“การไม่มีหนี้ คือลาภอันประเสริฐ” คำขวัญนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนที่กำลังคิดจะมีหนี้หรือมีหนี้ไปแล้ว เพราะคนไม่เคยมีก็อาจยังไม่เข้าใจความรู้สึกของคนมีหนี้ว่าทุกทรมานขนาดไหน ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นประสบการณ์ของคนเคยมีหนี้ 30,000 บาท และเขาสามารถล้างหนี้ได้ในเวลาเพียง 3 เดือน เราหวังว่าวิธีปลดหนี้ ของเขาน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคน โดยเฉพาะคนที่มีหนี้หลักพันและหลักหมื่นแบบนี้
น้องเอ (นามสมมุติ) เป็นพนักงานน้องใหม่ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ได้เงินเดือน 20,000 บาท / เดือน เธอยังโสดและยังอยู่อาศัยบ้านเดียวกับพ่อ แม่ ซึ่งน้องเอเป็นคนใช้เงินเป็นจึงทำให้ทุกเดือนเงินเดือน 20,000 บาท ถูกใช้จ่ายไปหมดพอดีไม่มีเหลือ ไม่มีขาด ไม่มีเงินเก็บ เมื่อเวลาผ่านไปสัก 6 เดือน น้องเอเริ่มคุ้นชินกับที่ทำงาน จึงเริ่มมองเพื่อน ๆ พี่ ๆ ที่ทำงานว่าพวกเขาช่างมีโปรไฟล์ส่วนตัวครบเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ เสื้อผ้าแบรนด์เนม มีรถส่วนตัวขับ หรือพักในคอนโดใจกลางเมือง น้องเอเริ่มคิดว่าเพื่อไม่ให้น้อยหน้าเธอต้องมีเหมือนพี่ ๆ ในที่ทำงานบ้างแล้ว
สิ่งแรกที่น้องเอเห็นว่าเป็นหน้าเป็นตาช่วยให้เธอดูดีได้ในขณะนี้ ก็คือ เสื้อผ้าและสมาร์ทโฟนราคาแพงนั่นเอง แต่จะทำอย่างไรได้ในเมื่อเธอใช้เงินแบบสุดติ่งหมดแบบเดือนชนเดือน ซึ่งก็มาจากการชอบไปทานอาหารในร้านอาหารหรู ๆ กับเพื่อน ๆ พี่ ๆ และการชอบดื่มกาแฟแก้วละ 45-120 บาทของเธอนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เพื่อไม่ให้เป็นการน้อยหน้าเธอจึงทำการยืมเงินเพื่อนบ้านผู้แสนดี ในจำนวนเงิน 30,000 บาท โดยตกลงจะส่งเงินต้นและดอกเบี้ยร้อยละ 2 บาท / เดือน ให้หมดภายใน 10 เดือน นั่นคือ
เดือนที่ 1 จ่ายเงินต้น 3,000 บาท ดอกเบี้ย 600 บาท = 3,600 บาท คงเหลือหนี้ 30,000-3,000 = 27,000 บาท
เดือนที่ 2 จ่ายเงินต้น 3,000 บาท ดอกเบี้ย 600 บาท = 3,600 บาท คงเหลือหนี้ 27,000-3,000 = 24,000 บาท
เดือนที่ 3 จ่ายเงินต้น 3,000 บาท ดอกเบี้ย 600 บาท = 3,600 บาท คงเหลือหนี้ 24,000-3,000 = 21,000 บาท
เดือนที่ 4 จ่ายเงินต้น 3,000 บาท ดอกเบี้ย 600 บาท = 3,600 บาท คงเหลือหนี้ 21,000-3,000 = 18,000 บาท
เดือนที่ 5 จ่ายเงินต้น 3,000 บาท ดอกเบี้ย 600 บาท = 3,600 บาท คงเหลือหนี้ 18,000-3,000 = 15,000 บาท
เดือนที่ 6 จ่ายเงินต้น 3,000 บาท ดอกเบี้ย 600 บาท = 3,600 บาท คงเหลือหนี้ 15,000-3,000 = 12,000 บาท
เดือนที่ 7 จ่ายเงินต้น 3,000 บาท ดอกเบี้ย 600 บาท = 3,600 บาท คงเหลือหนี้ 12,000-3,000 = 9,000 บาท
เดือนที่ 8 จ่ายเงินต้น 3,000 บาท ดอกเบี้ย 600 บาท = 3,600 บาท คงเหลือหนี้ 9,000-3,000 = 6,000 บาท
เดือนที่ 9 จ่ายเงินต้น 3,000 บาท ดอกเบี้ย 600 บาท = 3,600 บาท คงเหลือหนี้ 6,000-3,000 = 3,000 บาท
เดือนที่ 10 จ่ายเงินต้น 3,000 บาท ดอกเบี้ย 600 บาท = 3,600 บาท คงเหลือหนี้ 3,000-3,000 = 0 บาท
ซึ่งเพราะน้องเอเป็นคนใช้เงินเป็น จึงซื้อสมาร์ทโฟนในราคาเครื่องละ 25,000 บาท ส่วนที่เหลือก็จัดการซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมและรองเท้ามาได้ 4 ชุดพอดี หมดเงิน 30,000 บาท ในเวลา 1 วัน น้องเอมีความสุขมากกับคำชมของเพื่อน ๆ และพี่ ๆ ที่สามารถซื้อสมาร์ทโฟนใหม่ราคาแพงแถมยังแต่งตัวสวยทุกวันด้วยเสื้อผ้าแบรนด์เนมเธอยังคงใช้ชีวิตเหมือนเดิมทุกวันแต่ที่เพิ่มเติมคือหนี้ สิ้นเดือนเธอพึ่งรู้สึกว่าการมีหนี้ไม่มีความสุขเสียแล้ว เมื่อเพื่อนบ้านผู้แสนดีทวงเงินเธอจำนวน 3,600 บาท และเธอไม่มีให้
เพื่อนบ้านผู้แสนดีเริ่มหน้างอและยอมผ่อนผันให้เธอเริ่มจ่ายในเดือนถัดไป น้องเอเสียใจและคิดได้และจึงเริ่มวางแผนการใช้ชีวิตใหม่ในเดือนถัดไปนั่นเอง โดยเริ่มจากการวางแผนใช้เงินแบบแยกเป็นส่วน ๆ ได้แก่
– เงินประกันสังคม เดือนละ 750 บาทเท่ากันทุกเดือน
– เงินออม 1,000 บาท และเงินให้พ่อแม่ 1,000 บาท
– ค่าน้ำค่าไฟน้องเอกันเงินในส่วนนี้ให้พ่อกับแม่เดือนละ 1,000 บาท ส่วนค่าโทรศัพท์ เธอกันไว้ 500 บาท
– ค่าเดินทาง น้องเอพยามขึ้นรถเมล์ และนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เบ็ดเสร็จ 1 วันใช้เงิน 60 บาท
– ค่าข้าวเช้าเธอไม่เสียเพราะทานกับพ่อแม่
-ค่าข้าวกลางวันเธอจำกัดไว้แล้วคือ 50 บาท
-ค่าข้าวเย็นไม่เสียเพราะเธอกลับมาทานข้าวที่บ้าน
ซึ่งเงินรายจ่ายและเงินคงเหลือเป็นไปตามตารางนี้
สุดท้ายน้องเอสามารถล้างหนี้ 30,000 บาท ได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน นั่นคือ
- เดือนที่ 1 มีนาคม จ่ายเงินต้น + ดอกเบี้ย = 10,600 บาท
- เดือนที่ 2 เมษายน จ่ายเงินต้น + ดอกเบี้ย = 10,600 บาท
- เดือนที่ 3 พฤษภาคม จ่ายเงินต้น + ดอกเบี้ย = 10,600 บาท
ภายใน 3 เดือนน้องเอจ่ายเงินใช้หนี้แก่เพื่อนบ้านได้ครบจำนวนพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งทำให้เธอหมดหนี้ สบายใจ และไม่ย้อนมาเป็นหนี้ ใครอีกเลย ด้วยการบริหารเงินข้างต้นนี้ เธอสามารถมีเงินออม เงินให้พ่อแม่ เงินใช้จ่าย และเงินช้อปปิ้งได้อย่างสบายใจ สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่ต้องการนำวิธีของน้องเอไปใช้ อาจมีเพิ่มค่าใช้จ่ายเข้าไป เช่น ค่าหอพัก ค่าอาหารเช้า ค่าอาหารเย็น หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่มากกว่านี้ แต่ยังไงก็ให้ยึดแนวนี้ไว้และเมื่อใช้หนี้หมดแล้ว ก็ประหยัดอดออมต่อไป รับรองว่า คำว่าหนี้จะไม่เกิดขึ้นกับทุกคนแน่นอน