สำหรับพ่อแม่หลาย ๆ คนคงกังวลไม่น้อยว่าเมื่อลูกเราใกล้ 3 ขวบแล้วเราควรจะส่งลูกให้เรียนโรงเรียนไทยหรือโรงเรียนอินเตอร์ ส่วนใหญ่เรื่องหลักที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถส่งลูกเข้าไปเรียนอินเตอร์ได้นั่นคือ ข้อจำกัดของเรื่องเงิน เพราะโรงเรียนอินเตอร์มีค่าเรียนที่แพง อย่างน้อยปีนึงต้องใช้ค่าใช้จ่ายอย่างต่ำ เฉียด 1 ล้านบาท (เทอมละ 3-4 แสนกว่าบาท ซึ่งไม่รวมค่าแรกเข้า) นอกจากนี้ค่าเทอมยังมีการขึ้นราคาทุกปีประมาณ 5 – 10% ต่อปี จึงทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนกังวลในจุดนี้ว่าจะหมุนเงินทันหรือไม่ (กรณีไม่มี Back Up จากทางครอบครัว)
โรงเรียนไทยในมุมมองของผู้เขียนนั้น จริง ๆ แล้วก็มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพียงแค่บุคลากรครู หรือสภาพแวดล้อมอาจจะมีความเป็นไทยมาหน่อย ราคาเลยถูกกว่า แต่เหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้สมัยนี้พ่อแม่หลายคนอยากให้ลูกเรียนอินเตอร์คือ
- อยากให้ลูกได้พื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดี พูดโดยไม่เขินอาย
- อยากให้ลูกพูดภาษาอังกฤษกับพ่อหรือแม่ที่เป็นคนต่างชาติได้
- อยากให้ลูกได้สังคม และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่พูดภาษาอังกฤษกันคล่องปาก
ในขณะเดียวกันโรงเรียนอินเตอร์ก็มีข้อเสีย บางอย่างในด้านถ้าลูกของเราอยากกลับมาเรียนภาคไทยก็จะเนื้อหาที่ไม่แน่นเท่าโรงเรียนไทย ซึ่งเข้มเรื่องวิชาการและการสอบเข้า GAT PAT อย่างมาก
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกให้ดีในการตั้งต้นให้กับเด็ก ๆ นอกเหนือจากเรื่องกระเป๋าเงินที่เป็นข้อจำกัดที่ทำให้ลูกเราไม่ได้เรียนอินเตอร์ จากาการศึกษาจาก Facebook กำปั่นยา
- สอบเข้ามหาวิทยาลัยไทยแบบรับตรง แอดมิชชั่นไม่ได้ ค่าเรียนในหลักสูตรเหล่านี้ถูก สายวิทย์ที่จุฬาเทอมละสองหมื่น
ถ้าเรียนหลักสูตรอินเตอร์ปีละหลายแสน เรียนนอกปีละ สองล้าน
วิชาชีพหลายอย่างแม้จะเรียนในต่างประเทศ แต่ต้องมาสอบประกาศนียบัตรวิชาชีพในไทย เช่น แพทย์ ทันตะ เทคนิคการแพทย์ บัญชี ทำงานที่เมืองไทยไม่ได้
- ความเข้มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ของอินเตอร์จะอ่อนกว่าถ้าเรียนสายวิศวะควรเรียน advanced math มาก่อน โรงเรียนอินเตอร์มีสอน ยากมาก
- แม้จะเรียนสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ก็ยังต้องเข้าใจภาษาไทยอยู่นั่นเอง และในการทำงานต้องเข้าใจคนไทยอย่างดีมาก คนทุกชนชั้น อาชีพ คนจังหวัดต่างๆ
- การเรียนในมหาวิทยาลัยคือการเริ่มใหม่หมด เป็นเรื่อง intellect และความถนัดล้วนๆ ขื้นเครื่องบินแอร์ประกาศภาษาดีมาก นักบินพูดสำเนียงไทย แต่ขับเครื่องบินได้ ขอให้ภาษาพอไปได้ก็พอแล้ว
- งานในองค์กรต่างประเทศหดลงมาก คนจากทุกชาติมาสอบแข่ง ฝรั่งมาอยู่ในไทยเยอะขื้น สรุปคือ งานดีๆหายากมากว่าเดิม งานไม่เพิ่ม คู่แข่งเพิ่ม
- ภาษาอังกฤษของเด็กไทยในมหาวิทยาลัยยุคนี้ดีมากทีเดียว เรียนมาเยอะ ไปนอกก็มาก จุฬาฯตั้งมาตรฐานต้องผ่าน Toefl 500 ขื้นทุกคน คู่แข่งด้านภาษามากกว่าแต่ก่อน พวกเรียนหลักสูตรอินเตอร์ที่มาจากโรงเรียนต่างๆพูดอังกฤษคล่อง ไปเรียนนอกแต่เด็กก็เยอะ
- คนที่จบภาษามีมากจนล้น เด็กไทยไปนอกปีละแสนคน คนเรียนโรงเรียนอินเตอร์มากขื้น ต่างชาติเข้ามาแข่ง โลกวันนี้ไม่ง่าย
ยังไงก็คำนวณเงินให้ดีครับ เศรษฐกิจขื้นๆลงๆ สมัยวิกฤติ 40 ผู้ปกครองต้องเอาเด็กกลับจากต่างประเทศกันมาก
นักเรียนโรงเรียนอินเตอร์ ลูกเพื่อนๆต่างชาติทีUN เรียนกันที่ ISB กับร่วมฤดี เอาฝีไม้ลายมือนักเรียนอินเตอร์ ISB มาให้ดูครับ เด็กพวกนี้ทำคะแนนPISA ได้สูงกว่าเฉลี่ยของเกาหลี สิงคโปร์ และฟินแลนด์มาก ไปเข้าจุฬา 5 คน.
ค่าเรียนราวปีละล้านสอง กว่าจะเรียนจบเกือบยี่สิบล้าน ตอนนี้มีโรงเรียนอินเตอร์ 158 แห่ง ค่าเรียนเฉลี่ยปีละห้าแสน เอาเงินไปทำอย่างอื่นให้ลูกดีไหม ถนนสายนี้ยาว
เด็กไทยที่เรียนโรงเรียนไทยก็เรียนได้ดีในโครงการอินเตอร์ เด็กสวนกุหลาบที่ผมรู้จักเรียน SAT แล้วไปเข้า BBA TU เพิ่งได้รางวัล แชมป์ รองแชมป์ SET Investment Star มาสองวันนี้เอง
ทางเดินมีหลายทาง ผู้มุมานะย่อมประสบความสำเร็จ
แล้วคนไม่มีเงินทำอย่างไร
การเรียนภาษาไม่มีตังค์มากก็สำเร็จได้ หนื่ง คุณสุทธิชัย หยุ่นเล่าว่าตอนเด็กท่านนั่งอ่านภาษาอาศัยไฟฟ้าริมถนน ท่องดิคชันนารี่ได้ทั้งเล่ม ยุคนี้ถ้าสนใจเรียนเองได้สบาย มีสื่อการสอนมากมาย เด็กเวียดนาม เด็กจีนทำกันแบบนี้ มันอยู่ที่ใจครับ สอง ฟิตภาษาแล้วสอบไปนอก อาจได้ภาษาญี่ปุ่น เยอรมันแทน สาม ไปเรียนโรงเรียนกวดวิชา สี่ ทุนไม่มากไปเรียนอินเดีย มีตังค์หน่อยไปสิงคโปร์ ห้า ไปเรียน associate degree ที่เมกา เรียนจบตรีราวล้านเศษ ทำงานไปด้วย ที่สำคัญ มีงานมากมายที่คุณรู้ภาษาไทยอย่างเดียวก็อยู่ได้ครับ ไม่ต้องกังวล คนค้าขายเห็นพูดกันปร๋อ