เรียกได้ว่าในปัจจุบัน มีหลายคนหันมาให้ความสำคัญและสนใจต่อการมีบัตรเครดิตกันมากขึ้น และอาจจะเป็นเรื่องที่หลายคนเริ่มเห็จถึงความจำเป็นและความสำคัญของการทำบัตรเครดิต ยิ่งในปัจจุบัน สถาบันการเงินต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนประเภทของบัตรให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของผู้สมัครทำบัตรเครดิตมากขึ้น และยังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการใช้บัตรที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการสะสมคะแนน หรือการแลกของสมนาคุณต่างๆ การแลกไมล์ ฯลฯ จึงเป็นเหตุให้จำนวนของการทำบัตรเครดิต ถูกปล่อยเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม >> มาทำความรู้จัก เครดิตบูโร กัน <<
คิดให้ดีก่อนทำบัตรเครดิต
โดยเฉลี่ยของชีวิตคนเมืองกับการทำบัตรเครดิต ไม่น่าเชื่อว่าจะมีผู้ถือบัตรต่อคนที่อย่างน้อยเป็นการพกบัตรสองใบ ซึ่งจากเหตุผลที่หลายคนพกบัตรเครดิตมากกว่าหนึ่งใบ แม้จะดูเป็นความโก้หรู ไฮโซ แต่ตรงกันข้ามคือกลับทำให้มีภาระมากขึ้นในแต่ละเดือน ซึ่งหากไม่มีวินัยในการใช้จ่ายหรือชำระหนี้บัตรเครดิต ก็อาจจะทำให้เกิดการหนีหนี้ได้ ซึ่งที่ผ่ายมามีหลายคนที่หนีหนี้บัตรเครดิต ทำให้กลายเป็นบุคคลล้มละลาย ติดแบ็คลิสต์ และโดนดิสก์เครดิต ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมการเงินได้อีก เรียกว่าตลอดชีวิตเลยก็ว่าได้ ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยมีบัตรเครดิต แต่กำลังตัดสินใจที่จะสมัครทำบัตรเครดิต ควรที่จะตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ให้พร้อม ก่อนที่จะทำการสมัครโดยเฉพาะในเรื่องของเครดิตบูโร
เครดิตบูโรคืออะไร?
เครดิบูร คือบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ซึ่งเป็นองค์กรกลางและมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลด้านสินเชื่อ บัตรกดเงินสดและบัตรเครดิตของทุกคนที่มาทำธุรกรรมด้านสินเชื่อกับทางสถาบันการเงิน โดยข้อมูลในส่วนนี้จะถูกรวบรวมมาจากธนาคารต่างๆ และ Non Bank ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเปิดให้กับสถาบันการเงินและบุคคลทั่วๆ ไปเข้าไปตรวจสอบข้อมูลด้านการเงินของตัวเอง หรือของผู้สมัครสินเชื่อได้ ทั้งนี้เพื่อดูสถานะการเงินด้านสินเชื่อต่างๆ ว่าผู้ที่จะทำบัตรเครดิตหรือทำธุรกรรมทางการเงินนั้น มีสถานะปกติหรือมีสถานะค้างชำระที่เป็นหนี้หรือไม่ และมีประวัติการชำระที่ล่าช้า หรือมีการชำระแบบขั้นต่ำหรือไม่ รวมถึงการชำระตรงตามเวลาที่สถาบันการเงินได้กำหนดไว้หรือไม่
ข้อมูลที่จะถูกรวบรวมใน เครดิตบูโร
ข้อมูลที่จะถูกรวบรวมในเครดิตบูโร คือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าไม่ว่าจะเป็น ชื่อที่อยู่ วันเดือนปีเกิด หมายเลขบัตรประชาชน อาชีพ สถานภาพการสมรส ซึ่งจะเป็นข้อมูลในด้านพื้นฐานทั่วไปของผู้สมัครทำบัตรเครดิต ซึ่งยังมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการขอสินเชื่อ ทั้งที่แบบอนุมัติ และไม่ผ่านการอนุมัติ ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สถาบันการเงินจะทำการตรวจสอบว่าผู้สมัครนั้นเคยมีประวัติการขอสินเชื่ออะไรบ้าง หรือขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินใดบ้าง และมีการได้รับการอนุมัติหรือไม่ รวมถึงประวัติการชำระสินเชื่อต่างๆ ด้วย โดยข้อมูลเหล่านั้นจะไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเงินฝากหรือกำไรจากการซื้อหุ้นแต่อย่างใด แต่จะเป็นการแสดงหนี้เสียต่างๆ หรือการจ่ายชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลาที่ผู้สมัครมีเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้สมัครเป็นบุคคลธรรมดา ก็สามารถทำการตรวจสอบข้อมูลด้านเครดิตของตัวเองได้ที่สถาบันการเงิน หรือสถานที่ทำการติดต่อเพื่อขอสินเชื่อ โดยแจ้งความประสงค์กับทางสถาบันการเงินเพื่อขออำนวยความสะดวก และยังสามารถติดต่อได้โดยตรงที่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ฯ
เอกสารในการขอตรวจสอบเครดิตบูโร
เอกสารในการขอตรวจสอบเครดิตบูโร นั้นเจ้าของข้อมูล จะต้องยื่นขอตรวจสอบด้วยตัวเอง เพื่อแสดงเอกสารหลักฐานต่างๆ ซึ่งหากเป็นบุคคลธรรมดา เอกสารที่จะขอตรวจสอบที่จะต้องเตรียมคือ
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริงเพื่อนำมาแสดงตัวตนที่แท้จริง
ส่วนกรณีผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ
- จะต้องมีสำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ซึ่งมีการรับรองไว้ไม่เกินสามเดือน และออกโดยกระทรวงพาณิชย์ มีการลงนามรับรองความถูกต้องโดยคณะกรรมการ ผู้มีอำนาจในการลงนาม
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ที่มีการเซ็นชื่อ และสำเนาถูกต้อง
- สำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการของผู้มีอำนาจ โดยจะต้องมีการลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงเพื่อนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับเรื่อง และตราประทับของนิติบุคคล เพื่อใช้ในการประกอบการยื่นขอคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต
ความถูกต้องของข้อมูลและระยะเวลาในการตรวจสอบ
บางครั้งข้อมูลอาจจะมีความคลาดเคลื่อน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากสถาบันการเงินไม่ได้ส่งข้อมูลที่เป็นข้อมูลล่าสุดไปที่ ศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ซึ่งทำให้ประวัติที่ค้างชำระอาจจะยังคงค้างอยู่ แม้ว่าจะได้มีการปิดบัญชีไปแล้วก็ตาม แต่ปัญหานี้จะพบได้บ่อย และข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ยังไม่มีการอัพเดทข้อมูลล่าสุด กว่าข้อมูลล่าสุดจะปรากฏเป็นสถานะปิดบัญชี จะทำให้กินระยะเวลาไปถึงช่วงกลางเดือน ซึ่งผู้สมัครสามารถตรวจสอบได้อีกครั้งว่าข้อมูลล่าสุดนั้นมีการเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้ ไม่ว่าจะเสนอปรับโครงสร้างหนี้ หรือทำการลดหนี้ให้ก็แล้ว ทางเจ้าหนี้จะทำการออกเอกสารทวงถามและเข้าสู่การฟ้องร้องในศาล และจะมีการรายงานในข้อมูลเครดิตว่า มีความผิดปกติสูง ซึ่งจะส่งผลต่อการสมัครขอสินเชื่อ หรือในการทำธุรกรรมในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินในอนาคตอีกด้วย บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะเก็บข้อมูลไว้ในระบบเป็นระยะเวลาถึงสามปี ซึ่งผู้ที่ต้องสมัครทำบัตรเครดิต หรือต้องการขอสินเชื่อกับทางสถาบันการเงินจึงจะสามารถทำการขอสินเชื่อใหม่ได้ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของธนาคารหรือทางสถาบันการเงิน