Digital Advertising Spend 2015 – 2016
สมาคมโฆษณาดิจิทัล(ประเทศไทย) เผยผลสำรวจมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลของปี 2558-2559 โดยผลการสำรวจพบว่า งบโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล ของปี 2558 มี อัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยมูลค่ารวมกว่า 8,084 ล้านบาทเติบโตขึ้นจากปีก่อน 32% และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 23% ในปี 2559 ด้วยมูลค่าที่เพิ่มถึง 9,927 ล้านบาท ทั้งนี้เล็งเห็นว่าการโฆษราผ่านสื่อดิจิทัลยังคงต่อเนื่องขึ้นไปเรื่อยๆในทุกๆปี
การโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลยังคงได้รับความนิยมจากลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลสำรวจจากเอเยนซี่ชั้นนำของเมืองไทยระบุว่าในปี 2558 กลุ่มอุตสาหกรรมได้มีการใช้งบโฆษณากับสื่อดิจิทัลมากที่สุด แตกแยกย่อยลงไปในแต่ละอุตสาหรรมตลาดของประเทศไทยมากถึง 20 ประเภท
- อันดับหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดยังคงเป็นกลุ่มสื่อสารที่ใช้งบกว่า 974 ล้านบาท
- ตามด้วยกลุ่มยานยนต์ 918 ล้านบาท
- กลุ่มเครื่องบำรุงผิวหรือผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพทางกาย 595 ล้านบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม 567 ล้านบาท
- อันดับ 5 คือกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผม 513 ล้านบาท
ที่เพิ่มเข้ามาในตลาดสื่อดิจิตอลพบว่า กลุ่มลูกค้าที่เป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภัณฑ์ห้องน้ำ เริ่มเข้ามาใช้สื่อดิจิตอลมากขึ้นจากเดิมที่โชว์ขายแต่หน้าร้าน ให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้า กลับกลายเพิ่มช่องทางโดยทำสื่อดิจิตอลให้ลูกค้าเข้าใจในตัวของสินค้าการใช้งานผ่านสื่อได้มากขึ้น
ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลเพิ่มในมูลค่าสูงที่สุดเทียบจากปี 2557 คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ซึ่งใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 400 ล้านบาท ในขณะเดียวกันการสื่อสารของกลุ่มรัฐบาลพวกภาษี การสอบสมัครงานเข้าราชการหรือแม้แต่ข่าวสารวันหยุดต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่เข้าถึงกลุ่มของประชาชนได้โดยง่าย ดูได้จากปี 2558 มีใช้ใช้สื่อดิจิตอลเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 83 ล้านบาท
สัดส่วนการใช้งบโฆษณาในปลายปี 2558 ยังคงมีการใช้งานเพิ่มขึ้นโดยในกลุ่มธุรกิจสื่อสารซึ่งเป็นผู้ใช้งานโฆษณาดิจิทัลสูงสุดได้มีการปรับเลื่อนแผน การใช้งบประมาณบางส่วนมาใช้ในปี 2559 หลังจากการประมูลคลื่นความถี่ซึ่งใช้ในการประกอบการซึ่งทำให้คาดว่าจะทำให้กลุ่มสื่อสารยังยืนเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายในโฆษณาดิจิทัลมากสุดในปี 2559 ต่อไป เมื่อเทียบสัดส่วนจากปี 2558 พบว่ากลุ่มธุรกิจประกันภัยมีการใช้จ่ายในโฆษณาดิจิทัลในปี 2559 มากกว่าเดิมถึง 113 ล้านบาทพอๆใกล้เคียงกับธุรกิจเครื่องดื่มทั้งนี้คาดการณ์ว่าธุรกิจประกันภัยจะเริ่มมีบทบาทในสื่อดิจิตอลมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนั่นหมายความว่า ความเป็นไปได้ที่ธุรกิจประกันภัยอาจจะปรับรูปแบบซื้อขายบนออนไลน์ในอนาคตก็อาจเป็นไปได้
- กลุ่มยานยนต์ 1,228 ล้านบาท
- กลุ่มเครื่องประทินผิว 691 ล้านบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม 653 ล้านบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม 592 ล้านบาท
สัดส่วนการใช้งบโฆษณาในปลายปี 2558 ยังคงมีการใช้งานเพิ่มขึ้นโดยในกลุ่มธุรกิจสื่อสารซึ่งเป็นผู้ใช้งานโฆษณา
การใช้งบประมาณบางส่วนมาใช้ในปี 2559 หลังจากการประมูลคลื่นความถี่ซึ่งใช้ในการประกอบการซึ่งทำให้คาดว่าจะทำให้กลุ่มสื่อสารยังยืนเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายในโฆษณาดิจิทัลมากสุดในปี 2559 ต่อไป
ส่วนในแง่ของ รูปแบบการโฆษณา Facebook และ Google ยังคงเป็นสื่อที่ผู้ลงโฆษณาใช้มากที่สุดและยังมีการเติบโตในปี 2558 ในขณะที่LINE และเว็บไซต์ชั้นนำของไทย อย่างเว็บใหญ่ๆ อย่าง Sanook และ Mthai ต่างก็ปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดการแข่งขันและคาดว่าจะมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าสนใจในปี 2559 นี้
สำหรับปี 2559 คาดการณ์ว่าแนวโน้มที่เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลจะปรับตัวสูงขึ้นอีก 23% (คิดเป็นมูลค่าราว 9,972 ล้านบาท)โดยจะยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของอุตสาหกรรมหลักที่มีการใช้จ่ายงบโฆษณาดิจิทัลในปีที่ผ่านมา
กลุ่มที่มียอดการใช้จ่ายผ่านช่องทาง Facebook เพิ่มขึ้นสูงสุดจากปี 2557รูปแบบของสื่อโฆษณาที่มีสัดส่วนยอดใช้จ่ายรองลงมาคือ Display มียอดการใช้ 21 % และตามติดด้วย YouTube 20% โดย YouTube เติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2557ถึง 87% สำหรับแนวโน้มการใช้งบประมาณตามประเภทสื่อออนไลน์ของปี 2559
พบว่าเติบโตอย่างทรงตัวและมีสัดส่วนใกล้เคียงกับปี 2558 ความนิยมในการบริโภคสื่อดิจิทัลของคนไทยสูงขึ้นมากหลังจากที่เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ทำให้เราสามารถดูข้อมูลวิดีโอซึ่งเป็นรูปแบบเนื้อหาที่คนไทยชอบได้อย่างไม่สะดุด ทุกที่ ทุกเวลา ส่งผลให้นักการตลาดใช้สื่อดิจิทัลเป็นช่องทางในการสื่อสารโฆษณาในรูปแบบของวิดีโอนี้เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งในอดีตใช้จ่ายเงินโฆษณาในสื่อหลักเช่นทีวีเป็นส่วนมาก ในปี 2558 ที่ผ่านมา และในปี 2559 นี้ได้จัดสรรงบประมาณมาเพื่อนำเสนอโฆษณาผ่านทางสื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างมากกว่าปีก่อนๆ ในทุกๆ แพลตฟอร์ม แตกต่างไปจากปีที่ผ่านมาจากรูปแบบการทำวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพควบคู่กันเพื่อให้สามารถสะท้อนภาพเชิงลึกได้ดียิ่งขึ้น อาทิ การลงรายละเอียดในข้อมูลเกี่ยวกับโซเชียล มีเดียแพลทฟอร์ม อย่าง Facebook, Instagram, YouTube และ Twitterโดยเฉพาะ หรือ ข้อมูลเฉพาะในลักษณะของรูปแบบการซื้อแบบ Direct, Ad Network หรือProgrammatic เป็นต้น
ขอบคุณรูปภาพจาก สมาคมโฆษณาดิจิทัล(ประเทศไทย)