจะหักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา แบบไหนที่คุ้มค่ามากกว่าให้เราเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบนั้นไปเลย ส่วนค่าลดหย่อนมีอยู่หลากหลายประเภทเลยทีเดียว อย่างเช่น หักลดหย่อนตัวเอง ลดหย่อนคู่สมรสไม่มีเงินได้ ลดหย่อนพ่อแม่ ดอกเบี้ยบ้าน หรือประกันชีวิต
ฐานภาษีเงินได้
การคำนวณภาษีเงินได้จะคำนวณแบบขั้นบันได เมื่อเราทราบเงินได้สุทธิของตนเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องเอามาเปรียบเทียบกับฐานภาษี ก็จะออกมาเป็นจำนวนภาษีที่เราต้องจ่าย แต่ละขั้นก็จะมีจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายแตกต่างกันออกไปเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนี้
ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้
สำหรับใครที่ดูตารางแล้วยังมองไม่เห็นภาพ เราขอยกตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้ อย่างเช่น เรามีเงินได้สุทธิปีละ 650,000 บาท จะสามารถคำนวณได้ ดังนี้
จากนั้นนำเอาจำนวนเงินภาษีในแต่ละขั้นมาบวกเข้าด้วยกัน 7,500 + 20,000 + 22,500 = 50,000 บาท ลักษณะการคำนวณภาษีด้วยฐานภาษีแบบขั้นบันได ทำให้คนที่ยิ่งมีเงินได้สุทธิมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องเสียภาษีมากขึ้นเท่านั้น หากเราอยากเสียภาษีแบบประหยัดขึ้น แต่ถูกกฎหมาย สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือค่าลดหย่อน และการวางแผนภาษีอย่างรัดกุม
ลดหย่อน ภาษี 2566 มีอะไรบ้าง
อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นว่าการลดหย่อนเงินได้จะช่วยให้เราสามารถประหยัดภาษีได้มากขึ้นกว่าเดิม โดยการลดหย่อนหลัก ๆ จะประกอบไปด้วย ลดหย่อนบุคคล และครอบครัว ลดหย่อนประกัน การลงทุน และการออมเงิน ลดหย่อนเงินบริจาค และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ วิธีการวางแผนภาษีจะเริ่มต้นด้วยค่าใช้จ่าย จากนั้นหักลดหย่อนบุคคล และครอบครัว เสร็จแล้วมาลดหย่อนส่วนอื่นทีหลัง หากสังเกตดูให้ดีจะพบว่าการใช้เงินเพิ่มในชีวิตประจำวัน กลับทำให้เราได้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเพิ่มเสียอย่างนั้น อย่างเช่นการบริจาคเงิน การลงทุน การออม หรือการทำประกัน
ค่าลดหย่อนบุคคล และครอบครัว
- ตัวผู้มีเงินได้ 60,000 บาท
- คู่สมรสไม่มีเงินได้ 60,000 บาท
- เลี้ยงดูพ่อแม่สูงสุด 2 คน 60,000 บาท
- ดูแลบุคคลทุพพลภาพ 60,000 บาท
- ค่าฝากครรภ์คลอดบุตร 60,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูบุตรสูงสุด 3 คน 180,000 บาท
ลดหย่อนประกัน ออมเงิน และการลงทุน
- หมวดการลงทุน น้อยกว่า หรือเท่ากับ 500,000 บาท ประกอบไปด้วย
- กองทุนกบข. สูงสุด 500,000 บาท หรือน้อยกว่า หรือเท่ากับ 30% ของเงินได้
- กองทุน RMF สูงสุด 500,000 บาท หรือน้อยกว่า หรือเท่ากับ 30% ของเงินได้
- กองทุน PVD สูงสุด 500,000 บาท หรือน้อยกว่า หรือเท่ากับ 15% ของเงินได้
- กองทุน SSF สูงสุด 200,000 บาท หรือน้อยกว่า หรือเท่ากับ 30% ของเงินได้
- ประกันบำนาญ สูงสุด 200,000 บาท หรือน้อยกว่า หรือเท่ากับ 15% ของเงินได้
- กอช. สูงสุด 30,000 บาท
- หมวดประกัน น้อยกว่า หรือเท่ากับ 100,000 บาท ประกอบไปด้วย
- ประกันชีวิต และสะสมทรัพย์ สูงสุด 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุส่วนสุขภาพ สูงสุด 250,000 บาท
- หมวดอื่น ๆ ประกอบไปด้วย
- การลงทุนธุรกิจเพื่อสังคม สูงสุด 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพของพ่อ และแม่ สูงสุด 30,000 บาท
- ประกันสังคม สูงสุด 9,000 บาท
ลดหย่อนเงินบริจาค
- การบริจาคทั่วไป ตามจ่ายจริงไม่เกิน 10% ของจำนวนเงินหลังจากหักค่าลดหย่อน
- การบริจาคเพื่อการศึกษา สังคม กีฬา หรือโรงพยาบาลรัฐ 2 เท่าจากจำนวนเงินที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของจำนวนเงินหลังหักค่าลดหย่อน
- การบริจาคพรรคการเมือง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
- ช้อปดีมีคืน สูงสุด 40,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้า และบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม สินค้า OTOP หนังสือ และ E-Book สามารถยื่นเอกสารหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงินแบบกระดาษได้สูงสุด 30,000 บาท ส่วนอีก 10,000 บาทจะต้องเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
- ดอกเบี้ยกู้ยืมซื้อที่อยู่ สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท หารตามจำนวนผู้กู้ หากเรากู้ร่วมกับคู่สมรส สามารถลดหย่อนได้คนละ 50,000 บาท
สรุปขั้นตอนการวางแผนจ่ายภาษีเงินได้ให้ประหยัดกว่าเดิม
ใครที่อ่านข้อมูลมาทั้งหมดแล้วยังรู้สึกงง หรือสงสัยตรงไหน ไม่ต้องตกใจไป เพราะเป็นเรื่องปกติที่ภาษีจะเต็มไปด้วยรายละเอียดมากมายจนทำให้เราเวียนหัว เราเลยจะพาทุกคนมาสรุปขั้นตอนการวางแผนภาษีเงินได้ให้ทุกคนประหยัดมากขึ้นกว่าเดิม ดังนี้
- กรอกเงินได้ของตนเองให้ตรงตามประเภท ครบทุกจำนวน เพื่อป้องกันการโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
- หักค่าใช้จ่าย เราต้องหักค่าใช้จ่ายของตนเองให้ตรงกับประเภทเงินได้ พิจารณาว่าระหว่างการหักค่าใช้จ่ายตามจ่ายจริง หรือหักเหมาเปอร์เซ็นต์ แบบไหนที่หักได้มากกว่ากัน สำหรับคนที่ทำงานประจำ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุดถึง 100,000 บาท
- หักค่าลดหย่อน ประกอบไปด้วย การลดหย่อนบุคคล และครอบครัว ลดหย่อนประกัน ออมเงิน และลงทุน ลดหย่อนบริจาค และลดหย่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ หากใครไม่อยากมาเสียภาษีเปล่า ๆ ก็สามารถนำเอาเงินไปซื้อประกัน ไปออมเงิน นำไปลงทุน หรือเข้าร่วมกับมาตรการของภาครัฐก็ได้ และอย่าลืมเก็บเอกสารหลักฐานทุกอย่างเอาไว้ให้ดีด้วย
- คำนวณเงินได้สุทธิ เมื่อเรานำเอารายได้ของเราตลอดทั้งปีมาหักลบกับค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนเรียบร้อยแล้ว ก็จะได้เป็นเงินได้สุทธิ จากนั้นก็สามารถนำเอาเงินได้สุทธิไปคำนวณภาษีตามตารางข้างบนได้เลย
สรุปแล้ว ลดหย่อน ภาษี 2566 มีอะไรบ้าง เราก็ได้สรุปมาให้ได้ทราบกันแล้ว โดยทุกคนสามารถวางแผนได้อย่างรัดกุม หากอยากประหยัดภาษีให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยค่าลดหย่อนคือคำตอบอย่างแท้จริง เพราะมันเป็นการเสียเงินเหมือนกัน แต่เราได้อะไรกลับมามากมาย อาจจะได้เป็นประกันภัย บ้าน ได้ลงทุน หรือบริจาคเพื่อช่วยเหลือสังคม สำหรับมือใหม่หัดเสียภาษีก็สามารถเริ่มต้นวางแผนกันได้ตั้งแต่วันนี้ เมื่อถึงเวลาที่ต้องเสียภาษีขึ้นมาจะได้ไม่ต้องเจ็บหนักนั่นเอง