ปัญหาด้านการเงินที่จะทำให้เรามีหนี้สิน มีอยู่หลายอย่าง อาจจะเป็นปัญหาที่เกิดจากตัวเราเองที่เราไม่ระมัดระวังในการใช้เงิน หรืออาจเกิดจากการขาดความรู้ในการบริหารเงิน จนทำให้เราเป็นหนี้เป็นสิน ถึงขนาดไม่สามารถที่จะใช้หนี้ได้หมด อาจตกเป็นบุคคลล้มละลายได้ การบริหารเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามไป เราสามารถเรียนรู้ได้ ซึ่งมีวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้จ่ายประจำวันที่เกี่ยวกับการบริหารเงินเพื่อ ไม่ให้มีหนี้สิน ได้ไม่ยาก วิธีมีดังต่อไปนี้
1. ต้องทำงาน หรือทำธุรกิจที่ทำให้เรามีรายได้
เมือเราเรียนจบจากสถาบันการศึกษาแล้วก็ต้องรับหางานทำ หรือทำธุรกิจของเราเพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของเรา ให้มีเงินสำหรับที่เราจะใช้ในชีวิตประจำวันของเราให้อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน หรือไปสร้างหนี้สินทำให้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายของเรา ข้อแรกนี้สำคัญมาก ถ้าเราไม่มีงานทำก็ไม่มีเงินที่จะใช้จ่าย ข้อนี้จึงเป็นข้อแรกที่เราต้องทำก่อน
2. อย่าใช่จ่ายฟุ่มเฟือย
หนี้ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เกิดจากการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ไม่รู้จักควบคุมการใช้เงิน จึงเป็นที่มาของหนี้สิน ด้วยความอยากได้ ซื้อรถยนต์ที่มีราคาแพงเพราะความหรูหรา ซื้อบ้านหลังใหญ่เกินความพอดี ใช้ของที่มีราคาเกินไปที่เงินเดือนระดับของเราเอง ซึงเมื่อเงินเดือนเหลือไม่พอใช้ ก็จะนำมาสู่การกู้หนี้ยืมสิน จนกลายเป็นปัญหาหนี้สินอยู่เท่าทุกวันนี้นั่นเอง ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีหนี้สิน อันดับแรกคุณจะต้องรู้จักควบคุมตนเองให้ใช้จ่ายอย่างประหยัดเสียก่อน และถ้ารู้จักการวางแผนใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดด้วยแล้ว ปัญหาหนี้สินก็จะไม่ตามมาอย่างแน่นอน
3. ไม่ควรกู้เงินมาใช้จ่าย
เว้นแต่ว่ามีความจำเป็น เพราะเงินที่กู้มาจะต้องเสียค่าดอกเบี้ย ถ้ากู้ระยะเวลานานก็ต้องถูกคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นในระยะยาวซึ่งจะเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก ดังนั้นก็ไม่สมควรไปกู้เงินมาใช้จ่ายจะเป็นการดีที่สุด เพราะถึงแม้ว่าจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแค่เดือนละ 2% เท่านั้น แต่หากนำดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายมาคำนวนตามระยะเวลาแล้ว มันอาจเป็นเงินก้อนโตที่คุณคาดไม่ถึงเลยก็ได้
4. ถ้าจำเป็นต้องกู้
ถ้ากู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งเรายังไม่มี สิ่งที่เราต้องใช้ที่จำเป็น หรือกู้มาเพื่อทำธุรกิจ ก็สามารถกู้ได้แต่ต้องเป็นการกู้ที่เรามีความสามารถใช้หนี้เงินกู้นั้นได้ ในราคาดอกเบี้ยที่ต่ำและระยะเวลาอันสั้น ข้อนี้เราต้องศึกษาดูให้ดี เพราะจะทำให้เราประหยัดเรื่องเงินไปได้อีกมาก เพราะการกู้เงินซื้อบ้านแต่ละสถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยไม่เท่ากัน ให้เราสอบถามไปที่สถาบันการเงินแต่ละแหล่ง แล้วเปรียบเทียบกันว่าสถาบันใดที่คิดดอกเบี้ยน้อยที่สุด
5. ทำรายการรายรับรายจ่าย
ควรจดบันทึกอย่างละเอียด เพื่อให้รู้สภาวะการเงินของตัวเองว่ามีความเสี่ยงจากการใช้เงินมากแค่ไหน เมื่อเราเห็นจากรายการรายรับรายจ่ายเราจะรู้ทันที่ว่าภายในเดือนหนึ่งเราจะใช้จ่ายเงินของเราพอไหม อีกทั้งการทำรายรับรายจ่าย ยังเป็นการจดบันทึกรายจ่ายฟุ่มเฟือย ที่จะทำให้เรารู้ตัวว่าได้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยในเดือนนั้นไปมากน้อยแค่ไหนอีกด้วย เรียกได้ว่ารายรับรายจ่าย เป็นตัวช่วยในการเตือนสติอย่างดีเลยทีเดียว
6. ติดต่อไฟแนนซ์
ถ้าเราเป็นหนี้จากการกู้เงินมาซื้อบ้านที่อยู่อาศัย แล้วผ่อนราคากับไฟแนนซ์แล้วค่าใช้จ่ายรายเดือนของเราไม่พอใช้ วิธีที่ดีที่สุดเราควรติดต่อไปที่ไฟแนนซ์ เพื่อขอยื่นเรื่องขยายระยะเวลาการชำระหนี้กับไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยจะมีอัตราลดลง ทำให้เราสามารถที่จะมีเงินผ่อนในแต่ละเดือนได้พอใช้
ถ้าเป็นการกู้เพื่อมาซื้อของใช้จำเป็นโดยใช้บริการบัตรเครดิต แล้วเราไม่พอจ่ายในแต่ละเดือน ก็สามารถติดต่อไปที่ไฟแนนซ์นั้นๆ ได้ เพื่อขอทำสัญญาใหม่เป็นการขยายเวลาชำระหนี้ของเราใช้พอกับค่าใช้จ่ายของเรา เพราะถ้าเราเพิกเฉย อาจถูกฟ้องดำเนินคดี และอาจถูกเรียกค่าเสียหายได้ ซึ่งอาจถูกคิดดอกเบี้ยทบต้น เป็นจำนวนเงินมากภายในระยะเวลาอันสั้น แต่ถ้าปล่อยไปเนิ่นนาน หนี้สินอาจเพิ่มขึ้นมากเท่าตัวได้ ดังนั้นจึงต้องรับแก้ไขโดยด่วน คือติดต่อไปที่ไฟแนนซ์จะเป็นความปลอดภัยที่สุด
7. ปรับโครงสร้างหนี้
ถ้าเรากู้มาเพื่อทำธุรกิจ แล้วขาดสภาพคล่องในการเงิน ก็สามารถปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินที่เรากู้มา โดยติดต่อขอปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งคือการทำสัญญาใหม่ที่จะรวมเงินต้น ดอกเบี้ย เบี้ยปรับทั้งหมด เป็นการช่วยยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไป โดยให้รวมหนี้มาเป็นยอดเดียวกัน และคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าเดิมก็ได้ จะทำให้ธุรกิจของเราสามารถที่จะทำต่อไปได้ ทำให้มีสภาพข้องในการเงิน ธุรกิจของเราก็ยังทำต่อไปได้ไม่ติดขัด